ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดโตนด
(บุญชื่นอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
ผู้รับผิดชอบ นางสาวอรอุมา ขันธพาลี
หน่วยงาน โรงเรียนวัดโตนด(บุญชื่นอุปถัมภ์)
ปีที่ประเมิน 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทของโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดโตนด (บุญชื่นอุปถัมภ์) 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input evaluation) ที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดโตนด (บุญชื่นอุปถัมภ์) 3) เพื่อประเมินกระบวนการที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดโตนด (บุญชื่นอุปถัมภ์) และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตจากการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดโตนด (บุญชื่นอุปถัมภ์) โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ รวมทั้งหมด 85 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครู จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 36 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. การประเมินบริบทของโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดโตนด (บุญชื่นอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับจากมาก ไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ โครงการสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง โครงการมีความสอดคล้อง กับนโยบายของโรงเรียน และโครงการมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ของสังคมในยุคปัจจุบัน ตามลำดับ
2. การประเมินปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินงานตามการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดโตนด (บุญชื่นอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ และด้านงบประมาณ ตามลำดับ
3. การประเมินกระบวนการที่ใช้ในการดำเนินงานตามการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดโตนด (บุญชื่นอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ วางแผน และเตรียมความพร้อมก่อนการจัดกิจกรรมทุกครั้ง ดำเนินงานครบทุกกิจกรรมและเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด และนิเทศ กำกับ ติดตาม และควบคุมการดำเนินงานตามโครงการ ตามลำดับ
4. การประเมินผลผลิตจากการดำเนินงานตามการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดโตนด (บุญชื่นอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
4.1 การประเมินผลผลิต พฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกตามตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ จากการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดโตนด (บุญชื่นอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ด้านมีวินัย และด้านซื่อสัตย์ สุจริต ตามลำดับ
4.2 การประเมินความพึงพอใจ ในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดโตนด(บุญชื่นอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ โครงการมีประโยชน์ สามารถนำสิ่งที่ได้รับมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม หรือมีส่วนร่วม และโครงการสามารถยกระดับพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนให้กับนักเรียน ตามลำดับ