ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าด่าน
ผู้รายงาน นางสาวนิรอปีสะ สาแม
ตำแหน่งครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านท่าด่าน อำเภอยะหริ่ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 1
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าด่าน ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าด่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าด่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าด่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านท่าด่าน อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 1 จำนวน ๑๙ คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โดยการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้รูปแบบการวิจัยที่มีกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว ดำเนินการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน OneGroup Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 เล่ม 32 แบบฝึก 2) แผนการจัดการเรียนรู้การใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 22 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ข้อ
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1 ) เท่ากับ 90.92 และประสิทธิภาพหลังฝึก (E2) เท่ากับ 89.30 แสดงว่าแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยากมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของแบบฝึกส่งผลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้เกิดจากการฝึกฝนและได้ลงมือปฏิบัติจริงซ้ำ ๆ หลายๆ ครั้งจะเกิดความชำนาญและมีประสิทธิภาพ
๒. เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านและการเขียนคำยาก ก่อนการจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน หมายความว่าหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก นักเรียนมีความสามารถในการอ่านและการเขียนคำยากได้ดีขึ้น แสดงว่าแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก มีผลต่อการพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนคำยากสูงขึ้น คือนักเรียนการอ่านและการเขียนคำยาก ได้ถูกต้อง
๓. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าด่าน มีค่าเท่ากับ 4.67 สรุปได้ว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด