ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนบ้านหน้าซึง
ชื่อผู้รายงาน นายยุทธเดช ไชยมงคล
ปีที่ดำเนินการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนบ้านหน้าซึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อประเมินบริบท (Context evaluation)ของโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนบ้านหน้าซึง 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า(input evaluation) ของโครงการสถานศึกษาพอเพียงโรงเรียนบ้านหน้าซึง 3) เพื่อประเมินกระบวนการ(Process Evaluation)ของโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนบ้านหน้าซึง 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation)ของโครงการสถานศึกษาพอเพียงโรงเรียนบ้านหน้าซึง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คน ครูผู้สอน จำนวน 5 คน ผู้เรียน จำนวน 32 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้น 74 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดย ประยุกต์ใช้ตามรูปแบบการประเมิน CIPPIEST Evaluation Model ของ Daniel L. Stufflebeam สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (Percentage ) ค่าเฉลี่ย (  ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผลการประเมิน
1. การประเมินด้านบริบทของโครงการ ครูผู้สอนมีความคิดเห็นในภาพรวมเกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างนโยบายด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมถึงนโยบายในระดับต่างๆกับวัตถุประสงค์ของโครงการกับในระดับที่มากที่สุด
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ครูผู้สอนมีความคิดเห็นในภาพรวมในระดับที่มาก
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการ ครูผู้สอนมีความคิดเห็นในภาพรวมในระดับที่มาก
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ นักเรียนมีความคิดเห็นในภาพรวมในระดับที่มาก
5. การประเมินด้านความพึงพอใจต่อผลผลิตของโครงการ ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นในภาพรวมในระดับที่มากที่สุด