ชื่อ การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (PEPSA Model)
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวอุไร พุ่มพวง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดสมอราย)
ปีที่ศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดังต่อไปนี้ (1) ศึกษาพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาไทย (2) เปรียบเทียบความสามารในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนภาษไทยโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาไทย (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาไทย 3) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดสมอราย) จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดสมอราย) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการสอนภาษาไทย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนโดยรูปแบบการสอนภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่อิสระและแบบอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีชื่อว่า PEPSA Model ในการนำรูปแบบการสอนภาษาไทย
ไปใช้มีขั้นตอนกระบวนการเรียนการสอน ดังนี้ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparation : P)
2) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Engagement : E) 3) ขั้นฝึกปฏิบัติ (Practice : P) 4) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing : S) 5) ขั้นนำไปใช้ (Application : A) โดยรูปแบบการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (PEPSA Model) ที่พัฒนาขึ้นมานี้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.08/81.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2. หลังการเรียนด้วยรูปแบบการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนภาษาไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5. ผลการขยายผล พบว่า หลังการเรียนด้วยรูปแบบการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
6. ผลการทดลองยัง พบว่า หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (PEPSA Model) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มขยายผลมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับดีเยี่ยม และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05