หัวข้อวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้โจทย์ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางจันทมณี แพรน้อย
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการจัด การเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบ การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2.1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะ การแก้โจทย์ปัญหาก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 2.2) เพื่อเปรียบเทียบความ คิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยกำหนดรูปแบบการทดลอง หนึ่งกลุ่ม ทดสอบก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/6 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 32 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม (Simple Unit) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบทักษะ การแก้โจทย์ปัญหา แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรรค์ทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีชื่อว่า 5E2P Model ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ตรวจสอบความเข้าใจ (Exploration Phase) ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหาและทำความเข้าใจกับปัญหา (Exploration Phase and Understanding the challenge) ขั้นที่ 3 อธิบายแนวคิดที่หลากหลายในการแก้ปัญหา (Explanation Phase and Generating idea) ขั้นที่ 4 เตรียมการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ(Preparing for action and Explanation Phase) ขั้นที่ 5 วางแผนแล้วปฎิบัติตามแนวคิดและขยายความรู้ (Plan Your Approach and Expansion Phase) ขั้นที่ 6 ปรับแก้ไขความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและเพิ่มพูนความรู้ใหม่และประเมินผล (Enrichment and Evaluation and Verification) ขั้นที่ 7 นำความรู้ไปใช้ (Extension Phase) โดยที่ผลการทดสอบค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ได้ E1/E2 เท่ากับ 76.68/79.06 ตามเกณฑ์ 75/75
2. หลังการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนพบว่า ผู้เรียนมีทักษะการแก้โจทย์ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก
4. ผลการขยายผล พบว่า หลักการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนพบว่า ผู้วิจัยมีผู้เรียน มีทักษะการแก้โจทย์ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนตามรูปแบบการเรียน การสอนคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01