ชื่อเรื่องวิจัย รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School )
โรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวดวงใจ สวดมนต์
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School ) โครงการโรงเรียนปลอดขยะ ( Zero Waste School ) โรงเรียนบ้านยางเหล่าสวนกล้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการจำนวน 4 ด้าน คือ 1) สร้างความตระหนักลดการเกิดขยะมูลฝอย 2) เสิรมสร้างความสะอาด 3) แยกกำจัดขยะอย่างสร้างสรรค์ 4) เพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบจำลองซิป (CIPP Model)
กลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลในการประเมินโครงการครั้งนี้ จำนวน 195 คน แบ่งออกเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนผู้รับผิดชอบกิจกรรม จำนวน 16 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครองจำนวน 83 คน และนักเรียนจำนวน 83 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบ่งเป็น 4 ชุด ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.6 ถึง 1.0 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายเป็นข้อ พบว่า โครงการสามารถแก้ปัญหาด้านขยะของโรงเรียนได้ มากที่สุด รองลงมาได้แก่วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับกิจกรรมในโครงการ และ โครงการมีองค์ประกอบครบถ้วนสมบูรณ์ ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาได้แก่ โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการ และวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ ตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายเป็นข้อ พบว่า นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กิจกรรมที่จัดขึ้นสามารถส่งเสริมการลดปริมาณขยะของโรงเรียนได้ และการประชาสัมพันธ์ชี้แจงโครงการให้ผู้มีส่วนร่วมโครงการทราบ ตามลำดับ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า โดยภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือสร้างความตระหนักลดการเกิดขยะมูลฝอย รองลงมา คือ ด้านเสริมสร้างความสะอาด ด้านเพิ่มพื้นที่สีเขียว และด้านแยกกำจัดขยะอย่างสร้างสรรค์ ตามลำดับ