ชื่อผลงาน :
รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดโรค ทุกคนปลอดภัย ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ ตามแนววิถีชีวิตใหม่ 6อ. และ 3ส. โรงเรียนบ้านท่าบันได อาเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563
ชื่อผู้วิจัย :
นายจีระศักดิ์ นุ่นปาน ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านท่าบันได
หน่วยงาน :
โรงเรียนบ้านท่าบันได
สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตรัง เขต 1
ปีการศึกษา :
2563
บทสรุปสาหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดโรค ทุกคนปลอดภัย ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนววิถีชีวิตใหม่ 6อ. และ 3ส. โรงเรียนบ้านท่าบันได อาเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมิน ปัจจัย กระบวนการ ผลผลิตโครงการ คือ คุณภาพ ความพึงพอใจ และผลลัพธ์โครงการ คือ พฤติกรรมด้านการดูแลสุขภาพของครูเพื่อให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีเป็นแบบอย่างได้ สุขภาพอนามัยของนักเรียน และสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ตามกรอบแนวคิดรูปแบบจาลอง (IPOO Model) ใช้ระยะเวลาในการ 1 ปีการศึกษา ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2563 ถึง เดือนเมษายน 2564 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ประชากรครู จานวน 10 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน จานวน 55 คน ผู้ปกครอง จานวน 47 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จานวน 7 คน และเครือข่ายชุมชน จานวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถาม ความคิดเห็น จานวน 5 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.83-0.95 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริง ด้านสุขภาพอนามัยของนักเรียนจานวน 1 ฉบับ และแบบบันทึกผลการประเมินสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับประถมศึกษา (อายุ 7-12 ปี) ตามเกณฑ์มาตรฐานของสานักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จานวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป SPSS for Windows
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดโรค ทุกคนปลอดภัย ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนววิถีชีวิตใหม่ 6อ. และ 3ส. โรงเรียนบ้านท่าบันได อาเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563 สรุปผลได้ดังนี้
1. ด้านปัจจัย (Inputs) ในการดาเนินโครงการ
ครูมีความคิดเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.36, σ = 0.28) ทุกประเด็นตัวชี้วัดผ่าน
เกณฑ์การประเมิน
2. ด้านกระบวนการ (Process) ในการดาเนินโครงการ
ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นว่ากระบวนการดาเนิน
โครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.34, S.D.= 0.16) ทุกประเด็นตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( X = 4.39,
S.D.= 0.18) ส่วนผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่าสุด ( X = 4.32, S.D.= 0.16)
3. ด้านผลผลิต (Outputs) ในการดาเนินโครงการ
3.1 นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายชุมชนเห็นว่าคุณภาพ
ในการดาเนินโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.37, S.D.= 0.12) ทุกประเด็นตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์
การประเมิน เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครู ( μ = 4.39, σ = 0.14) และ
เครือข่ายชุมชน ( X = 4.39, S.D.= 0.18) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยต่าสุด ( X = 4.35, S.D.= 0.09) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3.2 นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายชุมชนมีความพึงพอใจ
ในการดาเนินโครงการอยู่ในระดับมาก ( X = 4.35, S.D.= 0.17) ทุกประเด็นตัวชี้ วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้ปกครอง ( X = 4.37, S.D.= 0.17)
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยต่าสุด ( X = 4.30, S.D.= 0.16)
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลลัพธ์ (Outcomes) ในการดาเนินโครงการ
4.1) พฤติกรรมด้านการดูแลสุขภาพของครูเพื่อให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีและเป็นแบบอย่างได้
นักเรียนมีความเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.51, S.D.= 0.20) ส่วนผู้ปกครองมีความเห็นว่า
อยู่ในระดับมาก ( X = 4.46, S.D.= 0.20)
4.2) สุขภาพอนามัยของนักเรียน พบว่า นักเรียนร้อยละ 63.53 น้า หนักอยู่ในเกณฑ์ นักเรียนร้อยละ
72.94 ส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ นักเรียนร้อยละ 80.00 ไม่มีปัญหาภาวะโภชนาการ นักเรียนร้อยละ 88.24 ไม่มีปัญหา
ภาวะทันตสุขภาพ นักเรียนร้อยละ 89.41 ไม่มีปัญหาการเจ็บป่ วยและอุบัติเหตุ ทุกประเด็นชี้วัดผ่านเกณฑ์การ
ประเมิน
4.3) สมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับประถมศึกษา (อายุ 7-12 ปี) พบว่า ด้านองค์ประกอบของร่างกายนักเรียนผ่านเกณฑ์ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 60.00 ด้านความอ่อนตัว นักเรียนผ่านเกณฑ์ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 65.88 ด้านความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อ นักเรียนผ่านเกณฑ์ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 70.59 และ ด้านความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด นักเรียนผ่านเกณฑ์ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 89.41 ผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกด้าน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้
1. โรงเรียนควรนาผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาเพื่อกาหนดรูปแบบแนวทางในการจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาสุขภาพอนามัยของนักเรียนและบุคลากรทุกคน
2. โรงเรียนควรมีการประชาสัมพันธ์ยกย่องเชิดชูเกียรติ หน่วยงานที่สนับสนุนโครงการด้วยรูปแบบวิธีการที่เหมาะสม
3. โรงเรียนควรนารูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียน
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน นอกเหนือจากรูปแบบ IPOO Model เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการดาเนินโครงการและประสิทธิผลที่เกิดกับนักเรียน
2. ควรศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสุขภาพอนามัยของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน