ชื่อผู้ประเมิน : นายพัฒนยศ รักษ์พงศ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเกาะปราง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะปราง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) กระบวนการ (Process Evaluation) ผลผลิต (Product Evaluation) ผู้ประเมินได้ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปโมเดลของสตัฟเฟิลบีม (Daneil L.Stufflebeam) ใน ๔ รูปแบบข้างต้น โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการประเมิน ทั้งหมด ๘๖ คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง จำนวน ๔๓ คน ครู จำนวน ๖ คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน ๒0 คน (ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 - 6 ที่เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง) คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพโรงเรียน จำนวน ๖ คน (ไม่รวมครูและนักเรียน) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๖ คน (ไม่รวมครูและผู้บริหารโรงเรียน) และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแนวคิดของลิเคิร์ต จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบทและปัจจัยนำเข้า ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการเประเมินระหว่างดำเนินงานโครงการ ฉบับที่เ3เแบบสอบถามด้านผลผลิตของโครงการ ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ และฉบับที่ 4 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของโครงการ ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ
เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตอบข้อคำถามในแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรม SPSS ด้วยค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน พบว่า
การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านเกาะปราง อำเภอทุ่งสง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 มีผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการโดยการประเมิน 5 ตัวชี้วัด พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทั้ง ๕ ตัวชี้วัดคือ ด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ ด้านความสอดคล้องและชัดเจนของวัตถุประสงค์ ด้านความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และส่งเสริมสุขภาพ และด้านความสอดคล้องกับหลักการของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการโดยการประเมิน 5 ตัวชี้วัด พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทั้ง ๕ ตัวชี้วัดคือ ด้านบุคลากรของสถานศึกษา ด้านงบประมาณ ด้านสถานที่ ด้านสื่อ และวัสดุ อุปกรณ์ และด้านหน่วยงานที่สนับสนุน
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทั้ง ๕ ตัวชี้วัดคือ ด้านการมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ด้านการวางแผนการดำเนินกิจกรรม ด้านการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนด ด้านการกำกับติดตาม และด้านการประชุม สรุป เพื่อวางแผนพัฒนากิจกรรม
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทั้ง ๕ ตัวชี้วัดคือ คุณภาพด้านสุขภาพของผู้เรียน คุณภาพด้านการเรียนรู้ และปฏิบัติตนจนเกิดพฤติกรรมสุขภาพ ผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบ ผลการดำเนินโครงการ ด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องประเมินโดย ครู ผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผลการดำเนินโครงการ ด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องประเมินโดย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในภาพรวม พบว่าโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านเกาะปราง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกตัวชี้วัด และอยู่ในระดับมากที่สุด