บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การรายงานโครงการประเมินโครงการสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โรงเรียนบ้านไทรงาม ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาสถานศึกษาในทุกตัวบ่งชี้เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาด้วย ได้เริ่มวางแผนดำเนินโครงการ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561-2563 เป็นต้นมา และขณะนี้ทางโรงเรียนมีความพร้อมในการรับการประเมินเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาด้วยกระบวนกิจกรรมโรงเรียนได้ดำเนินการ กลุ่มตัวอย่าง ผู้ตอบแบบสอบถามเพื่อให้ข้อมูลจำนวน 110 คน ประกอบด้วยครู 5 คน นักเรียน 50 คน ผู้ปกครอง 50 คน ผู้บริหาร 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน ครอบคุลมตามกรอบและหัวข้อของการวิจัย มีทั้งหมดจำนวน 5 ฉบับ ดังนี้
1. แบบสอบถามเกี่ยวกับบริบทของโครงการสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โรงเรียนบ้านไทรงาม
2. แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าของโครงการสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โรงเรียนบ้านไทรงาม
3. แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของโครงการสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โรงเรียนบ้านไทรงาม
4. แบบสอบถามเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โรงเรียนบ้านไทรงาม
5. แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โรงเรียนบ้านไทรงาม
สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS เพื่อคำนวณหาความเชื่อมั่น แบบสอบถามใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ t-test (Independent)
ผลการวิจัย
1. ด้านบริบท พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นว่าวัตถุประสงค์ของโครงการสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โรงเรียนบ้านไทรงาม มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และ 10 สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 สอดคล้องกับนโยบายของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2559 สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 2 และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน อยู่ใน ระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้า เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าของโครงการสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โรงเรียนบ้านไทรงาม ว่ามีความพร้อมในการดำเนินงานของผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการมีความสามารถในการดำเนินโครงการ บุคลากรในการดำเนินโครงการมีความเพียงพอ บุคลากรในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม งบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ มีคู่มือดำเนินโครงการ วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติกิจกรรมมีเพียงพอและระยะเวลาในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่าผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมและความเหมาะสมของกระบวนการของโครงการสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โรงเรียนบ้านไทรงาม ว่ามีความพร้อมและความเหมาะสมเกี่ยวกับการมีการวางแผนดำเนินโครงการสู่การปฏิบัติดำเนินกิจกรรมโครงการตามแผนที่กำหนดไว้ จัดกิจกรรมในรูปกบบที่หลากหลายได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในโครงการ ประชาสัมพันธ์โครงการอย่างทั่วถึง การดำเนินโครงการเป็นไปตามโครงการที่กำหนด มีการติดตามประสานงานการจัดกิจกรรมกับผู้เกี่ยวข้อง มีการกำกับ ติดตาม ควบคุมการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ขณะดำเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการเมื่อพบว่าบกพร่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประเมินผลโครงการตามความเหมาะสม ประเมินผลแต่ละกิจกรรมโดยใช้เทคนิคและวิธีการที่หลากหลาย ครบทุกกิจกรรม ผู้บริหารมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง และโรงเรียนมีการขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมลงสู่ชุมชน/เผยแพร่ อยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต มีการประเมินนักเรียนใน 3 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย 1) ผลสัมฤทธิ์ความรู้เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนประเมินตนเอง 2) การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3) ความพึงพอใจต่อโครงการโดยผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียนเป็นผู้ประเมิน และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก
5. การประเมินผลกระทบที่มีต่อโครงการสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โรงเรียนบ้านไทรงาม พบว่า ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากโครงการสามารถนำไปใช้กับการปฏิบัติงานที่รับผิดชอง เนื้อหาเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความเหมาะสมกับการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ สามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ในการทำงาน สามารถรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ และนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ สิ่งแวดล้อมและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง ด้านวิชาการ มีความรับผิดชอบและเอาใจใส่ในการปฏิบัติงาน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น และเป็นผู้ตรงต่อเวลา อยู่ในระดับมากที่สุด
ผลสำเร็จ
ผลสำเร็จของการประเมิน พบว่า จากการทำโครงการสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โรงเรียนบ้านไทรงาม ทำให้สถานศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น นักเรียนสามารถนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
ข้อเสนอแนะ
1. ด้านบริบทของโครงการ จากผลการประเมินพบว่าข้อที่ 5 วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าทุกข้อ แต่ในข้อนี้ผลการประเมินระดับความคิดเห็นก็ยังอยู่ในระดับมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นในการจัดทำโครงการควรศึกษากรอบนโยบายรวมทั้งกลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ละเอียด และชัดเจนเพื่อให้การจัดทำโครงการของโรงเรียนสอดคล้องและตรงกับนโยบายหรือกลยุทธ์
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ จากผลการประเมินพบว่า ข้อ 5 งบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าทุกข้อแต่ในข้อนี้ผลการประเมินระดับความคิดเห็นก็ยังอยู่ในระดับมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นในการจัดทำโครงการต่าง ๆ ควรจัดทำให้ถูกต้องตามกระบวนการขั้นตอนและควรเป็นโครงการที่มุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์กับนักเรียนมากที่สุดจึงจะทำให้โครงการได้รับการอนุมัติและดำเนินงานได้ตามแผนการดำเนินงานที่ว่าไว้
3. ด้านกระบวนการของโครงการ จากผลการประเมินพบว่า ข้อ 12 โรงเรียนมีการขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมลงสู่ชุมชน/เผยแพร่ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าข้ออื่น แต่ในข้อนี้ผลการประเมินระดับความคิดเห็นก็ยังอยู่ในระดับมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นในการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมที่จะสามารถเผยแพร่ได้ ทางโรงเรียนควรมีการประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมในอีกหลายทาง เช่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น วารสาร วิทยุ เคเบิ้ลทีวี ฯลฯ เพื่อให้ชุมชน สังคม หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ข่าวสารในหลายทางอีกด้วย
4. ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนภายหลังเข้าร่วมโครงการมีค่าสูงขึ้น ซึ่งการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอาศัยกิจกรรมที่หลากหลาย ดังนั้นเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมดีขึ้นมากกว่าเดิมครูและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน
5. ด้านผลกระทบของโครงการ จากผลการประเมินผลว่านักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการเวลา มีค่าเฉลี่ยยต่ำกว่าข้ออื่นแต่ในข้อนี้ผลการประเมินระดับความคิดเห็นก็ยังอยู่ในระดับมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นทางโรงเรียนควรมีกิจกรรมในรูปแบบอื่น ที่เกี่ยวกับการตรงต่อเวลาเพิ่มเติมเพื่อเป็นการพัฒนาคุณลักษณะด้านนี้ให้มีมากขึ้นกว่าเดิม