ชื่อผลงาน : การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน โรงเรียนวัดบางด้วน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ลักษณะผลงาน : การประเมินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่
ผู้ประเมิน : นางดรุณี ปั้นวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบางด้วน
ปีการศึกษา : 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนวัดบางด้วนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต(Product) และ(2) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนวัดบางด้วน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อโครงการด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ(Process) ด้านผลผลิต (Product) และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนวัดบางด้วน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการครั้งนี้ ได้แก่ (1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน (2) ครูผู้สอนจำนวน 5 คน (3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และ (4) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 57 คน รวมทั้งสิ้น 70 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าสถิติเร้อยละเ(Percentage)เค่าเฉลี่ยเ(Mean)เและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเ(Standard deviation) เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนวัดบางด้วน สรุปได้ดังนี้
1. ด้านบริบท (Context) มีความสอดคล้องและเหมาะสมในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เมื่อพิจารณารายการประเมินด้านบริบทที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) การกำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล และหลักการเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมายและกิจกรรมการดำเนินงานโครงการมีความสอดคล้องกัน 2) การกำหนดเป้าหมายความสำเร็จสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น และ 3) หลักการและเหตุผลแสดงให้เห็นถึงสภาพปัญหาของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการมีความสอดคล้องและเหมาะสม และการกำหนดเป้าหมายความสำเร็จสอดคล้องกับนโยบายของเขตพื้นที่การศึกษา
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) มีความเหมาะสมและเพียงพอในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายด้าน พบว่าผลการประเมินมากที่สุดคือด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ และสื่อ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการ (Process) มีความสอดคล้องและความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด รายการประเมินด้านกระบวนการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ มีการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการดำเนินงานโครงการ จัดกิจกรรมได้ครบถ้วนตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดในโครงการ การปรับปรุงพัฒนาโครงการก่อน ระหว่างการดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสม และการดำเนินกิจกรรมทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศครบถ้วนถูกต้อง ตรงตามความต้องการในการดำเนินงานโครงการ ผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่องและการประเมินผลการดำเนินโครงการเป็นไปตามหลักวิชาการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง จัดบุคลากรรับผิดชอบกิจกรรมโครงการได้อย่างเหมาะสม
4. ด้านผลผลิต (Product) ได้แก่
4.1 ผลสำเร็จในการจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนวัดบางด้วน อยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด ซึ่งมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทุกกิจกรรม โดยกิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรติมีผลการประเมินสูงสุด รองลงมากิจกรรมวิเคราะห์โครงสร้างแบบทดสอบ กิจกรรมซ่อมเสริม กิจกรรมเตรียมความพร้อม กิจกรรมนิเทศยกระดับผลสัมฤทธิ์ และกิจกรรมนำผล NT ไปใช้ ตามลำดับ
4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของสถานศึกษาปีการศึกษา 2563 ( = 62.38) สูงกว่าปีการศึกษา 2562 ( = 57.97) มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น (+4.41) ร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนนมากกว่าร้อยละ 50 เพิ่มขึ้นทั้ง 2 ด้าน (ด้านภาษาไทยและคณิตศาสตร์) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
5. ¬ความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนวัดบางด้วน อยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด