ชื่อเรื่อง : การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก
การลบ การคูณ การหารจำนวนนับ โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล ร่วมกับขั้นตอน
การแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย : ปิยะรัตน์ ธันยณภพ
ตำแหน่ง : ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดบ้านจองคำ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ปีการศึกษา : 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหารจำนวนนับ โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล ร่วมกับขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร จำนวนนับ โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดลร่วมกับขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร จำนวนนับ โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดลร่วมกับขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณและการหารจำนวนนับ โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดลร่วมกับขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดบ้านจองคำสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 63 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร จำนวนนับ โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดลร่วมกับขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 เล่ม 2)แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร จำนวนนับ โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดลร่วมกับขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 แผน 23 ชั่วโมง 3)แบบทดสอบหลังฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร จำนวนนับ โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดลร่วมกับขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 แบบทดสอบ แบบทดสอบละ 10 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร จำนวนนับ โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดลร่วมกับขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 5) แบบสอบถามความความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร จำนวนนับ โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดลร่วมกับขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) ซึ่งมี 5 ระดับ ได้แก่ ความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ตามลำดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่นักเรียนทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนโดยใช้เกณฑ์ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยค่า t test และวิเคราะห์ระดับความความพึงพอใจโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1 แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล ร่วมกับขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหารจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80 โดยมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.58/84.96
2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล ร่วมกับขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหารจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล ร่วมกับขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหารจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.77, S.D. = 0.14)