ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง

บทคัดย่อ

ชื่อวิจัย: รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้

สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง

เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย: นางสาวเอมอร ช่วงโชติ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

หน่วยงาน: โรงเรียนบางคูลัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรีสังกัดกองการศึกษา ศาสนา

และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี

ปีที่วิจัย: 2563-2564

รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ ของการวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและพัฒนาหรือสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ (3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียoชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 44 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบางคูลัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ได้จากการสุ่ม ตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลากจากกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 9 ชนิด คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 22 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (2) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์วิชาคณิตศาสตร์ ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 หน่วย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด(3) หนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์วิชาคณิตศาสตร์ ชุด นักคณิตศาสตร์น้อย เมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 เล่ม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (4) ชุดฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 ชุด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (5) วีดิทัศน์ (Youtube) ประกอบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัด ความยาวการชั่งและการตวง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 หน่วย ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.96 มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.43 ถึง 0.77 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.60 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.825 (7) แบบทดสอบวัดความสามารถ การแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.94 มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.45 ถึง 0.80 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.75 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.970 (8) แบบประเมินทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบรูบิกส์สกอร์ (Rubrics Score) 5 รายการ 4 ระดับ จำนวน 20 คะแนน มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.95 และ (9) แบบสอบถามวัดความพึงพอของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.94 มีค่าอำนาจจำแนก รายข้อระหว่าง 0.55 ถึง 0.92 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล (E.I) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าซี (Z-test)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและพัฒนาหรือสร้างรูปแบบ (R1,D2)

1.1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน (R1)

1) สภาพปัจจุบันครูมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์ สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับปานกลาง

2) ความต้องการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางคูลัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 5 คน มีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

1.2 การพัฒนารูปแบบ (D2)

1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งปรากฏรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ที่ผู้วิจัย ได้พัฒนาขึ้น จำนวน 7 ขั้น ดังนี้

(1) ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ (Prompt Learning : P ) หมายถึง การเตรียมความพร้อมก่อนนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเองหรืออาจเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เพื่อสร้างความพอใจ ความสนใจ และแรงจูงใจของผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนรู้

(2) ขั้นที่ 2 ขั้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning : A) หมายถึง การจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructivism ที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่จากการมีปฏิบัติสัมพันธ์และเชื่อมโยงจากความรู้เดิมด้วยตนเองจากการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง โดยใช้กิจกรรม ได้แก่ 1) การอภิปรายในชั้นเรียน, 2) การอภิปรายกลุ่มย่อย, 3) กิจกรรม “คิด-จับคู่-แลกเปลี่ยน”, 4) เซลการเรียนรู้, 5) การฝึกเขียนข้อความสั้นๆ, 6) การโต้วาที, 7) บทบาทสมมุติ, 8) การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์, 9) การเรียนแบบกลุ่มร่วมแรงร่วมใจ, 10) ปฏิกิริยาจากการชมวิดิทัศน์, 11) เกมในชั้นเรียน, 12) แกลเลอรี่ วอล์ค, 13) การเรียนรู้โดยการสอน และ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยเลือกใช้เพียง 1-2 กิจกรรมในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้

(3) ขั้นที่ 3 ขั้นก่อนการจัดการเรียนรู้ (Pre Learining : P) เป็นขั้นตอนก่อนการจัดการเรียนรู้ สร้างความพอใจ และแรงจูงใจของผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนรู้ (ให้นักเรียนดูวิดิทัศน์ประกอบการเรียน) บอกส่วนที่เรียนรู้ด้วย ว่าหน้าไหน ตอนไหน

(4) ขั้นที่ 4 ขั้นการจัดการเรียนรู้ (Learning : L) เป็นขั้นการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะทั้งทางด้านความรู้ (K) ด้านทักษะกระบวนการ (P) และคุณลักษณะอันพึงสงค์ (A) ที่ผสมผสานเนื้อหา การแก้โจทย์ปัญหา และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในทุกหัวข้อและเนื้อหาการเรียนรู้ โดยมีการจัด การเรียนรู้แบบที่เน้นประสบการรณตรง (ให้นักเรียนด้วยชุดฝึกทักษะ) บอกส่วนที่เรียนรู้ด้วย ว่าหน้าไหน ตอนไหน

(5) ขั้นที่ 5 ขั้นสนุกกับการเรียนรู้ (Enjoy Learining) เป็นขั้นการร่วมเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ผ่านกิจกรรม สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ โดยเน้นการใช้กลวิธีการจัดการเรียนรู้แบบเพลิน (ใช้หนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์)บอกส่วนที่เรียนรู้ด้วย ว่าหน้าไหน ตอนไหน

(6) ขั้นที่ 6 ขั้นถามตอบเพื่อความเข้าใจในการเรียนรู้ (Ask Learning) เป็นขั้นการถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจจากการเรียนรู้ ให้ครูและนักเรียนตั้งคำถาม ถามตอบเรื่องที่ตัวเองอยากรู้ และสงสัย

(7) ขั้นที่ 7 ขั้นการตอบสนองการเรียนรู้ (Response Learning) เป็นขั้นการตอบสนองการเรียนรู้โดยการอภิปราย และการนำเสนอรายงานเพื่อแสดงความคิดเห็น รวมถึงการแสดงบทบาทสมมุติในสถานการณ์จำลอง หรือสถานการณ์จริง

(8) ขั้นที่ 8 ขั้นสังเกตและชี้แนะจากการเรียนรู้ (Notice Learning) เป็นขั้นการให้ข้อสังเกตหรือการชี้แนะอย่างสร้างสรรค์หลังได้รับความรู้ หลังจากนั้นจึงศึกษาผลการใช้ประบวนการจัดการเรียนรู้แบบเพลิน (ใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์) และสรุปผล บอกส่วนที่เรียนรู้ด้วย ว่าหน้าไหน ตอนไหน

2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.69/80.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80

3) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คือ ปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยืดหยุ่นระยะเวลาในการเรียน ให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม และเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องบริหารเวลาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนตามความยาวของเนื้อหา

2. ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D2)

2.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.2 ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาว การชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7056 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7056 หรือคิดเป็นร้อยละ 70.56

3. ระยะที่ 3 ประเมินผลรูปแบบ (Evaluation Research: R2)

นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.66)

โพสต์โดย คุณครูเอมอร โรงเรียนบางคูลัด : [15 ก.ย. 2564 เวลา 04:05 น.]
อ่าน [3101] ไอพี : 183.89.151.85
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 15,087 ครั้ง
เคล็ดลับ!! เติมพลังใจคนวัยทำงาน
เคล็ดลับ!! เติมพลังใจคนวัยทำงาน

เปิดอ่าน 67,499 ครั้ง
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560

เปิดอ่าน 11,351 ครั้ง
ตำนาน ชา
ตำนาน ชา

เปิดอ่าน 17,506 ครั้ง
กฏ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการครูฯออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ
กฏ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการครูฯออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ

เปิดอ่าน 10,135 ครั้ง
การดูแลสุขภาพหน้าฝน ทำได้ง่ายๆ
การดูแลสุขภาพหน้าฝน ทำได้ง่ายๆ

เปิดอ่าน 59,720 ครั้ง
ระเบียบ เบิกค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการ 50
ระเบียบ เบิกค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการ 50

เปิดอ่าน 10,790 ครั้ง
วิธีแต่งบ้านคลายร้อน
วิธีแต่งบ้านคลายร้อน

เปิดอ่าน 13,089 ครั้ง
ตูนส์ศึกษา "นโยบายไปทาง..ปฏิบัติไปทาง..สุดท้ายปฏิวัติเสียของ"
ตูนส์ศึกษา "นโยบายไปทาง..ปฏิบัติไปทาง..สุดท้ายปฏิวัติเสียของ"

เปิดอ่าน 19,408 ครั้ง
การสะเดาะห์เคราะห์ด้วยการปล่อยปลา
การสะเดาะห์เคราะห์ด้วยการปล่อยปลา

เปิดอ่าน 31,200 ครั้ง
สพฐ.เผยแพร่หน่วยการเรียนรู้ Active Learning ที่ได้รับรางวัลเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับครูในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
สพฐ.เผยแพร่หน่วยการเรียนรู้ Active Learning ที่ได้รับรางวัลเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับครูในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้

เปิดอ่าน 12,872 ครั้ง
วิเคราะห์จุดอ่อน-แข็ง การถ่ายโอนการศึกษา : เพื่อหาความเป็นไปได้
วิเคราะห์จุดอ่อน-แข็ง การถ่ายโอนการศึกษา : เพื่อหาความเป็นไปได้

เปิดอ่าน 143,947 ครั้ง
8 โรคห้ามรับราชการ
8 โรคห้ามรับราชการ

เปิดอ่าน 14,615 ครั้ง
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายที่อย่ามองข้าม
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายที่อย่ามองข้าม

เปิดอ่าน 10,947 ครั้ง
"หมอช้าง" แนะวิธีไหว้เจ้าให้เฮงๆ พร้อมข้อห้ามในวันตรุษจีน
"หมอช้าง" แนะวิธีไหว้เจ้าให้เฮงๆ พร้อมข้อห้ามในวันตรุษจีน

เปิดอ่าน 22,501 ครั้ง
ไข้เลือดออก ฉบับการ์ตูนเข้าใจง่าย สไตล์หมอหมึกดุ๋ย
ไข้เลือดออก ฉบับการ์ตูนเข้าใจง่าย สไตล์หมอหมึกดุ๋ย

เปิดอ่าน 22,332 ครั้ง
"ย่านาง" ตำรับยาแก้ไข้ สมุนไพรอายุวัฒนะ
"ย่านาง" ตำรับยาแก้ไข้ สมุนไพรอายุวัฒนะ
เปิดอ่าน 42,149 ครั้ง
รายชื่อหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2561
รายชื่อหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2561
เปิดอ่าน 4,049 ครั้ง
ที่มาของทฤษฏีพีทาโกรัส
ที่มาของทฤษฏีพีทาโกรัส
เปิดอ่าน 33,857 ครั้ง
การประเมินวิทยฐานะช่วงเปลี่ยนผ่านจากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA (ผู้บริหารการศึกษา)
การประเมินวิทยฐานะช่วงเปลี่ยนผ่านจากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA (ผู้บริหารการศึกษา)
เปิดอ่าน 11,416 ครั้ง
คอมพิวเตอร์ วิชั่น-ออฟฟิศ ซินโดรม โรคฮิตของคนเมืองทางแก้เริ่มที่ตัวเอง
คอมพิวเตอร์ วิชั่น-ออฟฟิศ ซินโดรม โรคฮิตของคนเมืองทางแก้เริ่มที่ตัวเอง

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ