รายงานการศึกษาในครั้งนี้ผู้รายงานมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อหาค่าประสิทธิภาพคู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นดินน้ำมันควบคู่กระบวนการฝึก 5 ขั้น เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลาแล ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นดินน้ำมันควบคู่กระบวนการฝึก 5 ขั้น เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลาแล ปีการศึกษา 2563 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นดินน้ำมันควบคู่ กระบวนการฝึก 5 ขั้น เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลาแล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1. คู่มือการกิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นดินน้ำมันควบคู่ กระบวนการฝึก 5 ขั้น ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลาแล จำนวน 24 กิจกรรม 2.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นดินน้ำมันควบคู่ กระบวนการฝึก 5 ขั้น ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลาแล จำนวน 24 แผน 3. แบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลาแล จำนวน 20 ข้อ 60 คะแนน 4. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นดินน้ำมันควบคู่ กระบวนการฝึก 5 ขั้น ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลาแล จำนวน 5 ข้อการศึกษาวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพเครื่องมือ โดยใช้ข้อมูลและวิธีหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เปอร์เซ็นต์ % ค่าความสอดคล้องของเครื่องมือ IOC และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยค่า (T-test ) แบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นดินน้ำมันควบคู่ กระบวนการฝึก 5 ขั้น ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 20 ข้อ 60 คะแนน พบว่าได้ผลดังนี้
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพคู่มือการกิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นดินน้ำมันควบคู่กระบวนการฝึก 5 ขั้น
เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลาแล
ปีการศึกษา 2563 มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.38/90.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. การเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นดินน้ำมันควบคู่กระบวนการฝึก 5 ขั้น ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลาแล ปีการศึกษา 2563 โดยมีคะแนนก่อนทำกิจกรรม เฉลี่ย เท่ากับ 41.70 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 5.51 หรือ ร้อยละ 69.49 และ หลังการทำกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 54.26 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 2.70 หรือ ร้อยละ 90.43 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนประเมินหลังการทำกิจกรรมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน 12.57 คะแนน หรือร้อยละ 20.94และมีค่า t – test เท่ากับ 16.665 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
3. ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลาแล ที่มีต่อการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นดินน้ำมันควบคู่ กระบวนการฝึก 5 ขั้น เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก จำนวน 23 คน ในสัปดาห์ที่ 1 - 8 สัปดาห์ จำนวน 24 กิจกรรม โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ เฉลี่ย 2.78 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นดินน้ำมัน ควบคู่กระบวนการฝึก 5 ขั้น เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลาแล อำเภอกาบัง
จังหวัดยะลา ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้เรียน สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดียิ่ง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01