บทคัดย่อ
รายงานผลการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการมีส่วนร่วม แบบไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนสัตตปทุมบำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้ ใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิป (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ในการประเมินโครงการ ซึ่งการประเมินโครงการมีรูปแบบการประเมินครบทุกกระบวนการ ครอบคลุมองค์ประกอบ และวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยมีองค์ประกอบทั้งหมด 4 ด้าน ประกอบด้วยด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ ด้านผลผลิต ( Product Evaluation) ของโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ จำนวน 45 คน ได้แก่ 1) ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนสัตตปทุมบำรุง จำนวน 6 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสัตตปทุมบำรุง ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษา และตัวแทนครู ในคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน 3) นักเรียนของโรงเรียนสัตตปทุมบำรุง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสัตตปทุมบำรุงในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมิน ประกอบด้วยแบบประเมิน จำนวน 5 ฉบับ แบบบันทึกผล 1 ฉบับ แบบตรวจสอบจำนวน 1 ฉบับ มีการหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบประเมินโดยการใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีของครอนบาค (Cronbachs alpha coefficient) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการมีส่วนร่วม แบบไทย
แลนด์ 4.0 ของโรงเรียนสัตตปทุมบำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านผลผลิต ( Product Evaluation) อยู่ในระดับดีมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ ด้านกระบวนการอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ตามความคิดเห็นของครูและ
บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก( μ = 4.33 , σ = 0.16 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) ตามความคิดเห็นของครูและ
บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( μ = 4.65 , σ = 0.18 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ตามความคิดเห็นของครูและ
บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก( μ = 4.40 , σ = 0.19 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต ( Product Evaluation) ของโครงการยก
ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการมีส่วนร่วม แบบไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนสัตตปทุมบำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวม พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด( μ = 4.68 , σ = 0.17 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผลการประเมินด้านผลผลิต มีดังนี้
5.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการตามความคิดเห็นของ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ผู้ปกครองในค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด( μ = 4.68 , σ = 0.18 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
5.2 ผลการประเมินความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโครงการ โดยมี
ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด( μ = 4.67 , σ = 0.16 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
5.3 ผลการทดสอบระดับชาติ (O NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563
และปีการศึกษา 2562 ในภาพรวมของโรงเรียน พบว่า ปีการศึกษา 2563 มีผลการทดสอบสูงกว่า ปีการศึกษา 2562 เท่ากับ 5.72 ผลการทดสอบระดับชาติ (O NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 พบว่า เมื่อเปรียบเทียบจากปีการศึกษา 2562 ในระดับกลุ่มสาระ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ทุกกลุ่มสาระ ยกเว้น กลุ่มสาระวิชาคณิตศาสตร์ ค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น เท่ากับ ร้อยละ 75 ของจำนวนกลุ่มสาระ โดยวิชาวิทยาศาสตร์ มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ 16.52 และสูงกว่าระดับประเทศ
5.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 กลุ่มสาระวิชาหลัก ได้แก่
ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม และวิชาภาษาต่างประเทศ(อังกฤษ) ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 พบว่ามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น คะแนนเพิ่มสูงขึ้นจากปีการศึกษา 2562 ในภาพรวมของโรงเรียน เท่ากับ 3.92 และเมื่อเปรียบเทียบจากร้อยละเฉลี่ย ของผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มสาระวิชาการเรียนรู้ ระดับ 3 ขึ้นไปพบว่า เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2562 เท่ากับ 23.67