ชื่อเรื่อง : การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่การเป็น
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3
ผู้วิจัย : นางประภาศรี จุดมี วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านทับกระดาษ
ปีการศึกษา : 2563
การวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 วัตถุประสงค์ (1) ศึกษาสภาพการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 (2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่าย การเรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 และ (3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยดำเนินการศึกษาวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สุพรรณบุรี เขต 3 สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูวิชาการและตัวแทนครูผู้สอน จำนวน 73 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 219 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โดยการการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ประกอบด้วย ผู้แทนเครือข่ายการเรียนรู้ 3 ประเภท ระดับปัจเจกบุคคล คือ ผู้แทนผู้ปกครอง จำนวน 1 คน ระดับกลุ่มบุคคล คือ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข/กลุ่มแม่บ้าน จำนวน 1 คน และระดับองค์การหรือหน่วยงาน คือ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 1 คน ผู้บริหารโรงเรียนบ้านหนองปลากระดี่ จำนวน 1 คน ครูวิชาการโรงเรียนบ้านหนองปลากระดี่ จำนวน 1 คน ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านหนองปลากระดี่ จำนวน 1 คน ครูวิชาการโรงเรียนบ้านทับกระดาษ จำนวน 1 คน ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านทับกระดาษ จำนวน 1 คน รวมจำนวน 8 คน และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 กับบุคลากรของโรงเรียนบ้านทับกระดาษ และโรงเรียนบ้านหนองปลากระดี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ที่สมัครใช้เข้าร่วมการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 สรุปผล ดังนี้
1. ศึกษาสภาพการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านลำดับสูงสุด ได้แก่ วิสัยทัศน์หรือเป้าหมายร่วม อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ทีมงานร่วมแรงร่วมใจ หรือร่วมมือร่วมพลัง อยู่ในระดับมาก ชุมชนกัลยาณมิตร อยู่ในระดับมาก การสร้างบรรทัดฐานและค่านิยมร่วมกัน อยู่ในระดับมาก ร่วมเป็นผู้นำ อยู่ในระดับมาก การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ อยู่ในระดับมาก และรายด้านลำดับต่ำสุด ได้แก่ โครงสร้างสนับสนุนชุมชน อยู่ในระดับมาก
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่การเป็นชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า ส่วนที่ 1 ขั้นเตรียมการ เป็นข้อมูลพื้นฐานอธิบายถึง วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ประเภทเครือข่ายการเรียนรู้ กำหนดไว้ 3 ประเภท คือ 1) ปัจเจกบุคคล 2) กลุ่มบุคคล และ 3) หน่วยงานหรือองค์การ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมเรียนรู้ ส่วนที่ 2 ขั้นการบริหารจัดการเครือข่ายการเรียนรู้ ประกอบด้วย การเรียนรู้ 5 ขั้น 1) ขั้นรวมคนรวมพลัง 2) ขั้นร่วมคิดร่วมวางแผน 3) ขั้นร่วมทำร่วมดำเนินการ 4) ขั้นร่วมสรุปเป็นบทเรียน และ 5) ขั้นร่วมรับผลการกระทำ
3. ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า โรงเรียนบ้านทับกระดาษ สามารถบริหารจัดการเครือข่าย การเรียนรู้ได้เป็นขั้นตอน โดยการปฏิบัติตามคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โรงเรียนมีการวางแผนก่อนการทดลองใช้รูปแบบเพื่อเตรียมความพร้อมของโรงเรียน และโรงเรียนบ้านหนองปลากระดี่ ปฏิบัติกิจกรรมเป็นระบบ เพราะคณะครูได้ศึกษาคู่มือการใช้รูปแบบมีการร่วมประชุมระดมความคิด การจัดกิจกรรมได้รับการตอบรับที่ดีจากชุมชน ผู้ปกครอง และเต็มใจให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะกิจกรรมการนิเทศงานในส่วนของ การแลกเปลี่ยนกันนิเทศผู้เรียนได้รับความรู้และสนใจกิจกรรมการเรียนเป็นอย่างดี และเปรียบเทียบสภาพการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ก่อนการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และหลังการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายการเรียนรู้มุ่งสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านลำดับสูงสุด ได้แก่ ด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ด้านความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก และรายด้านลำดับต่ำสุด ได้แก่ ด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก