ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน โดยใช้ NONGSANG MODELโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2562-2563
ชื่อผู้วิจัย : นายอนุชิต พงค์เกื้อ
ปีการศึกษา : ปีการศึกษา 2562-2563
บทคัดย่อ
การวิจัยการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน โดยใช้ NONGSANG MODELโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2562-2563 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโดยใช้ NONGSANG MODEL โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2562-2563 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโดยใช้ NONGSANG MODEL ปีการศึกษา 2562-2563 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง หลังการพัฒนาโดยใช้ NONGSANG MODEL ปีการศึกษา 2562-2563 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน โดยใช้ NONGSANG MODEL โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2562-2563 และ 5) เพื่อศึกษาผลกระทบเชิงบวกที่ปรากฏต่อโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง หลังการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน โดยใช้ NONGSANG MODEL ปีการศึกษา 2562-2563
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียน ปีการศึกษา 2562 และ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 234 คน ครู ศึกษาจากประชากรครู ปีการศึกษา 2562 จำนวน 34 คน และ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 234 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล มีทั้งสิ้น 5 ฉบับ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.903 - 0.912 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโดยใช้ NONGSANG MODEL โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่าปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก (x̄ =4.01, S.D.=0.48) เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (มิว=4.03, α=0.36) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.02, S.D.=0.45) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากเช่นกัน (x̄ =3.93, S.D.=0.31) ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.58, S.D.=0.23) เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.60, S.D.=0.21) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.59, S.D.=0.23) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (x̄ =4.57, S.D.=0.22) สอดคล้องตามสมมุติฐาน
2. ผลการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโดยใช้ NONGSANG MODEL โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2562-2563 จำแนกตามกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก (x̄ =3.82, S.D.=0.27) และเมื่อจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมสูงสุด (x̄ =3.89, S.D.=0.21) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก (มิว=3.83, α=0.46) ส่วนกลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมต่ำสุด (x̄ =3.72, S.D.=0.24) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.60, S.D.=0.19) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมสูงสุด (มิว=4.63, α=0.14) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.61, S.D.=0.22) ส่วนกลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมต่ำสุด (x̄ =4.51, S.D.=0.21) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน สอดคล้องตามสมมุติฐาน
3. ผลการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน โดยใช้ NONGSANG MODEL โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 และ 2563 พบว่า ปีการศึกษา 2562 พฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ 1) มีความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ 2) มีความซื่อสัตย์ สุจริต 3) มีวินัยในตนเอง 4) มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ รักการเรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอเพียง 6) มีความมุ่งมั่นในการทำงาน 7) รักความเป็นไทย 8) มีจิตสาธารณะ มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ระหว่าง 83.24 - 96.10 ปีการศึกษา 2563 พฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ 1) มีความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ 2) มีความซื่อสัตย์ สุจริต 3) มีวินัยในตนเอง 4) มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ รักการเรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอเพียง 6) มีความมุ่งมั่นในการทำงาน 7) รักความเป็นไทย 8) มีจิตสาธารณะ มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ระหว่าง 90.54 - 98.77 แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน ปีการศึกษา 2563 มีการพัฒนาสูงกว่า ปีการศึกษา 2562 ทุกด้าน สอดคล้องตามสมมติฐาน
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน โดยใช้ NONGSANG MODEL โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก (x̄ =3.90, S.D.=0.34) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมาก (มิว=3.94, =0.25) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄ =3.93, S.D.=0.32) ส่วนกลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน (x̄ =3.83, S.D.=0.19) ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวม ทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.62, S.D.=0.20) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (มิว=4.71, α=0.18) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.66, S.D.=0.14) ส่วนกลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยความพึงต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (x̄ =4.52, S.D.=0.11) สอดคล้องตามสมมติฐาน
5. ผลการศึกษาผลกระทบเชิงบวกหลังการพัฒนา ที่ปรากฏต่อโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2562 - 2563 พบว่า โรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน ได้รับการประกาศเกียรติคุณ/รางวัล จากองค์กรและหน่วยงานทางการศึกษา ทั้งระดับชาติ ระดับภาค/จังหวัด และระดับเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งสองปีการศึกษา รวมทั้งสิ้นจำนวน 107 รายการ เมื่อพิจารณาแยกตามระดับ พบว่า ได้รับการประกาศเกียรติคุณ/รางวัล ระดับชาติ จำนวน 84 รายการ ระดับภาค/ระดับจังหวัด จำนวน 12 รายการ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 11 รายการ ซึ่งครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สอดคล้องตามสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
จากการวิจัยการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโดยใช้ NONGSANG MODEL โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2562-2563 ครั้งนี้ ทำให้ได้ค้นพบจุดเด่นของการมีแบบอย่างที่ดีซึ่งเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนต่อไป
1. ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโดยใช้ NONGSANG MODEL โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง มีการดำเนินงานตาม NONGSANG MODEL ทั้งหมด 8 ด้าน ซึ่งแต่ละด้านมีข้อเสนอแนะดังนี้
- ด้าน N : Need analysis (การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาให้นักเรียนเป็นพลเมืองดี) ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันสำรวจปัญหาด้านคุณธรรมที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา และร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมของนักเรียน และคุณธรรมที่จำเป็นที่ต้องปลูกฝังให้เกิดกับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเป็นพลเมืองดี
- ด้าน O : Opinion (การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง) ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดให้มีการเสวนาของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละฝ่าย แล้วเก็บรวบรวมข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้ประกอบการวางแผน หรือตัดสินใจว่าควรดำเนินการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีในด้านใดและใช้กระบวนการอย่างไรในการพัฒนา
- ด้าน N : Nice Plan (การวางแผนการปฏิบัติงานที่ดีเยี่ยม) ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดจากการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นและความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แล้วนำมาวางแผนการปฏิบัติงานให้ชัดเจน รอบคอบ เตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของทุกฝ่าย
- ด้าน G : Good Activity (การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมเชิงสร้างสรรค์) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีที่หลากหลายผ่านการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงของนักเรียน เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเกิดจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองดีด้วยตัวเอง โดยมีครู ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคอยให้การดูแลและแนะนำ
- ด้าน S : Support (การส่งเสริม สนับสนุน) ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนเกิดจิตสำนึกความเป็นพลเมืองดีในตัวเองผ่านการเรียนรู้ทางสังคม คอยเป็นที่ปรึกษาของนักเรียนและร่วมกันแก้ปัญหากับนักเรียน นอกจากนี้ผู้บริหาร ครูและผู้เกี่ยวข้องควรร่วมกันจัดหาวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณสนับสนุน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของนักเรียน รวมทั้งเป็นสื่อต้นแบบให้กับนักเรียน
- ด้าน A : After Action Review : AAR (การทบทวนหลังการปฏิบัติงานหรือถอดบทเรียน) ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ ครู ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและตัวแทนนักเรียนร่วมกันทบทวนการปฏิบัติงานทั้งด้านความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงาน และปรับปรุงพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นอย่างเป็นระบบ
- ด้าน N : Network (การขยายผลกับภาคีเครือข่าย) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนได้ขยายผลการดำเนินงานไปยังภาคีเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันพัฒนาให้นักเรียนมีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีที่ยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ขยายผลการดำเนินงานไปยังสถานศึกษาทั้งในเขตพื้นที่การศึกษา นอกเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานภายนอก เพื่อให้สถานศึกษาอื่น ๆ และหน่วยงานภายนอกได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนานักเรียนต่อไป
- ด้าน G : Good Citizens (การพัฒนาต่อยอดความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน) ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรร่วมกันส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากเรียนรู้ไปปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ และร่วมกันจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม เพื่อให้ทุกคนเป็นพลเมืองดีของสังคมอย่างยั่งยืน
1.2 การดำเนินกิจกรรมทั้ง 8 กิจกรรม ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และควรประเมินพฤติกรรม/คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามตัวชี้วัดที่โรงเรียนกำหนดอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อยอดความเป็นพลเมืองดีให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน รวมทั้งควรเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้กับนักเรียนที่ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีอย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนกับสภาพแวดล้อมของบ้าน โรงเรียน วัด และหรือมัสยิด ในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่
2.2 ควรศึกษาผลกระทบทางบวกของการเป็นพลเมืองดีของนักเรียนที่ส่งผลต่อชุมชนและสังคมโดยรอบสถานศึกษา
2.3 ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นคนดีกับความเป็นคนเก่งของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทั้งความดีและความเก่งอย่างยั่งยืน
2.4 ควรศึกษาการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสมรรถะครูประถมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา หรือครูในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองสำหรับนักเรียนที่มีความต่อเนื่องและคงทน