การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีมาตรฐาน 80/80
2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของเอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 5) เพื่อศึกษาระดับความสุขของนักเรียนหลังจากการเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถามศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเทศบาล 3 สามัคคีวิทยาคาร สังกัดสำนักงานการศึกษาเทศบาลนครอุบลราชธานี จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 เรื่อง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบการใช้เอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ .49 .76 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .28 .81 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ท่องโลกประวัติศาสตร์กับลุงสมบูรณ์ จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 20 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .57 - .85 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 และ 5) แบบวัดเจตคติต่อวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .71 - .87 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา (alpha) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach)
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน และความแตกต่างของเจตคติของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การทดสอบ t-test (Dependent)
ผลการศึกษา พบว่า
1. เอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (E1/ E2) โดยรวม มีค่าเท่ากับ 88.26/87.73 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 โดยเอกสารประกอบการสอนแต่ละชุด มีค่าประสิทธิภาพ ชุดที่ 1 การผลิตสินค้าและบริการ มีประสิทธิภาพ 87.03/85.31 ชุดที่ 2 เศรษฐกิจพอเพียง มีประสิทธิภาพ 86.88/85.63 ชุดที่ 3 ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ มีประสิทธิภาพ 87.66/87.19 ชุดที่ 4 การผลิตสินค้าและบริการของท้องถิ่น มีประสิทธิภาพ 89.53/88.13 ชุดที่ 5 การเงินและการธนาคาร มีประสิทธิภาพ 88.75/87.19 ชุดที่ 6 ระบบสินเชื่อ มีประสิทธิภาพ 88.28/87.50 ชุดที่ 7 ภาษีอากร มีประสิทธิภาพ 88.59/87.81 ชุดที่ 8 หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ มีประสิทธิภาพ 87.19/86.88 ชุดที่ 9 สหกรณ์ มีประสิทธิภาพ 88.91/88.44 และ ชุดที่ 10 การพัฒนาเศรษฐกิจ มีประสิทธิภาพ 89.84/89.06
2. เอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7760 แสดงว่า เอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ทำให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากคะแนนก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 77.60
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
4. นักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจโดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ยกเว้น ด้านรูปแบบของของเอกสารประกอบการสอน นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านรูปแบบของเอกสารประกอบการสอน ด้านการวัดและประเมินผล ด้านเนื้อหา และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
5. นักเรียนหลังจากการเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความสุขในการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด