ชื่อรายงาน การสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะเรื่องการเคลื่อนที่แบบสั่นอย่างง่าย
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ชื่อผู้รายงาน นายกวินพัฒน์ เอกวีระพัฒน์
ปีที่รายงาน พ.ศ. 2563
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเรื่องการเคลื่อนที่แบบสั่นอย่างง่ายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้
โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการเคลื่อนที่แบบสั่นอย่างง่ายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ
เรื่องการเคลื่อนที่แบบสั่นอย่างง่ายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 143 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียน
ที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน 43 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายที่ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการสอนในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบฝึกทักษะเรื่องการเคลื่อนที่แบบสั่นอย่างง่ายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการเคลื่อนที่แบบสั่นอย่างง่าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีทั้งหมด 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบสั่นอย่างง่าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบประจำแบบฝึกทักษะและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการเคลื่อนที่แบบสั่นอย่างง่าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ใช้เวลาทดลอง 18 ชั่วโมง โดยใช้แผนการทดลอง
One Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติ T-Test for Dependent
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเรื่องการเคลื่อนที่แบบสั่นอย่างง่ายของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีค่า 82.54/83.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการเคลื่อนที่แบบสั่นอย่างง่ายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการเคลื่อนที่แบบสั่นอย่างง่ายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมทั้ง 8 เล่ม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.61