บทคัดย่อ
เรื่องที่ศึกษา : รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนบ้านธรรมเจริญ
ชื่อผู้ศึกษา : นางสาวแวยะห์ วาเล๊าะ
ปีการศึกษา : 2563
รายงานการศึกษาในครั้งนี้ผู้รายงานมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านธรรมเจริญ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านธรรมเจริญ ก่อนและหลังการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านธรรมเจริญ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เรื่อง การอ่านและเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด(Pre-test) 2. แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด รายวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 26 แผน 26 ชั่วโมง 3. แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด รายวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนบ้านธรรมเจริญ จำนวน 8 เล่ม 4. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง การอ่านและเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด (Post-test)
การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) หาประสิทธิภาพเครื่องมือ IOC และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยค่า ที (T-test) แบบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด รายวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านธรรมเจริญ รายวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน
พบว่าได้ผลดังนี้
1. การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด รายวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านธรรมเจริญ รายวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าเท่ากับ 84.74/82.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
มีค่าพัฒนา 11.54
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังทดลองใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด รายวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านธรรมเจริญ รายวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้สถิติ
t-test Dependent โดยหลังทดลองมีคะแนนสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปได้ว่า การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด รายวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านธรรมเจริญ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้เรียน สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดียิ่ง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05