รายงานวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อเรื่อง การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีการเรียนการสอนออนไลน์
วิชาวิทยาศาสตร์
ชื่อผู้วิจัย นางสาวปเมธิตา เพชรนาม
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน เทศบาล 2 วิภัชศึกษา
ปีการศึกษา 2564
ความเป็นมาและวามสำคัญของการวิจัย
การศึกษาถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับทุกประเทศ เพราะเป็นต้นกำเนิดแห่งการพัฒนา ที่ไม่หยุดยั้งของคน ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวทางในการ ปฏิรูปการศึกษา โดยให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อรองรับกระแสของการเปลี่ยนแปลงของ โลก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ให้ความสำคัญสูงสุดในกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้ ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รู้จักแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวทางไว้ในมาตรา 24 คือ จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับ ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดกิจกรรมให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น ปลูกฝัง คุณธรรมทุกสาขาวิชา โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี เป็นคนเก่ง และมี ความสุขอย่างแท้จริง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ดำเนินการรวบรวมแนวคิดทางทฤษฎีการ เรียนรู้และเสนอแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้
1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ผู้เรียนได้ พัฒนาเต็มความสามารถทั้งด้านความรู้ จิตใจ อารมณ์และทักษะต่าง ๆ
2. ลดการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาลง ผู้เรียนกับผู้สอนมีบทบาทร่วมกัน ใช้กระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนจากประสบการณ์จริงที่เป็นประโยชน์และสัมพันธ์ กับชีวิตจริงเรียนรู้ความจริงในตัวเองและความจริงจากสิ่งแวดล้อมจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
3. กระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการทดสอบปฏิบัติด้วยตนเอง ครูทำ หน้าที่เตรียมการจัดสิ่งเร้า ให้คำปรึกษา วางแนวกิจกรรมและประเมินผล ดังนั้นแนวคิดการจัดการ 9 เรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้วิชาพื้นฐานการงานอาชีพและ เทคโนโลยี
ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนในชั้นเรียนเป็นอย่างมาก ทำให้สถานศึกษาต้องปิดการเรียนการสอนที่โรงเรียน และ มีการเรียนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้จากทางไกล
เพื่อให้การจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 การจัดกระบวนการเรียนรู้ จึงควรเป็นกระบวนการทางปัญญาที่พัฒนาบุคคล อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีความสุข บูรณาการ เนื้อหาสาระตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้เกี่ยวกับ ตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคมสาระการเรียนรู้สอดคล้องกับความมั่นใจของผู้เรียน ทันสมัย เน้นกระบวนการคิด และการปฏิบัติจริง ได้เรียนรู้ตามสภาพจริง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างกว้างไกล เป็นกระบวนการที่มีทางเลือกและมีแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมจัด บรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และมุ่งประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข จากสภาพปัญหาที่กล่าวข้างต้น ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาความ
ดังนั้น ผู้วิจัยตระหนักถึงความสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้อง กับความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติใน 4 ด้าน คือ ได้แก่ 1) ด้านตัวผู้สอน (บุคลิกภาพ ความเอาใจใส่ เทคนิคต่างๆ ) 2) ค้านความเหมาะสมของเนื้อหาที่นำมาใช้ในการสอนออนไลน์ 3) ด้านการออกแบบสื่อการเรียนการสอน/กระบวนการสอน และ 4) ด้านการวัดผลและประเมินผล /การตรวจงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางใน การปรับปรุงและพัฒนาการจัดการหลักสูตรให้เกิดผลดีแก่ผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด
คำถามของการวิจัย
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประศึกษาปีที่ 5 จะทำให้ผู้เรียน มีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับใด
สมตมติฐานของการวิจัย
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประศึกษาปีที่ 5 น่าจะทำให้ผู้เรียน มีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับมากขึ้นไป
จุดประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนออนไลน์วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประศึกษาปีที่ 5
ขอบเขตของการวิจัย
เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) การดำเนินการวิจัยใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว ซึ่งมีรูปแบบการวิจัยคือการศึกษาความพึงพอใจและข้อเสนอแนะของกลุ่มเพียงหนึ่งกลุ่ม ไม่มีกลุ่มควบคุมทำการทดลองซ้ำ
กลุ่มเป้าหมาย
ในการวิจัยครั้งนี้กำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งสิ้น 113 คน
ตัวแปร
ตัวแปรอิสระ กิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์
ตัวแปรตาม ความพึงพอใจต่อการเรียนออนไลน์วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประศึกษา
ปีที่ 5
ระยะเวลา
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 24 สิงหาคม 2564
นิยามศัพท์เฉพาะ
ความพึงพอใจ หมายถึง ความเชื่อ ความคิด ความรู้สึก ความเข้าใจเฉพาะบุคคล ที่แสดงออกโดยการพูด หรือการเขียนโดยอาศัยพื้นความรู้ประสบการณ์ สภาพแวดล้อม และข้อมูลข่าวสารที่ตนมีอยู่
การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online) คือ เป็นการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยนักเรียนสามารถเลือกเรียนตามความสนใจ หรือครูอาจกําหนดเนื้อหาการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนเข้าถึงเนื้อหาด้วยตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา เนื้อหาอาจประกอบด้วย ข้อความ , รูปภาพ , เสียง , วิดีโอ, google meet ,goole classroom line Youtube Google drive และสื่อมัลติมีเดียอื่น ๆ ซึ่งนักเรียน ครู และเพื่อนร่วมชั้นเรียน สามารถติดต่อ สื่อสาร ปรึกษา หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบเดียวกับการเรียน ในชั้นเรียนทั่วไป โดยใช้ช่องทางการสื่อสารผ่าน Chat, line
นักเรียน หมายถึง นักเรียนที่กำลังศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเทศบาล 2 วิภัชศึกษา
เครื่องมือและสถิติที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ ได้แก่ Google Classroom , Google meet line Youtube Google drive เป็นต้น
เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจาก Google drive
การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูลเพื่อสำรวจความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ของนักเรียน ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
วิธีดำเนินการวิจัย
1.สร้างกลุ่มไลน์นักเรียนทั้งหมด 113 คน
2. สร้างห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom
3. ผู้วิจัยใส่เนื้อหาบทเรียน นัดเวลาสอนออนไลน์ และมอบหมายงาน
4. สำรวจความพึงพอใจ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียน ได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความรู้ความสามารถ ทักษะการ ประกอบอาชีพ และความมั่นคงในการดำรงชีวิตผ่านระบบออนไลน์
2. เสริมสร้างศักยภาพให้กับนักเรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. เพื่อจัดกิจกรรมให้นักเรียนเตรียมทหารได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้ฝึกปฏิบัติให้คิด เป็น ทำเป็น ปลูกฝังคุณธรรมทุกสาขาวิชา
4. เพื่อให้นักเรียน เป็นคนดีเป็นคนเก่ง และมีความสุขอย่างแท้จริง ทั้งนี้เพื่อ เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีการพัฒนาและการเรียนรู้ที่ สูงยิ่งขึ้น
ผลการวิจัย
ตารางที่ 1 ตารางการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการเรียนออนไลน์วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประศึกษาปีที่ 5
N=43
รายการความพึงพอใจ ค่า S.D. ค่าเฉลี่ย ระดับความพึงพอใจ
1. ด้านตัวผู้สอน (บุคลิกภาพ ความเอาใจใส่ เทคนิคต่างๆ ) 0.76 4.40 มาก
2. ค้านความเหมาะสมของเนื้อหาที่นำมาใช้ในการสอนออนไลน์ 0.78 4.23 มาก
3. ด้านการออกแบบสื่อการเรียนการสอน 0.91 4.14 มาก
4. ด้านการวัดผลและประเมินผล /การตรวจงาน 1.00 4.12 มาก
รวม 0.86 4.22 มาก
จากตารางที่ พบว่าความพึงพอใจต่อการเรียนออนไลน์วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมเฉลี่ย 4.22 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้อจัดอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ได้แก่ ด้านตัวผู้สอน (บุคลิกภาพ ความเอาใจใส่ เทคนิคต่างๆ ) มีค่าเฉลี่ย = 4.40 ค่า S.D = 0.46 ค้านความเหมาะสมของเนื้อหาที่นำมาใช้ในการสอนออนไลน์ มีค่าเฉลี่ย = 4.23 ค่า S.D = 0.78 ด้านการออกแบบสื่อการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย = 4.14 ค่า S.D = 0.91 และ ด้านการวัดผลและประเมินผล /การตรวจงาน มีค่าเฉลี่ย = 4.12 ค่า S.D = 1.00 ตามลำดับ
ตารางที่ 2 ตารางแสดงข้อเสนอแนะหรือข้อแนะนำที่มีต่อการเรียนออนไลน์วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประศึกษาปีที่ 5
ข้อเสนอแนะหรือข้อแนะนำ
1. อยากให้วิชาอื่นๆทำแบบนี้บ้าง
2. สู้ๆครับครู
3. สอนดีค่ะ
4. ชอบการเรียน
5. รบกวนขอเป็นชีสงานได้ไหมค่ะ เพราะบางครั้งตามงานในไลน์ไม่ทันค่ะ ขอบคุณมากนะคะ
6. อยากให้ใช้วิธีสอนที่เข้าใจมากกว่านี้
7. อยากเน็ตคุณครูเสถียร
8. ให้งานน้อย
9. คูณครูสอนเข้าใจมากคะ
10. ขอไปเรียนดีกว่าจะเข้ากว่าเรียนออนไลน์
11. ไม่มีโทรศัพท์เรียนออนไลน์
12. ขอบคุณ คุณครูครับ
13. ดีทุกอย่าง
14. ขอบคุณครูที่ดูแลเอาใจใส่การเรียนนักเรียน
จากตารางที่ 2 ข้อเสนอแนะหรือข้อแนะนำที่มีต่อการเรียนออนไลน์วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประศึกษาปีที่ 5 พบว่า
ด้านตัวผู้สอน (บุคลิกภาพ ความเอาใจใส่ เทคนิคต่างๆ ) มีผู้ให้ข้อเสนอแนะดังนี้ สู้ๆครับครู
สอนดีค่ะ คูณครูสอนเข้าใจมากคะ ยากให้ใช้วิธีสอนที่เข้าใจมากกว่านี้ ขอบคุณครูที่ดูแลเอาใจใส่การเรียนนักเรียน ดีทุกอย่าง ขอบคุณ คุณครูครับ
ค้านความเหมาะสมของเนื้อหาที่นำมาใช้ในการสอนออนไลน์ มีผู้ให้ข้อเสนอแนะดังนี้ ดีทุกอย่าง ชอบการเรียน
ด้านการออกแบบสื่อการเรียนการสอน มีผู้ให้ข้อเสนอแนะดังนี้ ขอไปเรียนดีกว่าจะเข้ากว่าเรียนออนไลน์ ดีทุกอย่าง ชอบการเรียน รบกวนขอเป็นชีสงานได้ไหมค่ะ เพราะบางครั้งตามงานในไลน์ไม่ทันค่ะ ขอบคุณมากนะคะ ไม่มีโทรศัพท์เรียนออนไลน์ อยากเน็ตคุณครูเสถียร
ด้านการวัดผลและประเมินผล /การตรวจงาน มีผู้ให้ข้อเสนอแนะดังนี้ ให้งานน้อย ชอบการเรียน รบกวนขอเป็นชีสงานได้ไหมค่ะ เพราะบางครั้งตามงานในไลน์ไม่ทันค่ะ
สรุปผลการวิจัย
สรุปผลการวิจัย จาการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีการเรียนการสอนออนไลน์วิชาวิทยาศาสตร์ ทั้ง 4 ด้าน โดยรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย การปรับปรุง พัฒนา และเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้สอนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนให้พร้อม จากที่ทำหน้าที่มอบทุกสิ่งทุกอย่างแก่ผู้เรียนมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก กระตุ้น และ ให้กำลังใจ ร่วมคิดร่วมเรียนไปพร้อมกับผู้เรียน สร้างบรรยากาศที่ดีด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ หลากหลาย การเตรียมการสอนเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ถ้าการเตรียมการสอนหรือการวาง แผนการสอนไม่มีประสิทธิภาพจะทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนล้มเหลว จึงต้องมีการ เสริมแรงทางบวกเพื่อ เปิดให้นักเรียนเตรียมทหารมีความสุข และสนุกกับการเรียนออนไลน์