บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้แบบฝึกทักษะที่มีเนื้อหาที่เหมาะสม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับการอ่านเพื่อความเข้าใจ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน และแบบทดสอบ โดยแบบฝึกเสริมทักษะ ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ได้ค่า ประสิทธิภาพ 83.40/92.50
2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังจากการใช้แบบฝึกเสริมทักษะอ่านภาษาอังกฤษสูงกว่าความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะอ่านภาษาอังกฤษ ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ .05
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้โลกมีวัฒนาการและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารอย่างไร้พรมแดน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการเจริญเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งต่างก็หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย สังคมไทย และคนไทย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษ จึงจำเป็นที่การจัดการศึกษาของประเทศต้องเร่งพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาคนในประเทศ ให้มีศักยภาพเพียงพอต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งหมายและหลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไป เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้ มีคุณธรรมและจริยธรรม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่สำคัญในการติดต่อสื่อสาร ทักษะที่สำคัญในการแสวงหาความรู้ คือทักษะการอ่าน การอ่านเป็นทักษะที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตในโลกปัจจุบัน ผู้ที่อ่านมากย่อมมีความรู้มาก ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนยุคใหม่ การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งสำหรับการแสวงหาความรู้ เพราะการอ่านจะช่วยสร้างเสริมความรู้ความคิดของคนให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น การอ่านมีบทบาทสำคัญในการเรียนทุกระดับ ในบรรดาทักษะภาษาอังกฤษอันประกอบด้วยทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนนั้น ทักษะที่จำเป็นมากที่สุดคือ ทักษะการอ่าน ซึ่งต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การอ่านฉลากยา การอ่านป้ายโฆษณา ตลอดจนวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากต่างประเทศ ตลอดจนความจำเป็นในการอ่านคำศัพท์อ่านบทความหรือเรื่องสั้นภาษาอังกฤษของนักเรียน ดังนั้นทักษะการอ่านจึงเป็นทักษะที่นักเรียนต้องการและควรได้รับการส่งเสริมเป็นอย่างยิ่ง
ในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษให้ความสำคัญในเรื่องทักษะการอ่าน ซึ่งผู้วิจัยพบปัญหาว่ามีนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวนหนึ่งมีปัญหาด้านการอ่าน เนื่องจากนักเรียนอ่านไม่ออก สะกดคำไม่ได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจในการนำเอกสารในวิชาภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน 2 (อ31203) มาพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพในการอ่านสูงขึ้น และรู้คุณค่าของการเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาต่อในขั้นและสูงขึ้นและเพื่อประกอบอาชีพต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ ดังนี้
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ที่มีเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้ได้ตามเกณฑ์ 75/75 (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ 2520: 136)
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ปัญหาการวิจัย
1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่
2. ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒ หลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ที่มีเหมาะสมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกหรือไม่
สมมติฐานการวิจัย
1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ 2520: 136)
2. ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒ หลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ สูงกว่าความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษก่อนการฝึกโดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตของการดำเนินการศึกษามีดังต่อไปนี้
1. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒ จำนวน 331 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒ จำนวน 20 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง
2. ด้านตัวแปร
ตัวแปรต้น คือ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
ตัวแปรตาม คือ ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4
ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
3. ระยะเวลาในการวิจัย
การวิจัยใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 คาบเรียน
วิธีดำเนินการวิจัย
1. การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒ จำนวน 331 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒ จำนวน 20 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง
2. แบบแผนการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการทดลอง
ตามแบบแผนการทดลองกลุ่มเดียวสอบก่อนและหลัง (One Group Pretest Posttest Design)
ตารางที่ 1 แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
กลุ่มตัวอย่าง สอบก่อน ทดลอง สอบหลัง
P1 X P2 R
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแบบแผนการทดลอง
P1 แทน กลุ่มการทดลอง
X แทน การทดสอบก่อนเรียน
P2 แทน การจัดกระทำ
R แทน การทดสอบหลังเรียน
3. การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยดำเนินการสร้างเครื่องมือในการวิจัย
1. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการ ความสนใจและความเหมาะสมของหัวข้อ ที่นำมาจัดทำเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
2. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
3. แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ฉบับเพื่อใช้ทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
การสร้างและพัฒนาเครื่องมือ
ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดังต่อไปนี้
1. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการ ความสนใจและความเหมาะสม เกี่ยวกับชื่อเรื่องที่นำมาจัดทำเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งแบ่งแบบสอบถาม ออกเป็น 2 ตอน คือ
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 คือแบบสอบถามความต้องการ ความสนใจและความเหมาะสมของหัวเรื่องที่นำมาจัดทำเป็นสื่อ ประกอบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามมีดังนี้
1.1 เลือกเนื้อหา โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมของแต่ละเรื่อง
1.2 ศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถาม เพื่อใช้สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการ ความสนใจและความเหมาะสมของหัวข้อที่นำมาจัดทำเป็นเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษ จากนั้นนำแบบสอบถามไปให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อคัดเลือกเนื้อหา จากนั้นนำไปสรุปผลหาค่าร้อยละ ปรากฏผลการ วิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน
2. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ จำนวน 5 บท
2.1 นำเนื้อหาทั้ง 5 เรื่องไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบดัชนีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ การเรียนรู้และกิจกรรมในแบบฝึก (IOC) (สุโขทัยธรรมาธิราช 2535: 456) โดยพิจารณาเนื้อหาที่มีค่าดัชนี ความสอดคล้องมากกว่า หรือเท่ากับ 0.50 และปรับปรุงข้อที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ต่ำกว่า 0.50 ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
2.2 ศึกษาหนังสือเรียน ตำรา และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน และจากหนังสือการ พัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรท้องถิ่นสู่การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (อุทุมพร จามร มาน : 2547) ซึ่งเนื้อหาหลักสูตรได้เน้นให้ครูผู้สอนจัดการเรียนการสอน โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่ง รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งการเรียนรู้อื่นๆ ในท้องถิ่นและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามที่สถานศึกษา หรือชุมชนต้องการให้ผู้เรียนได้เกิดคุณลักษณะดังกล่าว
2.3 วิเคราะห์หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับช่วงชั้น ที่ 3 (มัธยมศึกษาตอนปลาย) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เกี่ยวกับมาตรฐานการ เรียนรู้ช่วงชั้น ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และคำอธิบายรายวิชาจากสาระหลัก และมาตรฐานการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ เพื่อเรียบเรียงเป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับทักษะ
2.4 คัดเลือกเนื้อหาที่เป็นเอกสารจริงจากสื่อภาษาอังกฤษต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ หนังสือ ท่องเที่ยว วารสาร สิ่งตีพิมพ์ แผ่นพับ เอกสารแนะนำการท่องเที่ยว และอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นข้อมูลที่ สอดคล้องกับหัวข้อต่างๆ (Topics) และแก่นสาร (Theme) โดยจัดทำเป็นหัวข้อบทเรียน 5 บทเรียน
2.5 นำข้อมูลที่ได้มาสร้างตารางกำหนดเนื้อหากิจกรรมการอ่าน (Table of Content Specification) ที่ประกอบด้วยชื่อเรื่อง ความสอดคล้องของบทอ่านกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ องค์ประกอบทางภาษา กิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผล
2.6 สร้างแบบฝึกการอ่านตามตารางกำหนดเนื้อหากิจกรรมการอ่าน ซึ่งในแต่ละแบบฝึก ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ กิจกรรมก่อนการอ่าน (Pre-reading activity) กิจกรรมระหว่างการอ่าน (While-reading activity) และกิจกรรมหลังการอ่าน (Post-reading activity)
2.7 นำแบบฝึกที่สร้างขึ้นเสนอผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงด้านเนื้อหา และ ปรับปรุงระดับความยากง่ายของกิจกรรมให้เหมาะสม
วิธีดำเนินการศึกษา
ผู้วิจัยได้ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. วิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 75/75 ใช้สูตร E1/E2 (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ: 2520)
2. เปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ด้วยการทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระ (t-test dependent)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล