บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฏีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถทางทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถทางทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถด้านทักษะปฏิบัติของกีฬาฟุตซอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความรู้ ความสามารถทางทักษะกีฬาฟุตซอล ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถทางทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนเทศบาล ๑ ตลาดบางลี่ (พานิชอุทิศ) สังกัดเทศบาลเมืองสองพี่น้อง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถทางทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือครูผู้สอน คู่มือสำหรับนักเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ความรู้ความเข้าใจ) และแบบทดสอบวัดทักษะปฏิบัติกีฬาฟุตซอล (ด้านความสามารถทางทักษะกีฬาฟุตซอล) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักเรียน ครูและผู้เกี่ยวข้อง มีความคิดเห็นว่าการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถทางทักษะกีฬาฟุตซอล โดยเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การสร้างความรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กิจกรรมกลุ่ม เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน จากแบบฝึก ใบความรู้ ใบกิจกรรม รูปภาพ เกมส์ วีดีทัศน์ มีการวัดผลโดยการทดสอบและประเมินผลจากการปฏิบัติ และแผนผังความคิด
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า“รูปแบบการเรียนการสอน PARCSE Model”โดยมีองค์ประกอบด้งนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระหลัก สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนองและสิ่งสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมและกระตุ้นจูงใจในการเรียน (Preparing and Motivating:P) 2) ขั้นเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ (LearningandAction:A) 3) ขั้นสะท้อนความรู้ (Reflection Knowledge:R) 4) ขั้นสร้างความรู้ (Construction:C) 5) ขั้นสรุป (Summarizing:S) และ6) ขั้นประเมินผล (Evaluating:E) และรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฏีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความรู้ ความสามารถทางทักษะกีฬาฟุตซอล มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.91/83.96 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ความสามารถในการสร้างความรู้ของนักเรียน ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฏีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถทางทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา ด้านความรู้ ความสามารถทางทักษะปฏิบัติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความรู้ ความสามารถทางทักษะปฏิบัติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถทางทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เพราะนักเรียนเรียนรู้จากการสร้างความรู้และการปฏิบัติด้วยตนเองและร่วมกันเรียนรู้กับผู้อื่น มีปฏิสัมพันธ์และแสงหาข้อมูลจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ครูเรียงเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม และสรุปความรู้เชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้