ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านท่าด่าน
ผู้รายงาน นางสาวนิกามีละห์ นิเดร์หะ
ตำแหน่งครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านท่าด่าน อำเภอยะหริ่ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 1
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านท่าด่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านท่าด่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านท่าด่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 1
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านท่าด่าน อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 1 จำนวน 15 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โดยการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้รูปแบบการวิจัยที่มีกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว ดำเนินการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
OneGroup Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา จำนวน 4 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้การใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จำนวน 22 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียน จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะพบว่าแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 89.67 / 87.78
2. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.00
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้และมีทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตรามาตรา ครูผู้สอนควรนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาและเพื่อช่วยให้นักเรียนมีความคิดรวบยอด มีความรู้พื้นฐานในการเรียนระดับชั้นที่สูง ขึ้นต่อไปได้