บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การศึกษาระดับการปฏิบัติและปัญหาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี
THE LEVELS OF IMPREMENTATION AND PROBLEM OF THE EDUCATIONAL PERFORMANCES AND PARTICIPATION OF SCHOOL BOARD IN SCHOOL IN LOPBURI OFFICE OF THE NON-FORMAL AND INFORMALEDUCATION
ชื่อผู้วิจัย วันชัย ครามสูงเนิน
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
1.เพื่อศึกษาระดับปฏิบัติและปัญหาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี
2.เพื่อเปรียบเทียบระดับปฏิบัติและปัญหาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี จำแนกตามวุฒิการศึกษา
ขอบข่ายของงานวิจัย
1. ด้านตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ วุฒิการศึกษา
ตัวแปรตาม ได้แก่ ระดับปฏิบัติและปัญหาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี ใน 4 ด้าน คือ
1) ด้านการให้คำปรึกษา
2) ด้านการระดมทุน
3) ด้านการติดตามและเสนอแนะ
4) ด้านการบริหารจัดการ
2. ด้านเนื้อหา
การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาระดับการปฏิบัติและปัญหาการมีส่วนร่วม
ในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี ทั้ง 4 ด้าน คือ
1) ด้านการให้คำปรึกษา
2) ด้านการระดมทุน
3) ด้านการติดตามและเสนอแนะ
4) ด้านการบริหารจัดการ
3. ด้านระยะเวลา
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดระยะเวลา ระหว่าง 1 ตุลาคม 2563
ถึง 31 มีนาคม 2564
วิธีดำเนินการของงานวิจัย
การศึกษาระดับการปฏิบัติและปัญหาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการออกแบบการวิจัย ดังนี้
1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี จำนวน 11 สถานศึกษา ๆละ 9 คน รวมจำนวน 99 คน
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจ์ซี่และมอร์แกนได้ 80 คน จากนั้นก็ทำการสุ่มแบบอย่างง่ายโดยวิธีจับสลากตามจำนวนรายชื่อ (บุญชม ศรีสะอาด, 2553: 43) และใช้วิธีการสุ่มโดยการจับสลากให้ครบตามจำนวนของกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งลักษณะของแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check list) ประกอบด้วย วุฒิการศึกษา ตอนที่ 2 ความคิดเห็นระดับการปฏิบัติและปัญหาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี โดยครอบคลุมใน 4 ด้าน ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .958
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือคณะกรรมการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี โดยดำเนินการ ดังนี้
3.1 ทำหนังสือขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี ถึงผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี เพื่อขอเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี
3.2 ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามให้กับคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เวลาในการตอบแบบสอบถาม 15 วัน เมื่อครบกำหนด ผู้วิจัยเดินทางไปเก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเองจากสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจนได้แบบสอบถามครบตามจำนวนที่ต้องการ
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ นำไปใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูล มีรายละเอียดของการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
ตอนที่ 1 วิเคราะห์โดยการแจงความถี่และร้อยละ
ตอนที่ 2 วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ตอนที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ F-test แบบวิเคราะห์ความแปรปรวน
ทางเดียว (One way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างกัน จะทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe)
สรุปผลการวิจัย
1.ระดับการปฏิบัติในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการรองลงมา คือ ด้านการให้คำปรึกษา และด้านการระดมทุน ตามลำดับ
2.ปัญหาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับน้อยทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการ รองลงมา คือ ด้านการติดตามและเสนอแนะ และด้านการระดมทุน และด้านการให้คำปรึกษา ตามลำดับ
3.การเปรียบเทียบระดับปฏิบัติในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี จำแนกตามวุฒิการศึกษาโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
4.การเปรียบเทียบปัญหาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี จำแนกตามวุฒิการศึกษาโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน