บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)ประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา 2) ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสม/เพียงพอของกิจกรรมย่อย เกี่ยวกับวิทยากร บุคลากร งบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของฝ่ายบริหาร ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชน
3) ประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการฝึกอบรมลูกเสือมัคคุเทศก์ เกี่ยวกับความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิทินการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ ขั้นตอน จุดเด่น จุดด้อย การนิเทศติดตามผลและสิ่งที่ต้องแก้ไขในการดำเนินงาน 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการฝึกอบรมลูกเสือมัคคุเทศก์ เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักศึกษาที่เกิดจากการพัฒนาตามหลักหลักสูตรลูกเสือมัคคุเทศก์ คือ ความรับผิดชอบ ความมีวินัย ความเสียสละ ความสามัคคี ความประหยัด การพึ่งตนเอง ความขยันหมั่นเพียรและมีความรู้ความเข้าใจแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ในพัฒนาการ 4 ด้าน คือ พัฒนาการทางกาย ด้านพัฒนาการทางสังคม พัฒนาการทางจิตและพัฒนาการด้านปัญญา 5)ประเมินผลกระทบของโครงการฝึกอบรมลูกเสือมัคคุเทศก์ที่มีต่อสถานศึกษา ผู้บริหาร คณะครูและนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสำโรงทาบ เช่น ความมีระเบียบวินัยของนักศึกษา ความมีจิตอาสา นักศึกษามีความเสียสละ มีการลด ละ เลิกอบายมุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บ้าน วัด สถานศึกษา มีการร่วมมือที่ดีขึ้น ชุมชนมีความไว้วางใจในการจัดการศึกษาของสถานศึกษามากขึ้น โดยการใช้แบบสอบถามทั้งหมด 5 ด้านในการประเมิน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ วิทยากร จำนวน 1 คน ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน ครูที่รับผิดชอบกิจกรรมย่อยในโครงการ จำนวน 4 คน ครูประจำหมู่ลูกเสือ จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักศึกษา จำนวน 20 คน และ นักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสำโรงทาบ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการโครงการลูกเสือมัคคุเทศก์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสำโรงทาบ ตามความคิดเห็นของ วิทยากร ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมย่อยในโครงการ และครูประหมู่ลูกเสือ พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าด้านความเหมาะสมและพอเพียงเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ และการบริหารจัดการตามความคิดเห็นของ วิทยากร ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมย่อยในโครงการ และครูประหมู่ลูกเสือพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินประสิทธิภาพกระบวนการดำเนินงานตามโครงการลูกเสือมัคคุเทศก์ ตามความคิดเห็นบุคลากรภายในสถานศึกษา ได้แก่ วิทยากร ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมย่อยในโครงการ และครูประจำหมู่ลูกเสือ ในด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตร และด้านกิจกรรมพื้นฐานตามแนววิถีพุทธ พบว่า มีประสิทธิภาพกระบวนการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ ผลผลิตจากการดำเนินงานตามโครงการฝึกอบรมลูกเสือมัคคุเทศก์ด้านพัฒนาการ ทางกาย ด้านพัฒนาการทางสังคม ด้านพัฒนาการทางจิต และด้านปัญญา พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
5. ผลกระทบของโครงการจากการดำเนินงานโครงการฝึกอบรมลูกเสือมัคคุเทศก์ต่อ
ผู้ปกครอง ชุมชม ( บ้าน ) วัด สถานศึกษา พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะการประเมิน
1. โครงการฝึกอบรมลูกเสือมัคคุเทศก์ เป็นโครงการที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา สถานศึกษาควรนำจุดเด่นหรือความสำเร็จของการดำเนินงานไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการและรักษามาตรฐานการปฏิบัติของโครงการไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักศึกษาให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมและประเทศชาติต่อไป
2. ผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดโครงการฝึกอบรมลูกเสือมัคคุเทศก์ ควรสนับสนุนให้ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง และชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมลูกเสือมัคคุเทศก์ให้เกิดขึ้นใน ชุมชน เพื่อให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วม และมีกระบวนการพัฒนากิจกรรมลูกเสือที่ต่อเนื่องและอยู่ในวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชนทุกคน
3. รายงานผลการปฏิบัติตามโครงการฝึกอบรมลูกเสือมัคคุเทศก์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสำโรงทาบนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารสถานศึกษานำไปประยุกต์ใช้กับการรายงานผลการปฏิบัติงานตามโครงการที่มีลักษณะคล้ายกัน