การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาผลการนำไปใช้ของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิจัย (Research R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis: A) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสําหรับการพัฒนารูปแบบ ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development: D & D) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบ ระยะที่ 3 การวิจัย (Research: R2) เป็นการนําไปใช้ (Implementation: I) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ ระยะที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เป็นการประเมินผล (Evaluation: E) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้รูปแบบ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1)แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันการจัดการเรียนการสอน 3) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 6) แบบสอบถามเจตคติ และ 7) แบบประเมินและรับรองรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบที (t-test dependent)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. หลักการสำคัญในการจัดการเรียนการสอน คือ จะต้องให้ภาพรวมเกี่ยวกับสาระความรู้นั้นเสียก่อน โดยจะต้องนำเสนอในลักษณะที่สัมพันธ์กับประสบการณ์ของผู้เรียน เหมาะสมกับวัย และพัฒนาการของผู้เรียน รวมทั้งต้องมีการสรุปอันเป็นการสร้างความเข้าใจ ความคิด รวบยอดของสาระการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนที่ควรปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนที่ครูปฏิบัติจริง อยู่ในระดับปานกลาง
2. รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน และประเมินผล โดยมีกระบวนการเรียนการสอน คือ 1) ขั้นเตรียม 2) ขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ 2.1) ขั้นกำหนดปัญหา (P) 2.2) ขั้นวิเคราะห์ทำความเข้าใจกับปัญหา (A) 2.3) ขั้นศึกษาปัญหาและตั้งสมมุติฐาน (F) 2.4) ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (I) 2.5) ขั้นสังเคราะห์ความรู้ (S) 2.6) ขั้นการนำเสนอ (P) 2.7) ประเมินผลงานและแก้ปัญหา (E) และ 3) ขั้นการประมวลผล
3. ผลการนำไปใช้ของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปรากฏผล ดังนี้
3.1 รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 87.90/83.33 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3.2 รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7460 หรือมีค่าความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 74.60 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม ของนักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.4 ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.5 เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบ การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
4. การประเมินและรับรองรูปแบบ ผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบและมีความเห็นสอดคล้องกันว่ารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด