ชื่อผู้วิจัย นายจิรเมท สุกรี
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีที่พิมพ์ 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) 1.เพื่อประเมินบริบท (Context) ของโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโดยใช้ CIPP model ของโรงเรียนสระพังวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโดยใช้ CIPP model ของโรงเรียนสระพังวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 3. เพื่อประเมินกระบวนการ (Process) ของโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโดยใช้ CIPP model ของโรงเรียนสระพังวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโดยใช้ CIPP model ของโรงเรียนสระพังวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. ด้านบริบท (Context) ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 23 คน ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ครูผู้สอน จำนวน 23 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 215 คน รวมทั้งสิ้น 238 คน 3. ด้านกระบวนการ(Process) ครูผู้สอน จำนวน 23 คน 4. ด้านผลผลิต (Product) ครูผู้สอน จำนวน 23 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 215 คน รวมทั้งสิ้น 238 กลุ่มตัวอย่างที่ได้โดยได้รับแบบสอบถามของนักเรียนเข้าร่วมโครงการที่ตอบแบบสอบถาม กลับคืนมา 195 คน และครูที่เข้าร่วมโครงการ 23 คน รวมทั้งสิ้น 218 คนผู้วิจัยได้ทำการทำการเลือกมาทั้งหมดทุกคน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น .95 สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
การประเมินโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโดยใช้ CIPP model ของโรงเรียนสระพังวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และนักเรียนในโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้านพบว่า ด้านบริบท (Context) อยู่ในระดับสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านผลผลิต (Product) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
1. ประเมินด้านบริบท (Context) ของโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโดยใช้ CIPP model ของโรงเรียนสระพังวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโดยใช้ CIPP model ของโรงเรียนสระพังวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโดยใช้ CIPP model ของโรงเรียนสระพังวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Product) ของโครงการการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโดยใช้ CIPP model ของโรงเรียนสระพังวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิในภาพรวมอยู่ในระดับมาก