ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านบกกราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาระนอง
ชื่อผู้วิจัย นางฐิติชญา คันธะเนตร
ปี พ.ศ. 2564
บทสรุปสําหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านบกกราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม(Context evaluation) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง 2.เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input evaluation)ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง 3. เพื่อประเมินกระบวนการ ( Process evaluation) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และ 4. เพื่อประเมินผลผลิต ( Product evaluation) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านบกกราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP model ของสตัฟเฟิลบีม คณะ(Stufflebeam and Other) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบกกราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง ปีการศึกษา 2563 ครู จํานวน 3 คน นักเรียน จํานวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย แบบสอบถามประเมินโครงการ 4 ด้าน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือ (Validity) ใช้สูตร IOC หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยการหาค่าความเชื่อมั่น แบบ Alpha Co-efficient ตามสูตรของครอนบัค Cronbach
ผลการประเมิน
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านบกกราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง ในครั้งนี้ ผู้วิจัยสรุปผลการประเมินโครงการตามลําดับวัตถุประสงค์ และนําเสนอผลของส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นความเป็นมาด้วย ดังนี้ 1) ผลการประเมินบริบทของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านบกกราย พบว่าโดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความชัดเจนของเป้าหมาย ความจำเป็น ความต้องการ และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ตามลำดับ 2) ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านบกกราย พบว่า โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความเหมาะสมของกิจกรรม ความพร้อมของสถานศึกษา และความเหมาะสมของงบประมาณ ตามลำดับ
3) ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านบกกราย พบว่า โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกตัวผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การวางแผน การดำเนินการ และการนิเทศติดตามและประเมินผล ตามลำดับ และ 4) ผลการประเมินผลผลิตของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านบกกราย ผลการประเมินเกี่ยวกับความรู้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคุณลักษณะอันพึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการดำเนินกิจกรรมทุกรายการของโครงการ ค่าเฉลี่ยมากที่สุด ให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในครอบครัวของตนเองได้ และนักเรียนเกิดการเรียนรู้และข้าใจหลักพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ข้อเสนอแนะ
จากผลการวิจัยการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านบกกราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง เพื่อให้โครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านบกกราย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้รับประโยชน์ร่วมกันในชุมชน จึงควรดําเนินการโครงการนี้ต่อไป และผู้เกี่ยวข้องควรนําผลการประเมินไปปรับปรุง และพัฒนาการดําเนินโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้นตามข้อเสนอแนะดังนี้
1 . ครูที่ปรึกษากิจกรรมต่าง ๆ ที่รับผิดชอบควรสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันที่ส่งผลต่อผู้เรียน
2. ด้านสภาวะแวดล้อมผู้บริหารควรมีการประสานกับชุมชนในพื้นที่หรือท้องถิ่นใกล้เคียงให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมมีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชนมากที่สุด
3. ด้านปัจจัยนำเข้า ควรส่งเสริมชุมชนได้เห็นประโยชน์และความสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ทั้งนี้เพื่อจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกระดับผู้นำชุมชน ผู้นำส่วนท้องถิ่นและองค์กรเอกชนเข้า มาช่วยเหลือ และสนับสนุนการดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ต่อเนื่อง จริงจัง และยั่งยืน
4. ด้านกระบวนการดำเนินงานควรมีการกำหนดวัน เวลา และระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมอย่างชัดเจน กำหนดรูปแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น และดำเนินกิจกรรมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
5. ด้านผลผลิตควรกำหนดกิจกรรมในโครงการให้มีความครอบคลุมเหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ
ของผู้เรียนแต่ละช่วงวัย เน้นการดำเนินกิจกรรมที่ต่อเนื่อง เพื่อให้นักเรียนมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มีจิตอาสาตาม อัตตลักษณ์ของโรงเรียนและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน หากโครงการได้ไม่เหมาะสมหรือพัฒนาต่อเนื่องไม่ได้ก็สามารถปรับเปลี่ยนใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน