บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา อาเซียนศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียน
โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับสื่อประสมให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา อาเซียนศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้สื่อรายวิชา อาเซียนศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับสื่อประสมประกอบการเรียนการสอน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล 3 สามัคคีวิทยาคาร สำนักการศึกษาเทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวนทั้งหมด 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย สื่อรายวิชา อาเซียนศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับสื่อประสม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินผลการเรียนการสอนและแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของสื่อรายวิชา อาเซียนศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับสื่อประสม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.36/91.33
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้สื่อรายวิชา อาเซียนศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับสื่อประสม สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพอใจในระดับมากที่สุด ในการใช้สื่อรายวิชา อาเซียนศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับสื่อประสม
4. ครูที่ใช้สื่อรายวิชา อาเซียนศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับสื่อประสมประเมินผล อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 94.12