การพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระบบประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
Developing strategic management holes that promote participation in internal quality assurance systems NAPHOPITTAYASAN Secondary Education Service Area Office District 26
ทรงศักดิ์ ชาวไพร
Songsuk Chaowprai
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ การพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ขอบเขตการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ สังเคราะห์การศึกษาสภาพการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม จากการวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากการศึกษาเอกสาร การศึกษาดูงาน การศึกษาสภาพโรงเรียนและชุมชนโดยการวิเคราะห์ SWOT ในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึก แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนำเสนอเป็นความเรียง ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ เสนอให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 ท่าน ตรวจสอบความเหมาะสม (Propriety Standards) และเป็นไปได้ (Feasibility Standards) ของรูปแบบการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินคู่มือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าฐานนิยม (Mode) ค่ามัธยฐาน (Median) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าพิสัยควอไทล์ (Interquartile Rang) และขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้การบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ ระยะที่ 4 ประเมินการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และ RAI
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันในการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ พบว่า กลยุทธในสถานศึกษายังขาดตัวบ่งชี้ การปฏิบัติและเกณฑ์ที่ชัดเจน ทำให้การบริหาร และระบบประกันคุณภาพภายในได้ไม่ตรงตามสภาพจริง ความต้องการ พบว่า มีระบบการประกันคุณภาพชัดเจน และเมื่อศึกษาความต้องการ พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความต้องการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน
2. กลเชิงกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ ประกอบด้วย3 ด้าน คือ ด้านผู้เรียน ด้านบริหาร และด้านการจัดการเรียนรู้ 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) เพิ่มพูนความรู้ 2)โรงเรียนน่าอยู่ 3) พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการ 4) เป็นโรงเรียนของชุมขน 5) การพัฒนาที่ยั่งยืน และมี 15 โครงการ พบว่า มีความเหมาะสม (Propriety Standards) อยู่ในระดับมาก (=4.46, S.D.= 0.18) และมีความเป็นไปได้ (Feasibility Standards) อยู่ในระดับมาก (=4.32, S.D.= 0.25)
3. ผลการทดลองใช้กลเชิงกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ พบว่า ครู ผู้ปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 100 คนมีความพึงพอใจและมีค่าดัชนีความเห็นพ้องกันของผู้ประเมิน (RAI) เท่ากับ 0.99
4. ผลการประเมินกลเชิงกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง ด้านความเป็นไปได้ และด้านประโยชน์ในการนำไปใช้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
คำสำคัญ
การบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม, ผลการใช้รูการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม, ระบบประกันคุณภาพภายใน
 
ABSTRACT
This research aimed to develop a participatory strategic management model for improving Internal quality assurance of Naphopittayasan School, The Secondary Education Service Area Office Mahasarakham. The scope of this study included 4 steps. The first step was analyzing and synthesizing cooperative strategic management both from the analysis of principles and research theory and from a field study or the SWOT analysis of 34 teachers in Naphopittayasan School. The research instruments used in this study consisted of data recording, observation, and interviews. The data was analyzed using Content Analysis and presented as an essay. The second step was developing the model and proposing to 9 experts in order to evaluate propriety and feasibility standards of the assessment used in the model. Research instruments used in this study included questionnaires and manual assessment forms. Data was collected and analyzed using Mean, Mode, Median, Standard Deviation, and Interquartile Range. The third step of this study was having a trial of the model. The last step was evaluating the model from 9 teachers and analyzing the data collected from the model using percentage, Mean, and RAI.
The results of the study were as follows
1. Some strategies used in the school still lack a clear indicator and criteria which makes the school administrations and internal quality assurance does not meet the actual needs and conditions.
2. The participatory strategic management model for improving Internal quality assurance of Naphopittayasan School consists of 1) the strategy that supports the cooperation for developing internal quality assurance within the school 2) the evaluation of the performance of the participatory encouraging projects 3) the results of administrative participation 4) the comparison of the internal quality assurance development results 5) teachers morale 6) the satisfaction of the principals, the renowned, and the board of Basic Education Institutions resulted in propriety standards of =4.46, S.D.= 0.18 and feasibility standards of =4.32, S.D.= 0.25.
3. The findings of the participatory strategic management model for improving Internal quality assurance of Naphopittayasan School indicated that 100 cases of teachers, parents, the renowned and the board of Basic Education Institutions are satisfied with the model including RAI of 0.99
4. The results of the assessment of the participatory strategic management model for improving Internal quality assurance of Naphopittayasan School on suitability, accuracy, feasibility, and in terms of implementation are at the highest level on every aspect.
KEYWORD: Participative strategic management model, The results of using participative strategic management model, internal quality assurance system.
1. บทนำ
การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้อง มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และได้กำหนดหลักการสำคัญข้อหนึ่ง คือ ให้มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา โดยที่กำหนดให้ มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นภารกิจสำคัญหมวดหนึ่งที่สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการ อีกทั้งต้องเป็นไปตามระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กำหนดด้วยการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งที่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบ มีคุณภาพตามมาตรฐาน ผู้ที่จบการศึกษามีคุณภาพตามที่มุ่งหวัง ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กร/สถานประกอบการที่รับข่วงผู้จบการศึกษาแต่ละแห่งมีคุณภาพได้มาตรฐาน แม้จะไม่เท่ากันแต่ก็แตกต่างกันไม่มากนัก นักเรียนที่จบการศึกษาจากสถานศึกษาทุกแห่งมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนด ดังนั้น ผู้เรียนจึงเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่สถานศึกษา (ซึ่งหมายถึง ผู้บริหาร ครูและบุคลากรสนับสนุนทุกคนในสถานศึกษา) ต้องคำนึงถึงตลอดเวลา ไม่ว่าจะคิดทำกิจกรรมใดหรือโครงการใดก็ตาม ผู้เรียนจะต้องได้รับผลหรือประโยชน์ที่เกิดขึ้นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม นอกจากนี้ในการจัดการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของบุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพตามที่คาดหวังกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา จึงเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาในปัจจุบันและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ได้ให้ความหมายของ การประกันคุณภาพการศึกษา ว่า เป็นการประเมินและการติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐาน 2 การศึกษาของสถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา โดยมีกลไกในการควบคุมตรวจสอบระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษาจัดขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนว่าสถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และตามกฎกระทรวงนี้ ข้อ 3 กำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด พร้อมทั้งจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาเป็นประจำทุกปี ดังนั้นจะเห็นได้ว่าระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเป็นเหมือนแผนที่ในการเดินทางพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องให้ความสำคัญ และใช้เป็นแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้บริหารระดับสูงจึงควรมีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ เพื่อกำหนดทิศทางของหน่วยงานผ่านทางวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ เพื่อการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ในฐานะบุคลากรคนหนึ่งในเขตฯ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาต่อไปดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องมีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ที่ต้องปรับเปลี่ยนทิศทาง วิธีการคิด และการบริหารแบบใหม่ที่สอดคล้องทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีความพยายามในการวางแผนกลยุทธ์ อย่างสมบูรณ์ ที่ครอบคลุมภารกิจและขอบข่ายทั้งหมดของการศึกษา ทำให้มีการนำเอาเรื่องของกระบวนการบริหารงานโดยเฉพาะการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เช่น การจัดโครงสร้าง วัฒนธรรมองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรบุคคล ตลอดจนการควบคุมและประเมินผลกลยุทธ์เข้ามาบูรณาการร่วมกันเป็น รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) โดยผู้นำระดับสูงขององค์การหรือผู้บริหาร ซึ่งเป็นระดับกลยุทธ์ เป็นบุคคลที่ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์ในทุกขั้นตอน กล่าวโดยสรุปการบริหารเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1) ขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Formulation) 2) ขั้นตอนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategic Implementation) และ 3) ขั้นการควบคุมและการประเมินผลเชิงกลยุทธ์ (Strategic Control & Evaluation ) (สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์, 2550)
โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในตำบลนาโพธิ์ อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 มีนักเรียนจำนวน 419 คน ครูผู้สอน 30 คน ผู้บริหาร 2 คน จากสภาพดังกล่าวครูผู้สอนจะได้รับภาระงานการสอนมาก และงานพิเศษที่ได้รับมอบหมาย ทำให้การดำเนินงานบริหารจัดการของโรงเรียนมีภาระงานมาก และบุคลากรมีจำนวนน้อย อีกทั้งยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จากสภาพปัญหาของโรงเรียนดังกล่าว ผนวกกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาถือเป็นแนวทางหลักในการพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน ทั้งด้านคุณภาพผู้เรียนและคุณภาพการจัดการศึกษา ผู้วิจัยในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งนี้ เห็นว่าควรมีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มีคุณภาพ โดยใช้แนวคิดแบบไคเซ็น ที่เป็นการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจะช่วยลดขั้นตอนการดำเนินงานให้ง่ายขึ้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจทำวิจัยและการพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีคุณภาพต่อไป
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
2.1 เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์การศึกษาสภาพการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์
2.2 เพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการบริหารที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์
2.3 ทดลองใช้กลยุทธ์การบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์
2.4 เพื่อประเมินกลยุทธ์การบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์
3. ขอบเขตการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ ดำเนินการวิจัยและพัฒนา โดยกำหนดขอบเขตการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ สังเคราะห์การศึกษาสภาพการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ จากการวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากการศึกษาเอกสาร การศึกษาดูงาน การศึกษาสภาพโรงเรียนและชุมชนโดยการวิเคราะห์ SWOT ในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึก แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนำเสนอเป็นความเรียงโดยมีรายละเอียดดังนี้
ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล ได้แก่ เอกสาร การศึกษาดูงาน การศึกษาสภาพโรงเรียนและชุมชนโดยการวิเคราะห์ SWOT ในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์
ขั้นตอนที่ 2 พัฒนากลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ เสนอให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 ท่าน ตรวจสอบความเหมาะสม (Propriety Standards) และเป็นไปได้ (Feasibility Standards) ของรูปแบบการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินคู่มือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าฐานนิยม (Mode) ค่ามัธยฐาน (Median) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าพิสัยควอไทล์ (Interquartile Rang) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล
1. ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการร่างรูปแบบการพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์
2. ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการพัฒนาคู่มือการการพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์
ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ จำนวน 34 คน
4. วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ดังนี้
4.1 ผู้วิจัยดำเนินการอ่าน วิเคราะห์ สังเคราะห์และบันทึกสาระจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้แนวทางในการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเ
4.2 SWOT ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา จำนวน 34 ท่าน เพื่อให้ได้สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ และแนวทางในการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเ
4.3 ร่างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ ให้ได้ร่างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ และเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการประเมินด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) จนได้ฉันทามติ จากผู้เชี่ยวชาญ 18 ท่าน
4.4 พัฒนาคู่มือการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ และตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของคู่มือการประเมิน จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน
4.5 ปรับปรุงแก้ไขคู่มือการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์
4.6 ประสานและทำความเข้าใจในการใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู จำนวน 34 ท่าน
4.7 ดำเนินการประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์
5. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึก จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ แบบประเมินคู่มือ 1 ฉบับ และแบบประเมินการปฏิบัติการสอน 5 ฉบับ
6. การเก็บรวบรวมข้อมูล
6.1 กำหนดประเด็นที่ต้องการรวบรวมข้อมูล คือ สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ และแนวทางการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
6.2 คัดเลือกแหล่งข้อมูล จากเอกสาร ตำรา บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีความตรงประเด็น (relevance) และมีความเชื่อถือได้ (credibility) ของข้อมูล (ไพศาล วรคำ. 2559 : 223-224).
6.3 ดำเนินการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ และแนวทางการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
6.4 ผู้วิจัยบันทึกข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ลงในแบบบันทึกข้อมูลและจำแนกข้อมูลออกเป็นประเภทย่อยๆให้ครอบคลุมคำหรือข้อความซึ่งเป็นข้อมูลที่ต้องการทั้งหมดแล้วนำมาลงรหัส
6.5 เมื่อทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหาทั้งหมดแล้ว ผู้วิจัยได้สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการและได้สารสนเทศสำหรับนำมาเป็นแนวทางในการร่างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
6.6 นำประเด็นที่ได้เพื่อเก็บข้อมูลด้วยเทคนิคเดลฟายในรอบที่ 1
6.7 เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
6.8 นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ในรอบที่ 1 มาวิเคราะห์และสร้างแบบสอบถามปลายปิดพร้อมทั้งเก็บรวบรวมมาได้ในรอบที่ 2 กับผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิม
6.9 นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ในรอบที่ 2 มาวิเคราะห์ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าฐานนิยม (Mode) และค่าพิสัยควอไทล์ (Interquartile Rang)
6.10 เก็บข้อมูลในรอบที่ 3 ด้วยแบบสอบถามที่สร้างขึ้นพร้อมสะท้อนผลและรายงานค่าสถิติในการตอบของผู้เชี่ยวชาญในรอบที่ 2 เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้ทบทวนคำตอบและได้กลั่นกรองความคิดของตนเมื่อเทียบกับกลุ่ม
6.11 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลในรอบที่ 3 เพื่อหาฉันทามติตามเกณฑ์ที่กำหนด
6.12 สร้างคู่มือการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ตรวจสอบความชัดเจน ครอบคลุม และความถูกต้องของคู่มือ
6.13 นำคู่มือการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในที่ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ และเสนอผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของคู่มือการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
7. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
7.1 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากการสังเกตการปฏิบัติการสอน และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนำเสนอข้อมูลเป็นความเรียง
7.2 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามเพื่อหาฉันทามติด้วย ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าฐานนิยม (Mode) และค่าพิสัยควอไทล์ (Interquartile Rang)
7.3 วิเคราะห์ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของคู่มือการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
7.4 วิเคราะห์ผลการปฏิบัติการตามการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในครู โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และ RAI
8. สรุปผลการวิจัย
1. สภาพปัจจุบันในการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ พบว่า กลยุทธในสถานศึกษายังขาดตัวบ่งชี้ การปฏิบัติและเกณฑ์ที่ชัดเจน ทำให้การบริหาร และระบบประกันคุณภาพภายในได้ไม่ตรงตามสภาพจริง ความต้องการ พบว่า มีระบบการประกันคุณภาพชัดเจน และเมื่อศึกษาความต้องการ พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความต้องการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน
2. การบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียน นาโพธิ์พิทยาสรรพ์ ประกอบด้วย กลเชิงกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ ประกอบด้วย3 ด้าน คือ ด้านผู้เรียน ด้านบริหาร และด้านการจัดการเรียนรู้ 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) เพิ่มพูนความรู้ 2)โรงเรียนน่าอยู่ 3) พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการ 4) เป็นโรงเรียนของชุมชน 5) การพัฒนาที่ยั่งยืน และมี 15 โครงการ พบว่า มีความเหมาะสม (Propriety Standards) อยู่ในระดับมาก (=4.46, S.D.= 0.18) และมีความเป็นไปได้ (Feasibility Standards) อยู่ในระดับมาก (=4.32, S.D.= 0.25)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ พบว่า ครู ผู้ปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน จำนวน 100 คนมีความพึงพอใจและมีค่าดัชนีความเห็นพ้องกันของผู้ประเมิน (RAI) เท่ากับ 0.99
4. ผลการประเมินการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง ด้านความเป็นไปได้ และด้านประโยชน์ในการนำไปใช้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
9. อภิปรายผลการวิจัย
9.1 การวิเคราะห์ สังเคราะห์ สภาพปัจจุบันในการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ พบว่า กลยุทธในสถานศึกษายังขาดตัวบ่งชี้ การปฏิบัติและเกณฑ์ที่ชัดเจน ทำให้การบริหาร และระบบประกันคุณภาพภายในได้ไม่ตรงตามสภาพจริง ความต้องการ พบว่า มีระบบการประกันคุณภาพชัดเจน และเมื่อศึกษาความต้องการ พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความต้องการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน สามารถนำมาเป็นกรอบในการปฏิบัติให้คุณภาพของการปฏิบัติการสอนเป็นมาตรฐานและมีแนวทางในการประเมินเดียวกัน และเมื่อสำรวจความต้องการการประเมินการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา เนื่องจากผู้วิจัยได้นำหลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษาและการบริหารโรงเรียน รวมถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร ว่าการบริหารเป็นกระบวนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ โดยอาศัยหน้าที่หลักทางการบริหาร 4 ประการ คือ การวางแผน การมอบความรับผิดชอบ การสร้าง แรงจูงใจ และการกำกับติดตาม ผู้บริหารควรคำนึงถึงองค์ประกอบหลายอย่างทางการบริหาร เช่น หน้าที่ทางการบริหาร หลักเกณฑ์ทางการบริหารที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้การให้ความสำคัญ ต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อองค์การทำให้ผู้บริหารต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการบริหารที่ช่วยให้ องค์การประสบผลสำเร็จทางการบริหาร ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้แนวความคิดเชิงระบบเข้า มาใช้ในการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหารโรงเรียน เพื่อบรรลุผลคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 เนื่องจากคนเป็นส่วนหนึ่งของระบบองค์กร องค์กรเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม นักทฤษฎีบริหาร จึงหันมาสนใจการศึกษาพฤติกรรมขององค์กร องค์ประกอบ หรือปัจจัยต่าง ๆ ที่มี ความสัมพันธ์และมีส่วนกระทบต่อปัจจัยระหว่างกันในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ องค์กร ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา การจัดการศึกษาของประเทศไทยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษาไว้ในพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 โดยมุ่งเน้นให้คนไทยมี คุณลักษณะ เก่ง ดี มีสุข กล่าวคือ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579) กระทรวงศึกษาธิการในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาของประเทศ โดยตรง จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์หลักสำหรับใช้เป็นแนวทางจัดการศึกษาของสถานศึกษาทุกแห่ง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs 8Cs) ประกอบด้วย ทักษะและคุณลักษณะต่อไปนี้ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560: 16)
9.2 การบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ ประกอบด้วย กลเชิงกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ ประกอบด้วย3 ด้าน คือ ด้านผู้เรียน ด้านบริหาร และด้านการจัดการเรียนรู้ 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) เพิ่มพูนความรู้ 2)โรงเรียนน่าอยู่ 3) พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการ 4) เป็นโรงเรียนของชุมขน 5) การพัฒนาที่ยั่งยืน และมี 15 โครงการ พบว่า มีความเหมาะสม (Propriety Standards) อยู่ในระดับมาก (=4.46, S.D.= 0.18) และมีความเป็นไปได้ (Feasibility Standards) อยู่ในระดับมาก (=4.32, S.D.= 0.25) ผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อคุณภาพการบริหารและการจัดการคุณภาพการเรียนการสอน ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม (Participatory) มีวิวัฒนาการจาก แนวคิดการบริหารเชิงมนุษย์สัมพันธ์ และการบริหารเชิงพฤติกรรมศาสตร์ คือ การรู้สึกว่าตนมี ส่วนร่วมเป็นสมาชิกขององค์กร (Sense of Belonging) ซึ่งเป็นความต้องการภายใน เป็นปัจจัยจูงใจ (Motivation Factor) ที่ทำให้บุคคลทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม ในขณะที่ปัจจัยภายนอก เป็นปัจจัยค้ำจุน (Maintenance Factor) ซึ่งอาจไม่จูงใจให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและยังศึกษารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม มีหลากหลายรูปแบบ เช่น รูปแบบการจัดการ แบบมุ่งเน้นวัตถุประสงค์ (Management by Objectives หรือ MBO) รูปแบบภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม โดยกลุ่ม (Participative Group Leadership) ของ Rensis Likert ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของสยาม เรืองสุกใสย์ (2559, บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัย เรื่องการพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.)ตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนล่องแพวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้กลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเพื่อประเมินกลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผลการวิจัยพบว่า
9.3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ พบว่า ครู ผู้ปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 100 คนมีความพึงพอใจและมีค่าดัชนีความเห็นพ้องกันของผู้ประเมิน (RAI) เท่ากับ 0.99 เนื่องจาก ผู้วิจัยได้ดำเนินการลริหารงานในโรงเรียนด้านการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน เป็นระบบที่โรงเรียนสร้างความมั่นใจ แก่ผู้รับบริการด้วยการบริหารจัดการที่มีคุณภาพทั้งองค์กรโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม บุคลากรในโรงเรียนตระหนักถึงเป้าหมาย คือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นอันดับแรก ดังนั้น การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนจึงยึดหลักการ 3 ประการ (สํานักงานทดสอบทางการศึกษา, 2553, 10-11) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของนฎกร ปิ่นสกุล (2557, 184-186) ได้ศึกษารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมอาชีพของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล ผลการวิจัยพบว่า สภาพและแนวทางการบริหารแบบมีสวนร่วมเพื่อส่งเสริมอาชีพนักเรียนในสานศึกษาสังกัดเทศบาล การบริหารแบบมีส่วนร่วมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย ด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการและแนวทางการส่งเสริมอาชีพของนักเรียน ในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล ประกอบด้วยด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านแหล่งเรียนรู้/สื่อ/งบประมาณ และด้านการวัดและประเมินผล รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมอาชีพของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดเทศบาล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่1) คณะกรรมการบริหารและหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) ขอบข่ายภารกิจความร่วมมือในการส่งเสริมอาชีพ 3) กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม และ 4) เป้าหมาย การประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมอาชีพนักเรียน ในสถานศึกษาสังกัดสถานศึกษาเทศบาล พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ ในระดับมาก
9.4 ผลการประเมินการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง ด้านความเป็นไปได้ และด้านประโยชน์ในการนำไปใช้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเอกสาร แนวคิดในการจัดการศึกษา การประเมิน และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ได้นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ และได้สังเคราะห์องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้หลัก และตัวบ่งชี้ย่อย จนได้ร่างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ จากนั้นผู้วิจัยได้จัดการใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) เพื่อพิจารณาตรวจสอบความเหมาะสม ความครอบคลุม ความชัดเจนของคู่มือการประเมินฯ และตรวจสอบความตรง (Validity) ของรูปแบบ เสร็จแล้วผู้วิจัยได้นำข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบและพัฒนาตัวบ่งชี้ที่ได้จากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงรูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ และได้นำคู่มือการประเมินที่ได้รับการแก้ไขแล้ว ไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร ผู้รับผิดชอบหรือครูผู้สอน ซึ่งไม่ใช่บุคคลเดียวกันในขั้นตอนเทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) ตรวจสอบความเหมาะสม ความครอบคลุม ความชัดเจนของคู่มือรูปแบบ และตรวจสอบความตรง (Validity) ของแบบประเมินอีกครั้ง จึงทำให้ได้องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้หลัก และตัวบ่งชี้ย่อยที่มีคุณภาพ เป็นอย่างดี จากนั้นผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองใช้รูปแบบฯ โดยได้ดำเนินการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจในแนวทางการประเมิน มุ่งหวังและมั่นใจว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ประเมินการจัดการเรียนรู้ได้จริง โดยสามารถอธิบายโครงสร้างที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เป็นแบบแผนในการประเมินที่แสดงให้เห็นถึงรายการที่ควรประเมิน เราควรพิจารณาในเรื่องอะไรบ้าง (ศิริชัย กาญจนวาสี. 2554 : 103, บุญชม ศรีสะอาด. 2549 : 41, Bardo and Hartman. 1982 : 70 - 71)
ดังนั้นการพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ จึงทำให้ได้รูปแบบที่มีความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความถูกต้อง และสุดท้ายคือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
10. ข้อเสนอแนะ
10.1 เป็นแนวทางการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียน
10.2 สามารถนำแนวการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนในสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพ
10.3 นำไปวางแผน กำหนดนโยบายของคณะหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาปรับโครงสร้าง แผนการเรียน
10.4 เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนในวิชาชีพอื่น ๆ
11. เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ. ( 2544) . ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา : กรอบและแนวการดำเนินงาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
_______. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ) กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). คู่มือการบริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2539 :2550). กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการ.
_______. วารสารวิชาการการศึกษา. (2542). แนวทางการพัฒนาคุณภาพ, วารสารวิชาการ. 2,11 :
14.
_______. สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2544). แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพ
การศึกษาของสถานศึกษาโดยเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการ.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การคิดเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพ: ซัคเซส มีเดีย.
จรัญ แจ้งมณี . (2548). การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : โรงเรียนอนุบาลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงรายเขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารศึกษา) เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
จาโรจน์ วงศ์กระจ่าง. (2545). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เจน แผลเดชา . (2549) กลยุทธ์การระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานในเขตจังหวัดภูเก็ต วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารศึกษา) ภูเก็ต : มหาวิทยาลัย ราชภัฎภูเก็ต .
Nevo, D (1983). The conceptualization of education evaluation. An Analtical Review of Courtland L. Borce et. al. Management.(1993). (n.p.) : Mc. Graw Hill.
Fetterman, D. M. (1994). Empowerment Evaluation : Presidential Address, Evaluation Practice. 15(1) : 1-15.
Goodstein, Leonard D., Noland, Timotay MM., and Rfeiffer. J. William. Applied Strategic
Planning: How to Develop a Plan that Really Works.(1993). California : Pfeiffer
Company.
Sallis, Edward.(1993).Total Quality Management Education. London : Philadelphia, Kogan Fage, Education Management Series.
Shadid, W . et al. (1982).Acces and participation a theortical approach in participation of the poor in development.New:McGraw-Hill.
William F.Glueck,(1972).Business Policy : Strategy Formation and Executive Action. New York : Mc. Graw Hill Book Company .