ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนวัดราชสกุณา (ราษฎร์รังสฤษฏ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
ผู้รับผิดชอบ นางกมลพรรณ ญาณโกมุท
หน่วยงาน โรงเรียนวัดราชสกุณา (ราษฎร์รังสฤษฏ์)
ปีที่ประเมิน 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโรงเรียน ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนวัดราชสกุณา (ราษฎร์รังสฤษฏ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนวัดราชสกุณา (ราษฎร์รังสฤษฏ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนวัดราชสกุณา (ราษฎร์รังสฤษฏ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง และ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตจากการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนวัดราชสกุณา (ราษฎร์รังสฤษฏ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม กลุ่มประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ รวมทั้งหมด 171 คน ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 79 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 79 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโรงเรียนที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนวัดราชสกุณา (ราษฎร์รังสฤษฏ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (= 4.49,  = 0.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด 7 รายการ และระดับความคิดเห็นในระดับมาก 8 รายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน วัตถุประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสมและนำไปสู่การปฏิบัติได้ และสภาวะแวดล้อมของโรงเรียนมีความเหมาะสมเอื้อต่อการดำเนินงาน ( = 5.00,  = 0.00) รองลงมา คือ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ปกครองและชุมชน ให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ (= 4.85,  = 0.37) และวัตถุประสงค์ของโครงการ มีความชัดเจนสอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ( = 4.77,  = 0.43) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ โครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน (= 3.69,  = 0.94) มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนวัดราชสกุณา (ราษฎร์รังสฤษฏ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79,  = 0.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด 14 รายการ และความคิดเห็นในระดับมาก 1 รายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ครูได้รับการส่งเสริม อบรม เกี่ยวกับการดำเนินงาน ผู้ปกครอง และชุมชนให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม และสถานที่จัดกิจกรรม มีความปลอดภัยและสามารถใช้จัดกิจกรรมได้เป็นอย่างดี ( = 5.00,  = 0.00) รองลงมา ได้แก่ ครูมีจำนวนเพียงพอต่อการดำเนินงาน สื่อการเรียนรู้ วัสดุอุปกรณ์มีเพียงพอและอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี มีเอกสารคู่มือ หนังสือ และวารสารต่างๆ เกี่ยวกับโครงการ มีงบประมาณที่จัดสรรสนับสนุนโครงการอย่างเพียงพอเหมาะสม และโรงเรียนกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน ( = 4.85,  = 0.37) และโรงเรียนมีการแต่งตั้งครูรับผิดชอบโครงการที่ชัดเจน ครูมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินโครงการ มีการเบิกจ่ายงบประมาณตรงตามวัตถุประสงค์ และระบบการบริหารงานภายในโรงเรียนมีส่วนสนับสนุนและส่งเสริมในการดำเนินกิจกรรม ( = 4.77,  = 0.43) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ ระยะเวลาการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม ( = 4.38,  = 0.56) มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนวัดราชสกุณา (ราษฎร์รังสฤษฏ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ตามการปฏิบัติของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน โดยภาพรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.82, . = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับการปฏิบัติในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ จัดทำสื่อการสอน เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้การจัดกิจกรรม ( = 5.00,  = 0.00) รองลงมา คือ แต่งตั้งคณะกรรมการ กำหนดบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมให้ดียิ่งขึ้น ( = 4.97,  = 0.17) และกำหนดขั้นตอนวิธีการดำเนินโครงการอย่างชัดเจน ( = 4.89,  = 0.37) ส่วนรายการที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือ ประชุมชี้แจง สื่อสาร ประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจ ( = 4.54,  = 0.71) มีระดับการปฏิบัติในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตจากการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนวัดราชสกุณา (ราษฎร์รังสฤษฏ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน พบว่า
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ต่อการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนวัดราชสกุณา (ราษฎร์รังสฤษฏ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง หลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.77,  = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ กิจกรรมมีความหลากหลาย น่าสนใจ และเหมาะสมกับนักเรียน ( = 4.96,  = 0.18) รองลงมา คือ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรมมีความทันสมัย ( = 4.88,  = 0.32) และโครงการสามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีความตระหนักเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม (= 4.85,  = 0.47) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ บรรยากาศ สภาพแวดล้อม สะอาดและปลอดภัย ( = 4.58,  = 0.66) มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนวัดราชสกุณา (ราษฎร์รังสฤษฏ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง หลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76,  = 0.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ นักเรียนใช้เหตุผลในการตัดสินใจ อย่างรอบคอบ คิดก่อนลงมือทำ ( = 5.00,  = 0.00) รองลงมา คือ นักเรียนมีน้ำใจและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น ( = 4.98,  = 0.15) และนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมไหว้พระ สวดมนต์แผ่เมตตา และ นั่งสมาธิ ( = 4.96,  = 0.18) ส่วนรายการที่มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด คือ นักเรียน เข้าร่วมกิจกรรมโพธิสัตย์น้อย ( = 4.53,  = 0.54) มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด