ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุในชีวิตประจำวันชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

รายงานการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจาวัน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

โสภนา ฤทธิ์คง

ตาแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชานาญการ

โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดอ้อมใหญ่ (นครราษฎร์วิทยาคาร)

สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตาบลอ้อมใหญ่

อาเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

2

ชื่องานศึกษา รายงานการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจา วัน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5

ชื่อผู้รายงาน นางโสภนา ฤทธ์ิคง ตา แหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชา นาญการ

ปีที่พิมพ์ 2560

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรม

วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจา วัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5

2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรี ยนก่อนเรียนและหลังเรียนชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

เรื่อง วัสดุในชีวิตประจา วัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 และ 3) เพื่อ

ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจา วัน กลุ่ม

สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดอ้อมใหญ่ (นครราษฎร์วิทยาคาร) อา เภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จานวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

เรื่อง วัสดุในชีวิตประจาวัน กลุ่มสาระการเรี ยนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 2)

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง

วัสดุในชีวิตประจาวัน กลุ่มสาระการเรี ยนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 และ 3)

แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุใน

ชีวิตประจา วัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 สถิติที่นา มาใช้วิเคราะห์

ข้อมูล ได้แก่ E1/E2 ค่าที (t-test) ค่าเฉลี่ย ( X ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการรายงานพบว่า

1. ผลการหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจา วัน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 พบว่า มีประสิทธิภาพ ( E1/E2 )

มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กา หนดไว้คือ 83.98/82.70

2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนชุดกิจกรรม

วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจา วัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5

พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

เรื่อง วัสดุในชีวิตประจา วัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 พบว่า

โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.65, S.D. = 0.58)

3

กิตติกรรมประกาศ

รายงานการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีด้วยความกรุณาอย่างดียิ่ง จากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน คือ 1. อ.ดร.สำเริง อ่อนสัมพันธุ์ ตำแหน่งอาจารย์ ดร. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2. นางมารศรี เหล่าบุญชัย ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ (ผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติและงานวิจัย) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 3. ว่าที่ร้อยตรีทวีศักดิ์ สาแก้ว ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ (ผู้เชี่ยวชาญด้านงานวัดผลและงานวิจัย) โรงเรียนอนุบาลเทศบาลนครนครปฐม 4. นายสุชาติ เหลาโชติ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ (ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผลและประเมินผล) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครนครปฐม 5. นางจินตนา คล่องแคล่ว ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล 5 วัดพระปฐมเจดีย์ ซึ่งได้ให้คำแนะนำ ปรึกษา ตรวจแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ด้วยความเอาใจใส่และส่งเสริมให้กำลังใจด้วยดีตลอดมา ทำให้ผลงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น ผู้รายงานซาบซึ้งในความกรุณาเป็นอย่างยิ่ง จึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้

ขอขอบคุณ นางสาวสุพานี ชื่นชิต รองผู้อำนวยการสถานศึกษา รักษาราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 2 วัดอ้อมใหญ่ (นครราษฎร์วิทยาคาร) คณะครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดอ้อมใหญ่ (นครราษฎร์วิทยาคาร) สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำลอ้อมใหญ่ ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ อำนวยความสะดวกและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทดลองใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

ขอกราบขอบพระคุณบิดามารดา ซึ่งเป็นผู้วางรากฐานทางการศึกษาและทุกท่านที่อยู่ เคียงข้างคอยเป็นกำลังใจและสนับสนุนผู้รายงานให้ประสบความสำเร็จ หากความดีหรือประโยชน์อันพึงมีจากการศึกษาในครั้งนี้ ผู้รายงานขอมอบและอุทิศแด่ผู้มีพระคุณทุกท่าน

โสภนา ฤทธิ์คง

4

สารบัญ

บทคัดย่อ.....................................................................................................................

กิตติกรรมประกาศ......................................................................................................

สารบัญ ......................................................................................................................

สารบัญตาราง.............................................................................................................

สารบัญภาพ................................................................................................................

บทที่

หน้า

1 บทนำ....................................................................................................................

1

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา..............................................................

1

วัตถุประสงค์ของการรายงาน...............................................................................

5

สมมติฐานของการรายงาน...................................................................................

5

ขอบเขตของการรายงาน......................................................................................

5

นิยามศัพท์เฉพาะ.................................................................................................

7

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ..................................................................................

8

2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง............................................................................

10

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์........................................................................................................

11

ชุดกิจกรรม..........................................................................................................

17

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง.................................................................................................

32

วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้.............................................................................

35

การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์.................................................................

49

ความพึงพอใจ......................................................................................................

61

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง..............................................................................................

66

3 วิธีดำเนินการศึกษา...............................................................................................

72

ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 5....................................................................................................................

72

ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5...................................

88

5

สารบัญ (ต่อ)

หน้า

4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล..........................................................................................

94

ผลการสร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5...................................

94

ผลการหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5...................................

97

ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน

ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5..................................................................

97

ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 5....................................................................................................................

98

5 สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ.................................................

101

สรุปผล.................................................................................................................

101

อภิปรายผล..........................................................................................................

102

ข้อเสนอแนะ........................................................................................................

106

บรรณานุกรม..............................................................................................................

117

ภาคผนวก...................................................................................................................

127

ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญในการตรวจเครื่องมือการศึกษา..........................

129

ภาคผนวก ข การออกแบบและแบบประเมินชุดกิจกรรมการเรียนรู้.....................

135

ภาคผนวก ค แบบประเมินชุดกิจกรรมการเรียนรู้.................................................

139

ภาคผนวก ง ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้.........................................................

144

ภาคผนวก จ การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5....................................................................

151

ภาคผนวก ฉ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน

ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระ

การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.........................

161

ภาคผนวก ช แบบสอบถามความพึงพอใจ............................................................

195

6

ภาคผนวก ซ หนังสือตอบรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ...............................

210

ประวัติย่อผู้รายงาน.....................................................................................................

241

7

สารบัญตาราง

ตารางที่

หน้า

2.1 แสดงหน้าที่ของครูและนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้.........

43

2.2 แสดงบทบาทของนักเรียนในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ของ BSCS.........

45

2.3 แสดงบทบาทของครูในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ของ BSCS..................

47

3.1 แสดงเนื้อหาและเวลาที่ใช้สอนในการสร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์................

74

3.2 แสดงคะแนนจากการวัดประเมินผลในชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5........................................

75

3.3 แสดงกำหนดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5................................

91

3.4 วิธีการคำนวณค่า Lilliefors Test.................................................................

93

4.1 แสดงผลการพิจารณาความสอดคล้อง และความเหมาะสมของชุดกิจกรรม

วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5......................................................................................

95

4.2 แสดงผลการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 21 คน.....

97

4.3 แสดงการแจกแจงประชากรว่ามีการแจกแจงแบบปกติ...................................

97

4.4 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ชุดกิจกรรม

วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 21 คน.........................................................

98

4.5 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ชุดกิจกรรม

วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 21 คน..........................................................

98

8

สารบัญภาพ

ภาพที่

หน้า

3.1 รูปแบบการศึกษา..............................................................................................

89

9

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญและเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้นในสังคมปัจจุบัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม ของชาติอย่างมากมายและรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากอิทธิพลของ ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสื่อสาร โทรคมนาคม อินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีสารสนเทศ จะเห็นได้ว่าวิทยาศาสตร์มีบทบาทที่สำคัญต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นอย่างมาก และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อทันต่อสังคมโลกในปัจจุบันซึ่งหลีกเลี่ยงไม่พ้น ต้องมีการแข่งขันตลอดเวลา ประเทศที่มีการพัฒนาแล้วจะมีความเจริญทางด้านเทคโนโลยีมากในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญดังนี้ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 6 ) ซึ่งวิทยาศาสตร์มิได้มุ่งเฉพาะตัวเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าแล้วเรียบเรียงไว้อย่างมีระเบียบเท่านั้น แต่ยังมีความหมายครอบคลุมไปถึงกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย การสอนวิทยาศาสตร์จึงควรให้ผู้เรียนได้ คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น สามารถนำไปสู่การค้นพบข้อความรู้ใหม่ๆ เช่น การสอนด้วยกระบวนการสืบสอบ การสอนโดยเน้นกระบวนการคิด การสอนโดยเน้นกระบวนการกลุ่ม เป็นต้น (ทิศนา แขมมณี. 2550 : 141-144)

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้น การเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการมีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้และการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมใน การเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับระดับชั้น (กระทรวงศึกษาธิการ. 2552 : 18) ทุกคนจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy For All) ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข (ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2544 : 1 – 2) ซึ่งกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ปัจจุบันโลกเจริญก้าวหน้าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่จนกลายเป็นสังคมข้อมูลข่าวสาร (Information Society) วิธีการ

10

สอนที่เน้นให้นักเรียนท่องจำเนื้อหาวิชาต่าง ๆ จึงใช้ไม่ได้ผลต่อไปเพราะความรู้ที่นักเรียน จะได้รับมีมากมายและเปลี่ยนแปลงทุกขณะความรู้ที่ได้รับจากการท่องจำนั้นไม่สามารถนำไปแก้ปัญหาในชีวิตของนักเรียนได้เนื่องจากไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน

ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ จะต้องส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาทุกสถานที่และเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน (กระทรวงศึกษาธิการ. 2545 ข : 37-45) รวมไปถึงครูผู้สอนต้องเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความเหมาะสม และสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและตัวผู้เรียน ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การจัดการเรียนรู้สามารถพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคมได้อย่างสมดุล (กองวิจัยทางการศึกษา. 2545 : 5) ครูผู้สอนจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง แสวงหาคำตอบพิสูจน์ให้เห็นข้อเท็จจริง อย่างสมเหตุสมผล จัดการเรียนการสอนไปสู่พฤติกรรมวิทยาศาสตร์ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ อย่างเข้าใจ และปฏิบัติจริง เพราะเมื่อเรียนรู้แล้วผู้เรียนสามารถนำความรู้วิทยาศาสตร์มาประยุคเป็นเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ที่มีประโยชน์ทำให้เกิดความผาสุก และความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม (วีระพงษ์ แสงชูโต. 2552 : 9) วิทยาศาสตร์มิได้มุ่งเฉพาะตัวเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าแล้วเรียบเรียงไว้อย่างมีระเบียบเท่านั้น แต่ยังมีความหมายครอบคลุมไปถึงกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมานั้น พบว่า ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งจะเห็นได้จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดอ้อมใหญ่ (นครราษฎร์วิทยาคาร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2559 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ลดลง โดยมีนักเรียนที่สอบไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดดังปีการศึกษา 2559 นักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคิดเป็นร้อยละ 65.50 ปี ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 (โรงเรียนเทศบาล 2 วัดอ้อมใหญ่. 2559 : 54)

ในการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 3 สารและสมบัติของสารในมาตรฐาน ว 3.1 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่าง สมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2552 : 40-54) ซึ่งในหัวข้อเรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน นักเรียนต้องศึกษาถึงสมบัติของวัสดุซึ่งมีด้วยกัน 7 ชุดกิจกรรม คือ ความแข็งของวัสดุ ความเหนียวของวัสดุความยืดหยุ่นของวัสดุ การนำความร้อนของวัสดุ การนำไฟฟ้าของวัสดุ ความหนาแน่นของวัสดุ และประโยชน์จากสมบัติของวัสดุ พบว่านักเรียนมีคะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ไม่แตกต่างกันมากนัก

11

อีกทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระหว่างชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีนักเรียนไม่สามารถทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างชุดกิจกรรมไม่ผ่านเกณฑ์จำนวนร้อยละ 70

นอกจากนี้สาเหตุที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำอาจเนื่องมาจากอารมณ์ สติปัญญา รวมทั้งปัญหาการขาดสื่อการเรียนการสอน จึงทำให้ครูไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามความมุ่งหมายของหลักสูตรได้ ซึ่งการจัดการเรียน การสอนเป็นเรื่องยากที่จะให้ทุกคนบรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ นักเรียนที่เรียนดีสามารถเรียนและรับรู้เร็วกว่านักเรียนที่เรียนอ่อน จึงทำให้เกิดปัญหาทางการเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนครูผู้สอนจำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาช่วย ซึ่งได้แก่ บทเรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดกิจกรรม และเอกสารประกอบการเรียน เป็นต้น

ชุดกิกรรมเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีลักษณะเป็นสื่อประสม ที่จัดขึ้นสำหรับ หน่วยการเรียนตามหัวข้อเนื้อหาที่ต้องการจะให้นักเรียนได้รับช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของครูการสอนด้วยชุดกิกรรมทำให้ครูสามารถถ่ายทอดเนื้อหาวิชาที่สลับซับซ้อนและเป็นนามธรรมให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้นด้านนักเรียนได้เรียนรู้ไปทีละ ขั้นตามความสามารถ ความสนใจของนักเรียนเองทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและช่วยให้นักเรียนกับผู้สอนมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งเปิดโอกาสให้นักเรียนมีอิสระในการเรียนตามความสามารถและความสนใจโดยมีครูคอยแนะนำช่วยเหลือ ช่วยให้กระบวนการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ (กุศยา แสงเดช. 2545 : 10-11) นอกจากนี้ชุดกิจกรรมช่วยส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล โดยผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถ ความสนใจ ตามเวลาและโอกาสที่เหมาะสม ของแต่ละคนแก้ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน เพราะชุดกิจกรรมช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียน ได้ด้วยตนเอง และต้องการความช่วยเหลือจากครูผู้สอนไม่มาก สร้างความมั่นใจและช่วยลดภาระของผู้สอน (สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. 2545 : 57-58) นอกจากนี้ ชุดกิจกรรมจะช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการสอนของครู และส่งเสริมการเรียนของนักเรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมจากชุดกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามความสามารถของแต่ละบุคคล ทำให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายที่จะเรียน แต่มีความกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนมีโอกาสในการฝึกทักษะปฏิบัติในด้านต่างๆ ได้ด้วย (อภิญญา เคนบุปผา. 2546 : 26)

อีกทั้งครูผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์กับโลกทัศน์ที่มุ่งมั่นส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ได้ใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์และยืดหยุ่น ซึ่งสนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ผู้สอนควรสนับสนุนให้ผู้เรียนได้

12

เรียนรู้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และจากสื่อที่หลากหลายซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ครูควรปลูกฝังค่านิยม คุณธรรมควบคู่ไปด้วย ฉะนั้นการเรียนการสอนที่ดีควรให้นักเรียนได้มีโอกาส ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง การที่นักเรียนจะ เกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาเกี่ยวกับทักษะกระบวนการและการฝึกปฏิบัติอยู่เสมอ ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนได้พัฒนา การคิดอย่างมีระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้มีการผสมผสานความรู้ความคิดมุ่งเน้นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และการสอนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนค้นหาความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการคิดและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ (ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2547 : 6)

จากเหตุผลดังกล่าวการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการใช้ของ สุนันทา บุญคง (2554 : บทคัดย่อ) การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกับ จงศิริ วิวัฒน์เชาว์พันธ์ (2554 : ออนไลน์) ได้ศึกษา เรื่อง “การใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ” ผลการศึกษา พบว่า 1) ชุดกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.12/83.97 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เมื่อเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ย 4.85 มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด

จากความสำคัญของวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีต่อสังคมโลกในปัจจุบันดังกล่าวมาแล้วข้างต้นและสภาพปัญหาด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ผู้รายงานในฐานะที่เป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์เห็นว่าควรเร่งรัดพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งผู้รายงานเห็นว่า ชุดกิจกรรม

13

วิทยาศาสตร์เป็นสื่อที่ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ดี และยังช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนสูงขึ้น และเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้รายงานจึงสนใจที่จะสร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดอ้อมใหญ่ (นครราษฎร์วิทยาคาร) กองการศึกษาเทศบาลตำลอ้อมใหญ่ สำนักงานเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ โดยหวังว่าจะได้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และจะช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนสูงขึ้นด้วย โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน

วัตถุประสงค์ของการรายงาน

1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

สมมติฐานของการรายงาน

1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก

ขอบเขตของการรายงาน

ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

1.1 แหล่งข้อมูล

14

แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 76 คน

1.2 เนื้อหา

เนื้อหาที่ใช้ในการสร้างและหาประสิทธิภาพ ได้แก่ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งมีรายละเอียดของเนื้อหา ดังนี้

เล่มที่ 1 เรื่อง ความแข็งของวัสดุ

เล่มที่ 2 เรื่อง ความเหนียวของวัสดุ

เล่มที่ 3 เรื่อง ความยืดหยุ่นของวัสดุ

เล่มที่ 4 เรื่อง การนำความร้อนของวัสดุ

เล่มที่ 5 เรื่อง การนำไฟฟ้าของวัสดุ

เล่มที่ 6 เรื่อง ความหนาแน่นของวัสดุ

เล่มที่ 7 เรื่อง ประโยชน์จากสมบัติของวัสดุ

1.3 ตัวแปร

ตัวแปรที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพ ได้แก่ ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

1.4 ระยะเวลา

ระยะเวลาที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560

ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2.1.1 ประชากรที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดอ้อมใหญ่ (นครราษฎร์วิทยาคาร) จำนวน 76 คน

15

2.1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดอ้อมใหญ่ (นครราษฎร์วิทยาคาร) จำนวน 21 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sample) และเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

2.2 เนื้อหา

เนื้อหาที่ใช้ในการสร้างและหาประสิทธิภาพ ได้แก่ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย

เล่มที่ 1 เรื่อง ความแข็งของวัสดุ

เล่มที่ 2 เรื่อง ความเหนียวของวัสดุ

เล่มที่ 3 เรื่อง ความยืดหยุ่นของวัสดุ

เล่มที่ 4 เรื่อง การนำความร้อนของวัสดุ

เล่มที่ 5 เรื่อง การนำไฟฟ้าของวัสดุ

เล่มที่ 6 เรื่อง ความหนาแน่นของวัสดุ

เล่มที่ 7 เรื่อง ประโยชน์จากสมบัติของวัสดุ

2.3 ตัวแปร

2.3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิต ประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2.3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่

1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิต ประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2.4 ระยะเวลา

ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หมายถึง นวัตกรรมการสอนในลักษณะของสื่อประสมของครูที่สร้างขึ้น เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ โดยสอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมี

16

ประสิทธิภาพ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย

เล่มที่ 1 เรื่อง ความแข็งของวัสดุ

เล่มที่ 2 เรื่อง ความเหนียวของวัสดุ

เล่มที่ 3 เรื่อง ความยืดหยุ่นของวัสดุ

เล่มที่ 4 เรื่อง การนำความร้อนของวัสดุ

เล่มที่ 5 เรื่อง การนำไฟฟ้าของวัสดุ

เล่มที่ 6 เรื่อง ความหนาแน่นของวัสดุ

เล่มที่ 7 เรื่อง ประโยชน์จากสมบัติของวัสดุ

2. ประสิทธิภาพ หมายถึง คุณภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยพิจารณาตามเกณฑ์จากคะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียนและหลังเรียนของนักเรียนแล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 80/80 มีความหมายดังนี้

80 ตัวแรก หมายถึง ประสิทธิภาพของกระบวนการได้จากคะแนนของนักเรียนที่ปฏิบัติระหว่างเรียนชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เฉลี่ยร้อยละ 80

80 ตัวหลัง คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ได้จากคะแนนของนักเรียนที่ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เฉลี่ยร้อยละ 80

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถของนักเรียนที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้เรียนรู้ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งได้จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นตามตารางวิเคราะห์หลักสูตร จำนวน 30 ข้อ

4. ความพึงพอใจของนักเรียน หมายถึง ความรู้สึกพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งได้จากการตอบแบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

17

2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางการเรียนค่าเฉลี่ยสูงขึ้น

3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก

18

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

รายงานการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจาวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้รายงานได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะนาเสนอหัวข้อ ดังต่อไปนี้

1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

1.1 ความสำคัญ ธรรมชาติ และลักษณะเฉพาะของวิทยาศาสตร์

1.2 จุดหมายของหลักสูตร

1.3 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

1.4 คุณภาพผู้เรียนในการเรียนวิทยาศาสตร์

1.5 สมรรถนะสำคัญของนักเรียน

1.6 คุณลักษณะอันพึงประสงค์

2. ชุดกิจกรรม

2.1 ความหมายของชุดกิจกรรม

2.2 ประเภทของชุดกิจกรรม

2.3 องค์ประกอบของชุดกิจกรรม

2.4 ขั้นตอนในการสร้างชุดกิจกรรม

2.5 ประโยชน์ของชุดกิจกรรม

2.6 การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม

3. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

3.1 ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีจุดมุ่งหมายของกาเย่

3.2 ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการกระทำของดิวอี้

3.3 ทฤษฎีการเสริมแรงของสกินเนอร์

3.4 ทฤษฎีการสร้างเสริมความรู้

4. วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

4.1 ความหมายของวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

4.2 รูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้

4.3 บทบาทของครูและนักเรียนในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

19

5. การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

5.1 วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

5.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์

5.3 ประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

5.4 การตรวจสอบหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

6. ความพึงพอใจ

6.1 ความหมายของความพึงพอใจ

6.2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ

7. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

7.1 งานวิจัยในประเทศ

7.2 งานวิจัยต่างประเทศ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

1. ความสำคัญ ธรรมชาติ และลักษณะเฉพาะของวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องใช้และผลผลิตต่างๆ ที่มนุษย์ได้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน เหล่านี้ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่นๆ วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์ เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Based Society) ดังนั้นทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นสามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์และมีคุณธรรม (กระทรวงศึกษาธิการ. 2552 : 92)

1.1 เรียนรู้วิทยาศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งหวังให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการ เชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้ และการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับระดับชั้น โดยได้กำหนดสาระสำคัญ ไว้ดังนี้

20

1.1.1. สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต และกระบวนการดำรงชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และเทคโนโลยีชีวภาพ

1.1.2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตที่หลากหลายรอบตัว ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก ปัจจัยที่มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตในสภาพแวดล้อมต่างๆ

1.1.3 สารและสมบัติของสาร สมบัติของวัสดุและสาร แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค การเปลี่ยนสถานะ การเกิดสารละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร สมการเคมี และ การแยกสาร

1.1.4 แรงและการเคลื่อนที่ ธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง แรงนิวเคลียร์ การออกแรงกระทำต่อวัตถุ การเคลื่อนที่ของวัตถุ แรงเสียดทาน โมเมนต์การเคลื่อนที่แบบต่างๆในชีวิตประจำวัน

1.1.5 พลังงาน พลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน สมบัติและปรากฏการณ์ของแสง เสียง และวงจรไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กัมมันตภาพรังสีและปฏิกิริยานิวเคลียร์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงานการอนุรักษ์พลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

1.1.6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก โครงสร้างและองค์ประกอบของโลก ทรัพยากรทางธรณี สมบัติทางกายภาพของดิน หิน น้ำ อากาศ สมบัติของผิวโลก และบรรยากาศ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ปรากฏการณ์ทางธรณี ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ

1.1.7 ดาราศาสตร์และอวกาศ วิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซี เอกภพ ปฏิสัมพันธ์และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ความสัมพันธ์ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก ความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศ

1.1.8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา และจิตวิทยาศาสตร์

2. จุดหมายของหลักสูตร

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับนักเรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

21

2.1 มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.2 มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การคิดการแก้ปัญญา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต

2.3 มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัยและรักการออกกำลังกาย

2.4 มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นใน วิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2.5 มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคมและอยู่ร่วมกัน ในสังคมอย่างมีความสุข

3. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้น การเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้และการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับระดับชั้น โดยได้กำหนดสาระสำคัญไว้ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2552 : 92)

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดมาตรฐานและสาระการเรียนรู้ของกลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2552 : 14-15)

3.1 สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต

มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

3.2 สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

22

มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

3.3 สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร

มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะ ของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

3.4 สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่

มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และ

แรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม

มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ ไปใช้ประโยชน์

3.5 สาระที่ 5 พลังงาน

มาตรฐาน ว 5.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิตการเปลี่ยน รูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

3.6 สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก

มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

3.7 สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ

มาตรฐาน ว 7.1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพ การปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

23

มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ใน การสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะ

หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรม ต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

3.8 สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ใน การสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

4. คุณภาพผู้เรียนในการเรียนวิทยาศาสตร์

คุณภาพของผู้เรียนผู้เรียนเมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2552 : 96-97)

4.1 เข้าใจโครงสร้างและการทำงานของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน

4.2 เข้าใจสมบัติและการจำแนกกลุ่มของวัสดุ สถานะของสาร สมบัติของสารและการทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง สารในชีวิตประจำวัน การแยกสารอย่างง่าย

4.3 เข้าใจผลที่เกิดจากการออกแรงกระทำกับวัตถุ ความดัน หลักการเบื้องต้นของแรงลอยตัว สมบัติและปรากฏการณ์เบื้องต้นของแสง เสียง และวงจรไฟฟ้า

4.4 เข้าใจลักษณะ องค์ประกอบ สมบัติของผิวโลก และบรรยากาศ ความสัมพันธ์ของดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ที่มีผลต่อการเกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติ

4.5 ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียนรู้ คาดคะเนคำตอบหลายแนวทาง วางแผนและสำรวจตรวจสอบโดยใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ วิเคราะห์ข้อมูล และสื่อสารความรู้จากผลการสำรวจตรวจสอบ

4.6 ใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต และการศึกษาความรู้เพิ่มเติม ทำโครงงานหรือชิ้นงานตามที่กำหนดให้หรือตามความสนใจ

4.7 แสดงถึงความสนใจ มุ่งมั่น รับผิดชอบ รอบคอบและซื่อสัตย์ในการสืบเสาะ หาความรู้

4.8 ตระหนักในคุณค่าของความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แสดงความชื่นชม ยกย่อง และเคารพสิทธิในผลงานของผู้คิดค้น

4.9 แสดงถึงความซาบซึ้ง ห่วงใย แสดงพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่า

24

4.10 ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ แสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

5. สมรรถนะสำคัญของนักเรียน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนานักเรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้นจะช่วยให้นักเรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้

5.1 ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอด ความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกและทัศนของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคมรวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

5.2 ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้าง องค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

5.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรค ต่างๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศเข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

5.4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงานและ การอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสมการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อมและการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

5.5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสารการทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม

25

6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไทยได้อย่างมีความสุขในฐานะเป็น พลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้

6.1 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

6.2 ซื่อสัตย์สุจริต

6.3 มีวินัย

6.4 ใฝ่เรียนรู้

6.5 อยู่อย่างพอเพียง

6.6 มุ่งมั่นในการทำงาน

6.7 รักความเป็นไทย

6.8 มีจิตสาธารณะ

ชุดกิจกรรม

ชุดกิจกรรมเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่ได้รับความสนใจในทางการศึกษา โดยผู้เรียนและผู้สอนใช้ร่วมกัน เพื่อลดภาระการสอนของครู เป็นการสอนซ่อมเสริมให้กับผู้เรียนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ผู้รายงานจะได้นำเสนอเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้

1. ความหมายของชุดกิจกรรม

ชุดกิจกรรม (Instructional Packages) เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างหนึ่ง ได้มี นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้

เพชรรัตดา เทพพิทักษ์ (2545 : 30) ได้ให้ความหมายของชุดกิจกรรมว่า ชุดกิจกรรม คือ ชุดการเรียน หรือชุดการสอนนั่นเอง ซึ่งหมายถึง สื่อการสอนที่ครูเป็นผู้สร้าง ประกอบด้วยวัสดุอุปกรณ์หลายชนิดและองค์ประกอบอื่นเพื่อให้นักเรียนศึกษาและประกอบการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครู เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ และมีการนำหลักการทางจิตวิทยา มาใช้ในการประกอบการเรียน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับความสำเร็จ

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ (2545 : 51) ได้ให้ความหมายของชุดกิจกรรมว่า เป็นสื่อการสอนชนิดหนึ่งที่เป็นลักษณะของสื่อประสม และเป็นการใช้สื่อ ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ร่วมกันเพื่อให้นักเรียนได้รับความต้องการ โดยอาจจัดขึ้นสำหรับหน่วยการเรียนตามหัวข้อเรื่อง และประสบการณ์ของแต่ละหน่วยที่ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ อาจจัดไว้เป็นชุดในกล่อง ซอง กระเป๋า ชุดกิจกรรมอาจประกอบด้วยเนื้อหาสาระ คำสั่ง ใบงาน ในการทำกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ เอกสารความรู้ เครื่องมือเป็นสื่อจำเป็นสำหรับกิจกรรมต่างๆ

26

ธัญสินี ฐานา (2546 : 9) ได้ให้ความหมายของชุดกิจกรรมว่า ชุดการเรียน การสอน ที่ใช้เป็นสื่อการสอนที่มีการนำนวัตกรรมและกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ มาบูรณาการโดยครูเป็นผู้สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นชุด ในแต่ละชุดประกอบด้วยสื่ออุปกรณ์ กิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย และแบบฝึกทักษะที่นำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ประกอบ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อารีย์ ทวีลาภ (2546 : 32) ได้ให้ความหมายของชุดกิจกรรมว่า เป็นสื่อการเรียนสำเร็จรูปที่ประกอบด้วยสื่อหลายอย่าง จัดเข้าไว้ด้วยกันเป็นชุดที่ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในชุด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพึ่งครูน้อยที่สุด ผู้เรียนสามารถเรียนได้อย่างอิสระ ตามความสามารถของแต่ละบุคคล ชุดการเรียน นอกจากจะใช้สำหรับให้ผู้เรียนศึกษาเป็นรายบุคคลแล้ว ยังใช้ประกอบการสอนแบบอื่น เช่น ใช้ประกอบการบรรยาย หรือใช้สำหรับเรียนเป็นกลุ่มย่อย

เนื้อทอง นายี (2547 : 12) ได้ให้ความหมายขงชุดกิจกรรมว่า ชุดของการเรียน หรือการฝึกที่ประกอบด้วยวัสดุอุปกรณ์หลายชนิด และองค์ประกอบอื่น ที่ก่อให้เกิดความสมบูรณ์ ในตัวเอง โดยที่ผู้สร้างได้รวบรวมจัดอย่างเป็นระบบไว้ในกลุ่ม และชุดกิจกรรมนี้ จะสร้างขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์หนึ่งวัตถุประสงค์ใด โดยมีชื่อเรียกตามการใช้งานนั้นๆ เช่น ถ้าสร้างขึ้นเพื่อการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์จะให้ครูใช้ประกอบการสอน โดยเปลี่ยนบทบาทของครูให้พูดน้อยลง นักเรียนร่วมในกิจกรรมมากขึ้นเรียกว่า “ชุดกิจกรรม” สำหรับครู แต่ถ้าให้ผู้เรียนเรียนจากชุดกิจกรรมโดยที่ผู้เรียนสามารถช่วยเหลือกันและกันได้ ระหว่างการประกอบกิจกรรมในลักษณะที่เรียกว่า “ชุดกิจกรรม”

พรศรี ดาวรุ่งสวรรค์ (2548 : 13) ได้ให้ความหมายของชุดกิจกรรมว่า ชุดกิจกรรม คือ การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แก้ปัญหาด้วยตนเอง มีอิสระในการเรียนรู้ โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยครูต้องเป็นผู้วางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ สิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครูมีหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาเท่านั้น

รุ่งอรุณ เธียรประกอบ (2549 : 9) ได้ให้ความหมายของชุดกิจกรรมว่า ชุดกิจกรรม คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยนำเอาสื่อ วัสดุอุปกรณ์และนวัตกรรมต่างๆ มาให้นักเรียนได้ศึกษา ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วเกิดการเรียนรู้และสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือและส่งเสริมให้นักเรียน มีผลการเรียนที่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

อรวรรณ สิทธิสิริกุลวัฒน์ (2549 : 8) ได้ให้ความหมายของชุดกิจกรรมว่า ชุดกิจกรรม หมายถึง สื่อ หรือนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมา ใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในชุด ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของชุดกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้

27

เบญจวรรณ ใจหาญ (2550 : 10) ได้ให้ความหมายของชุดกิจกรรมว่า ชุดกิจกรรม หมายถึง สื่อ หรือนวัตกรรมทางการศึกษาที่สร้างขึ้น เพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนมากประกอบด้วย คำชี้แจง ชื่อเรื่อง จุดมุ่งหมาย กิจกรรม และการประเมินผลซึ่งผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในชุด ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน เป็นการพัฒนาสมรรถนะ ทางด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของ ชุดกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ โดยครูเป็นผู้แนะนำหรือให้คำปรึกษาเท่านั้น

อาร์ม โพธิ์พัฒน์ (2550 : 10) ได้ให้ความหมายของชุดกิจกรรมว่า ชุดกิจกรรม คือ สื่อการสอนชนิดหนึ่งที่ช่วยให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ สามารถแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างนักเรียน หรือบุคคล ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เต็มความสามารถ และเกิดพฤติกรรมตามเป้าหมายของการเรียนรู้ โดยครูเป็นผู้จัดให้และแนะนำเท่านั้น

สรุปได้ว่า ชุดกิจกรรม คือ สื่อประสมที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากยิ่งขึ้น สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอน ที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในชุดตามศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน โดยครูเป็นผู้วางแผน กำหนดเป้าหมายของการเรียน และนักเรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของชุดกิจกรรมและช่วยเหลือและส่งเสริมให้นักเรียนมีผลการเรียนที่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

2. ประเภทของชุดกิจกรรม

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ (2545 : 52 – 53) ได้แบ่งประเภทของชุดกิจกรรมไว้ 3 ประเภท คือ

1. ชุดกิจกรรมประกอบคำบรรยายของครู เป็นชุดกิจกรรมสำหรับครูใช้สอนนักเรียนเป็นกลุ่มใหญ่ หรือเป็นการสอนที่ต้องการปูพื้นฐานให้นักเรียนส่วนใหญ่รู้ และเข้าใจในเวลาเดียวกันมุ่งในการขยายเนื้อหาสาระให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ชุดกิจกรรมแบบนี้จะช่วยให้ครูลดการพูดให้น้อยลง และใช้สื่อการสอนที่มีพร้อมในชุดกิจกรรม

2. ชุดกิจกรรมแบบกลุ่มกิจกรรม เป็นชุดกิจกรรมสำหรับให้นักเรียนร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 5 – 7 คน โดยใช้สื่อการสอนที่บรรจุไว้ในชุดกิจกรรมแต่ละชุด มุ่งที่จะฝึกทักษะในเนื้อหาวิชาที่เรียน และให้นักเรียนมีโอกาสทำงานร่วมกัน

3. ชุดกิจกรรมแบบรายบุคคลหรือชุดกิจกรรมตามเอกัตภาพ เป็นชุดกิจกรรมสำหรับเรียนด้วยตนเองเป็นรายบุคคล คือ นักเรียนจะต้องศึกษาหาความรู้ตามความสามารถและความสนใจของตนเอง อาจจะเรียนที่โรงเรียนหรือที่บ้านก็ได้ ส่วนมากมักจะมุ่งให้นักเรียนได้ ทำความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียนเพิ่มเติม นักเรียนสามารถประเมิลผลการเรียนด้วยตนเอง

28

วัชราภรณ์ เจริญสุข (2547 : 13 ; อ้างอิงจาก สุกิจ ศรีพรหม. 2541: 68 – 69) ได้แบ่งประเภทของชุดกิจกรรมเป็น 3 ประเภท คือ

1. ชุดกิจกรรมประกอบคำบรรยาย หรือเรียกว่า ชุดกิจกรรมสำหรับครูผู้ใช้ คือเป็นการสอนที่กำหนดกิจกรรมและสื่อการเรียน เพื่อให้ครูใช้ประกอบการสอน การบรรยาย เพื่อเปลี่ยนบทบาทของครูให้น้อยลง เน้นบทบาทของนักเรียนให้มากขึ้น

2. ชุดกิจกรรมสำหรับกิจกรรมกลุ่ม ชุดกิจกรรมแบบนี้เน้นที่ตัวนักเรียนได้ประกอบกิจกรรมร่วมกันและอาจจัดในรูปแบบของศูนย์การเรียน แต่ละศูนย์มีสื่อการเรียนหรือบทเรียนครบชุดตามจำนวนนักเรียนในศูนย์กิจกรรมนั้นให้นักเรียนได้หมุนทำกิจกรรมจนครบ ทุกศูนย์

3. ชุดกิจกรรมรายบุคคล เป็นชุดกิจกรรมที่ผลิตขึ้นสำหรับนักเรียนเป็นรายบุคคลนักเรียนศึกษาด้วยตนเองตามความสามารถของตนเอง และประเมินความก้าวหน้าของตนเอง

นอกจากนี้ นงลักษณ์ แก้วมาลา (2547 : 9) พนารัตน์ แช่มชื่น (2548 : 16) และ สุรชัย จามรเนียม (2548 : 12) ได้สรุปการแบ่งประเภทของชุดกิจกรรมไว้คล้ายๆ กันตาม ลักษณะของการใช้ ดังนี้

1. ชุดกิจกรรมแบบคำบรรยายหรือสำหรับครู ใช้เพื่อลดบทบาทของครูให้พูดน้อยลงนักเรียนได้ทำกิจกรรมมากขึ้น

2. ชุดกิจกรรมกลุ่ม เป็นชุดกิจกรรมที่ให้นักเรียนร่วมกันศึกษาเป็นรายกลุ่มย่อย แต่ละชุดกิจกรรม อาจมีชุดกิจกรรมย่อยๆ ไปอีกเพื่อสะดวกแก่การศึกษาของนักเรียน โดยครู มีหน้าที่คอยอธิบายให้ความช่วยเหลือเมื่อนักเรียนเกิดสงสัยหรือไม่ เข้าใจในชุดกิจกรรม

3. ชุดกิจกรรมรายบุคคลหรือสำหรับนักเรียน เป็นชุดกิจกรรมสำหรับให้นักเรียน ได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง นักเรียนสามารถเรียนนอกเวลาได้ เมื่อเกิดข้อสงสัยครูมีหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือ เสนอแนะ

วันดี ปรางทอง (2553 : 35) ได้แบ่งชุดกิจกรรมเป็น 3 ประเภท คือ ชุดกิจกรรมรายบุคคล ชุดกิจกรรมแบบเรียนเป็นกลุ่มย่อยหรือกลุ่มกิจกรรม และชุดกิจกรรมประกอบ คำบรรยายของครู โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้การเรียน การสอนประสบผลสำเร็จตามที่หวัง จึงดำเนินการสร้างชุดการสอนแบบกลุ่มกิจกรรมขึ้น

ยุภาวดี พลภูงา (2555 : 45) ได้แบ่งชุดกิจกรรมออกเป็น 3 ประเภท คือ ชุดกิจกรรมรายบุคคล ชุดกิจกรรมแบบเรียนเป็นกลุ่มย่อยหรือกลุ่มกิจกรรม และชุดกิจกรรมประกอบ คำบรรยายของครู โดยดำเนินการสร้างชุดกิจกรรมแบบกลุ่มกิจกรรมขึ้น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จตามที่หวัง

29

สรุปได้ว่า ประเภทของชุดกิจกรรมนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักได้ คือ

ชุดกิจกรรมประกอบคำบรรยายหรือสำหรับครู ชุดกิจกรรมกลุ่ม และชุดกิจกรรมรายบุคคลหรือ

สำหรับนักเรียน ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ผู้รายงานเลือกชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

เป็นลักษณะของชุดกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ โดยมีครูเป็นผู้ให้

คำแนะนำช่วยเหลือ

3. องค์ประกอบของชุดกกิจกรรม

ชุดกิจกรรมอาจมีรูปแบบต่างๆ กันไป ผู้รายงานจะต้องศึกษาองค์ประกอบของชุด

กิจกรรม เพื่อที่จะได้นำมากำหนดเป็นองค์ประกอบของชุดกิจกรรมที่จะสร้างขึ้น มีนักการศึกษา

หลายท่านได้กล่าวถึงองค์ประกอบของชุดกิจกรรมไว้ ดังนี้

สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ (2545 : 52) ได้กล่าวถึง องค์ประกอบของชุด

กิจกรรมไว้ 4 ประการ ดังนี้

1. คู่มือการใช้ชุดกิจกรรม เป็นคู่มือหรือแผนการสอนสำหรับผู้สอนใช้ศึกษาและ

ปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดชี้แจงไว้อย่างชัดเจน ลักษณะของคู่มืออาจทำเป็นรูปเล่ม

หรือแผ่นพับก็ได้

2. บัตรคำสั่งหรือบัตรงาน เป็นเอกสารที่บอกให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมแต่ละ

อย่างตามขั้นตอนที่ก ำหนดไว้ บ รรจุอยู่ในชุดกิจกรรม บัตรคำสั่งหรือบัตรงานจะมีครบ

ตามจำนวนกลุ่มหรือจำนวนผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วยคำอธิบายในเรื่องที่จะศึกษา คำสั่งให้ผู้เรียน

ประกอบกิจกรรมและการสรุปบทเรียน การจัดทำบัตรคำสั่งหรือบัตรงานนิยมใช้กระดาษแข็ง ขนาด

68 นิ้ว

3. เนื้อหาสาระและสื่อการเรียนประเภทต่างๆ จัดไว้ในรูปของสื่อการสอนที่

หลากหลาย แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

3.1 ประเภทเอกสารสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร บทความ ใบความรู้

(Fact sheet) ของเนื้อหาเฉพาะเรื่อง บทเรียนโปรแกรม

3.2 ประเภทโสตทัศนูปกรณ์ เช่น รูปภาพ แผนภาพ แผนภูมิ สมุดภาพ

เทปบันทึกเสียง สไลด์ (Slide) วีดีทัศน์ (Video) ซีดีรอม (CD-ROM) โปรแกรมคอมพิวเตอร์

ช่วยสอน (CAI)

3.3 แบบประเมินผล เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดและประเมินความรู้ด้วยตนเอง

ทั้งก่อนและหลังเรียน อาจเป็นแบบทดสอบชนิดจับคู่ เลือกตอบหรือกาเครื่องหมายถูกผิดก็ได้

สุคนธ์ สินธพานนท์ (2551 ก : 18 ; อ้างอิงจาก บุญชม ศรีสะอาด. 2537 : 95 –

96) ได้กล่าวว่า ชุดกิจกรรมมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ด้านดังนี้

30

1. คู่มือการใช้ชุดกิจกรรม เป็นคู่มือที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ชุดกิจกรรมศึกษาและปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพอาจประกอบด้วยแผนการสอน สิ่งที่ผู้สอนต้องตรียมก่อนสอน บทบาทของผู้เรียน การจัดชั้นเรียน (ในกรณีชุดกิจกรรมที่มุ่งใช้กับกลุ่มย่อย เช่น ในศูนย์การเรียน)

2. บัตรงาน เป็นบัตรที่มีคำสั่งว่าจะให้ผู้เรียนปฏิบัติอะไรบ้าง โดยระบุกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนของการเรียน

3. แบบทดสอบวัดความก้าวหน้าของผู้เรียน เป็นแบบทดสอบที่ใช้สำหรับตรวจว่าหลังจากใช้ชุดกิจกรรมจบแล้ว ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์การเรียนที่กำหนดไว้หรือไม่

4. สื่อการเรียนต่างๆ เป็นสื่อสำหรับผู้เรียนได้ศึกษา มีหลายชนิดประกอบกันอาจเป็นประเภทสิ่งพิมพ์ เช่น บทความ เนื้อหาเฉพาะเรื่อง จุลสาร บทเรียนโปรแกรมหรือประเภทโสตทัศนูปกรณ์ เช่น รูปภาพ แผนภูมิต่างๆ เทปบันทึกเสียง ฟิล์มสตริป สไลด์ขนาด 2x2 นิ้ว ของจริง เป็นต้น

วันดี ปรางทอง (2553 : 37) แบ่งองค์ประกอบของชุดกิจกรรมออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 คู่มือครู ประกอบด้วย คำแนะนำ คำชี้แจงสำหรับครูผู้สอน แผนการจัดการเรียนรู้ เฉลยแบบทดสอบประจำหน่วย และ ส่วนที่ 2 ชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียน ประกอบด้วย บัตรคำสั่ง บัตรกิจกรรม บัตรความรู้ บัตรงาน เฉลยบัตรงาน แบบฝึกหัด เฉลยแบบฝึกหัด สื่อการเรียน และแบบทดสอบประจำหน่วย

ยุภาวดี พลภูงา (2555 : 44) ได้กำหนดองค์ประกอบของชุดกิจกรรมออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 คู่มือครู ประกอบด้วย คำแนะนำ คำชี้แจงสำหรับครูผู้สอน แผนการจัดการเรียนรู้ เฉลยแบบทดสอบประจำหน่วย และ ส่วนที่ 2 ชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียน ประกอบด้วย บัตรคำสั่ง บัตรกิจกรรม บัตรความรู้ บัตรงาน เฉลยบัตรงาน แบบฝึกหัด เฉลยแบบฝึกหัด สื่อการเรียน และแบบทดสอบประจำหน่วย

สรุปได้ว่า องค์ประกอบของชุดกิจกรรมมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 คู่มือครู และส่วนที่ 2 ชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียน ดังนี้ ส่วนที่ 1 คู่มือครู ประกอบด้วยคำแนะนำ คำชี้แจงสำหรับครูผู้สอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบประจำหน่วย เฉลยแบบทดสอบประจำหน่วย ส่วนที่ 2 ชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียน ประกอบด้วยคำชี้แจงสำหรับนักเรียน บัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม บัตรเฉลยกิจกรรม บัตรงาน บัตรแบบฝึกหัด บัตรเฉลยแบบฝึกหัด แบบทดสอบประจำหน่วย และสื่ออุปกรณ์

ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ผู้รายงานได้สร้างชุดกิจกรรมโดยมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 คู่มือการใช้ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

31

เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยส่วนประกอบของชุดกิจกรรม คำแนะนำ คำชี้แจง แนวปฏิบัติการใช้ชุดกิจกรรม บทบาทครูผู้สอน แผนการจัดการเรียนรู้ เฉลยกิจกรรม เฉลย แบบฝึกหัด และเฉลยแบบทดสอบหลังเรียน

ส่วนที่ 2 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย ขั้นตอนการใช้ชุดกิจกรรม ข้อปฏิบัติของนักเรียน สาระมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรม ใบความรู้ แบบฝึกหัด แบบทดสอบหลังเรียน เฉลยกิจกรรม เฉลยแบบฝึกหัด เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน และสื่ออุปกรณ์

4. ขั้นตอนในการสร้างชุดกิจกรรม

มีนักการศึกษาได้เสนอขั้นตอนการสร้างชุดกิจกรรม ไว้ดังนี้

สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ (2545 : 53 – 55) ได้เสนอขั้นตอนในการผลิตชุด กิจกรรม ดังนี้

1. กำหนดเรื่องเพื่อทำชุดกิจกรรม อาจจะแบ่งย่อยหัวข้อเป็นหัวข้อย่อย ขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อหาและลักษณะของการใช้ชุดกิจกรรม

2. กำหนดหมวดหมู่เนื้อหาและประสบการณ์ อาจมีการกำหนดเป็นกลุ่มสาระ การเรียนรู้หรือบูรณาการให้เหมาะสมตามวัย

3. จัดหน่วยการเรียนการสอนให้เหมาะสม ว่าจะมีการแบ่งเป็นกี่หน่วยหัวข้อย่อยอะไรบ้างใช้เวลานานเท่าไรให้พิจารณาให้เหมาะสมกับวัยและระดับชั้น

4. กำหนดหัวข้อเรื่อง เพื่อสะดวกแก่นักเรียนว่า แต่ละหน่วยประกอบด้วยหัวข้อใดบ้าง

5. กำหนดความคิดรวบยอดหรือหลักการ ต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนว่า นักเรียนเกิดความคิดรวบยอดหรือหลักการใดบ้าง

6. กำหนดจุดประสงค์การสอน หมายถึง จุดประสงค์ที่แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ หรือจุดประสงค์ทั่วไปรวมทั้งเกณฑ์การตัดสินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

7. กำหนดกิจกรรมการเรียนต้องกำหนดให้สอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เพื่อเป็นแนวทางการผลิตสื่อการเรียน กิจกรรมการเรียน การออกแบบทดสอบ

8. กำหนดแบบประเมินผล ต้องออกแบบประเมินให้ตรงกับจุดประสงค์ เชิง พฤติกรรมเพื่อทราบความเป็นไปของนักเรียนว่ามีความก้าวหน้าทางการเรียนเป็นอย่างไร

9. เลือกและผลิตสื่อการสอน ควรมีสื่อการสอนในแต่ละหัวเรื่องให้เรียบร้อย ควรจัดสื่อการสอนเหล่านั้นออกเป็นหมวดหมู่ในกล่องหรือแฟ้มที่เตรียมไว้ก่อนนำไปหาประสิทธิภาพ เพื่อหาความตรง ความเที่ยงก่อนนำไปใช้

32

10. สร้างข้อทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ควรสร้างให้ครอบคลุมเนื้อหา และกิจกรรมที่กำหนดให้เกิดการเรียนรู้โดยพิจารณาจากจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นสำคัญ

11. การหาประสิทธิภาพของชุดการสอน เมื่อสร้างชุดการสอนเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องนำชุดการสอนไปทดสอบโดยวิธีการต่างๆ ก่อนนำไปใช้จริง จากการศึกษาการสร้างชุดกิจกรรม

สุคนธ์ สินธพานนท์ (2551 ข : 19–20) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการสร้างชุดกิจกรรมไว้ ทั้งหมด 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. เลือกหัวข้อ (Topic) กำหนดขอบเขต และประเด็นสำคัญของเนื้อหาผู้สร้าง ชุดกิจกรรมควรเลือกหัวข้อและประเด็นสำคัญ ได้จากการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และสาระ การเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. กำหนดเนื้อหาที่จะจัดทำชุดกิจกรรม โดยคำนึงถึงความรู้พื้นฐานของผู้เรียน

3. เขียนจุดประสงค์ในการจัดการเรียนการสอน การเขียนจุดประสงค์ ควรเขียน เขียนเป็นลักษณะจุดประสงค์เฉพาะหรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

4. สร้างแบบทดสอบ การสร้างมี 3 แบบ คือ

4.1 แบบทดสอบวัดพื้นความรู้เดิมของผู้เรียน เพื่อดูว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานก่อนที่จะมาเรียนเพียงพอหรือไม่

4.2 แบบทดสอบย่อย เพื่อวัดความรู้ของผู้เรียนหลังจากผู้เรียนเรียนจบในแต่ละเนื้อหาย่อย

4.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน ใช้ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนหลักจากการศึกษาชุดกิจกรรมจบ

5. จัดทำชุดกิจกรรม ประกอบด้วย

5.1 บัตรคำสั่ง

5.2 บัตรปฏิบัติการและบัตรเฉลย (ถ้ามี)

5.3 บัตรเนื้อหา 5.4 บัตรฝึกหัด และบัตรเฉลยบัตรฝึกหัด

5.5 บัตรทดสอบและบัตรเฉลยบัตรทดสอบ

6. วางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้สอนเตรียมออกแบบ การจัดกิจกรรม การเรียนการสอนโดยยึดหลักการสำคัญ คือ

6.1 ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนเป็นผู้เพียง คอยชี้แนะและควบคุมการเรียนการสอน

6.2 เลือกกิจกรรมหลากหลายที่เหมาะสมกับชุดกิจกรรม

33

6.3 ฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการคิดอย่างหลากหลาย เช่น คิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

6.4 มีกิจกรรมที่ฝึกให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น

7. การรวบรวมและจัดทำสื่อการสอน สื่อการสอนมีความสำคัญต่อการเรียนของ ผู้เรียน สื่อการสอนบางชนิดอาจมีผู้จัดทำไว้แล้ว ผู้สอนอาจนำมาปรับปรุงดัดแปลงใหม่ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและจุดประสงค์ที่ต้องการสอน ในกรณีที่ไม่มีสื่อที่ตรงตามจุดประสงค์ที่จะสอน ครูผู้สอนต้องสร้างสื่อการสอนขึ้นใหม่ซึ่งต้องใช้เวลามาก

วันดี ปรางทอง (2553 : 40–41) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการสร้างชุดกิจกรรมไว้ทั้งหมด 10 ขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดเนื้อหา เรื่อง ที่จะนำมาสร้างเป็นชุดการสอน

2. กำหนดหน่วยการสอน โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วยย่อยๆ ให้เหมาะสมกับเวลาที่กำหนด

3. กำหนดหัวเรื่อง โดยแบ่งเนื้อหาของหน่วยการสอนให้ย่อยลงมา

4. กำหนดความคิดรวบยอดให้สอดคล้องกับหน่วยและหัวเรื่อง

5. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความคิดรวบยอดและครอบคลุมเนื้อหาสาระของการเรียนรู้

6. กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องและเหมาะสมกับจุดประสงค์

7. กำหนดแบบการวัดและประเมินผล ซึ่งสอดคล้องกับจุดประสงค์

8. เลือกและผลิตสื่อการสอน ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน เนื้อหาสาระ แลการประเมินผล

9. หาประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอนฉบับร่าง

10. ทดลองใช้และหาประสิทธิภาพขั้นสุดท้าย

สรุปได้ว่า ผู้รายงานได้ดำเนินการสร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยมีลำดับขั้นตอน ดังนี้

1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน

2. กำหนดเนื้อหาและประสบการณ์ที่นำมาสร้างเป็นชุดกิจกรรม

3. กำหนดหน่วยการเรียนรู้ การศึกษาในครั้งนี้ผู้รายงานได้ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาและเวลาเรียนจากหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

34

4. กำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ สิ่งที่ต้องการนำเสนอในชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้ชัดเจน และสอดคล้องกับหลักสูตรสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

5. กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละเรื่องให้สอดคล้องและเหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนรู้

6. กำหนดแบบการวัดและประเมินผลแต่ละเรื่อง

7. เลือกและผลิตสื่อการสอน การศึกษาในครั้งนี้ ผู้รายงานได้ใช้สื่อประกอบ การสอนเป็นชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน

8. หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ฉบับร่าง

9. ทดลองใช้ชุดกิจกรรมเพื่อหาประสิทธิภาพ

5. ประโยชน์ของชุดกิจกรรม

มีนักการศึกษากล่าวถึงประโยชน์ของชุดกิจกรรม ไว้ดังนี้

กุศยา แสงเดช (2545 : 10-11) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของชุดกิจกรรม ไว้ดังนี้

1. ช่วยให้กระบวนการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ

2. ช่วยลดภาระของครูผู้สอน

3. ช่วยให้ความรู้ในแนวเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้สอนคนใด

4. มีจุดมุ่งหมายที่เป็นพฤติกรรมชัดเจน

5. ทำให้ผู้เรียนสามารถทดสอบด้วยตนเองหลังเรียน

สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ (2545 : 57-58) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของ ชุดกิจกรรม ไว้ดังนี้

1. ส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล โดยผู้เรียนสามารถเรียนได้ ตามความ สามารถ ความสนใจ ตามเวลาและโอกาสที่เหมาะสมของแต่ละคน

2. แก้ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน เพราะชุดกิจกรรมช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง และต้องการความช่วยเหลือจากครูผู้สอนไม่มาก

3. ส่งเสริมการจัดการศึกษานอกโรงเรียนและการจัดการศึกษาตลอดชีวิต เพราะผู้เรียนสามารถนำเอาชุดกิจกรรมไปใช้ได้ทุกสถานที่และทุกเวลาไม่จำกัดชั้นเรียน

4. สร้างความมั่นใจและช่วยลดภาระของผู้สอน

5. ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีโอกาสฝึกการตัดสินใจและการทำงานร่วมกับกลุ่ม

6. ช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้รับความรู้แนวเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ

อภิญญา เคนบุปผา (2546 : 26) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของชุดกิจกรรม ไว้ว่า ชุดกิจกรรมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนของครู และส่งเสริมการเรียนของนักเรียนให้เกิดการ

35

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาและปฏิบัติกิจกรรม จากชุดกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญผู้เรียนจะมีส่วนร่วมใน การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามความสามารถของแต่ละบุคคล ทำให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายที่จะเรียน แต่มีความกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนมีโอกาสในการฝึกทักษะปฏิบัติในด้านต่างๆ ได้ด้วย

ธงชัย ต้นทัพไทย (2548 : 15) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของชุดกิจกรรม ไว้ว่า เป็นสื่อ การสอนที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สอน และส่งเสริมพัฒนาให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีโอกาสฝึกปฏิบัติ และแสดงความคิดอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ตามศักยภาพ ของแต่ละบุคคลได้อย่างเต็มความสามารถ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะสมบูรณ์ทั้งด้านความรู้เป็นคนดี และมีความสุข เสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตรกับผู้อื่นจากการศึกษาประโยชน์ของชุดกิจกรรม สรุปได้ว่า ชุดกิจกรรมมีประโยชน์คือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนของครู เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเองเต็มศักยภาพสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ การคิด การปฏิบัติการแก้ปัญหา ลดบทบาทของครูผู้สอนและสะดวกต่อการนำไปใช้

สุคนธ์ สินธพานนท์ (2551 ข : 21- 22) กล่าวถึงประโยชน์ของชุดกิจกรรม ไว้ดังนี้

1. ผู้เรียนได้ใช้ความสามารถในการศึกษาความรู้ในชุดกิจกรรมด้วยตนเอง เป็นการฝึกทักษะในการแสวงหาความรู้ ทักษะการอ่าน และสรุปความรู้อย่างเป็นระบบ

2. การทำแบบฝึกหัด แบบฝึกทักษะการเรียนรู้ และแบบฝึกทักษะการคิด ท้ายชุดกิจกรรม ทำให้ผู้เรียนรู้จักคิดเป็นแก้ปัญหาเป็น สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา ที่กำหนดโดย สมศ.

3. ผู้เรียนมีวินัยในตนเอง จากการที่ผู้เรียนทำตามคำสั่งในขั้นตอนต่างๆ ที่กำหนดในชุดกิจกรรม การตรวจแบบฝึกหัด แบบฝึกทักษะการเรียนรู้ หรือใบงานด้วยตนเองนั้นทำให้ผู้เรียนรู้จักฝึกตนเองให้ทำตามกติกา

4. ผู้เรียนรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน เป็นการ ฝึกความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย

5. การใช้ชุดกิจกรรมนั้นสามารถศึกษานอกเวลาเรียนได้ ขึ้นอยู่กับการออก แบบของผู้สอนที่เอื้อต่อการศึกษาด้วยตนเอง

วันดี ปรางทอง (2553 : 43) กล่าวถึงประโยชน์ของชุดกิจกรรม ไว้ว่า ชุดิจกรรม เป็นสื่อที่ช่วยครูผู้สอนในการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาไปสู่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยตอบสนองความต้องการและความสามารถของผู้เรียนแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ตาม

36

เป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งชุดกิจกรรมแต่ละประเภทจะมี คำแนะนำวิธีการใช้และการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างมีระบบ มีขั้นตอนจากง่ายไปสู่ยาก และที่สำคัญ คือ ประกอบด้วยสื่อการสอนหลายๆ ชนิดที่สอดคล้องกับเนื้อหา อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดี และรวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จได้ด้วยตนเอง และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทั้งนี้เพราะชุดกิจกรรมได้มีการกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่แน่นอนและชัดเจนในการที่จะให้ผู้เรียนทำกิจกรรมและแสดงพฤติกรรมเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการจะประเมิน นอกจากนี้ ชุดกิจกรรมยังช่วยลดภาระให้ครูทำให้ครูมีเวลาในการเตรียมการสอนและศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของครู

สรุปได้ว่า ชุดกิจกรรมมีประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน โดยแบ่งออกเป็นประโยชน์ด้านผู้เรียน และประโยชน์ด้านผู้สอน

ประโยชน์ด้านผู้เรียน ผู้เรียนได้ศึกษาตามความสามารถและความสนใจ ผู้เรียนได้รับความรู้ในแนวเดียวกัน อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน ผู้เรียนรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นของกันและกันเป็นการ ฝึกความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนได้ทราบความสำเร็จของตนเองในทันที ผู้เรียนได้ค้นคว้าด้วยตนเอง ช่วยเร้าความสนใจของนักเรียนต่อสิ่งที่กำลังศึกษา สามารถศึกษานอกเวลาเรียนได้มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น ผู้เรียนจำนวนมากได้รับความรู้แนวเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ด้านครู ครูสามารถถ่ายทอดเนื้อหาวิชาที่สลับซับซ้อนและเป็น นามธรรมให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้น แก้ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน สร้างความมั่นใจและ ช่วยลดภาระของผู้สอนเอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของครู ช่วยให้ครูผู้สอนถ่ายทอดเนื้อหาและประสบการณ์ที่สลับซับซ้อนเป็นนามธรรมสูงให้เข้าใจรวดเร็วขึ้น

6. การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม

มีนักการศึกษาได้กล่าวถึงความสำคัญของการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม ไว้ดังนี้

วาโร เพ็งสวัสดิ์ (2546 : 42 – 45) เสนอเกณฑ์ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมว่าเป็นระดับประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นระด

โพสต์โดย : [10 ก.ย. 2564 เวลา 13:30 น.]
อ่าน [2370] ไอพี : 1.46.0.120
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 13,553 ครั้ง
การทำบุญสะเดาะเคราะห์
การทำบุญสะเดาะเคราะห์

เปิดอ่าน 11,902 ครั้ง
เสริมสร้างความเข้าใจและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการคิดแบบปิงปองดูสิ
เสริมสร้างความเข้าใจและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการคิดแบบปิงปองดูสิ

เปิดอ่าน 11,110 ครั้ง
ทายนิสัยจากการเล่นเกมส์
ทายนิสัยจากการเล่นเกมส์

เปิดอ่าน 33,518 ครั้ง
คู่มือเรียนรู้และปฏิบัติการ การวิจัยในชั้นเรียน พลศึกษา
คู่มือเรียนรู้และปฏิบัติการ การวิจัยในชั้นเรียน พลศึกษา

เปิดอ่าน 15,597 ครั้ง
ลายมือนักธุรกิจเงินล้าน
ลายมือนักธุรกิจเงินล้าน

เปิดอ่าน 7,619 ครั้ง
เคล็ดลับเรียนแล้วรวย
เคล็ดลับเรียนแล้วรวย

เปิดอ่าน 8,059 ครั้ง
วิตามินไม่ป้องกันโรคหัวใจ คนทั่วโลกเป็นล้านหลงกินกันมานมนาน
วิตามินไม่ป้องกันโรคหัวใจ คนทั่วโลกเป็นล้านหลงกินกันมานมนาน

เปิดอ่าน 13,253 ครั้ง
กินผักตามฤดู 12 เดือน
กินผักตามฤดู 12 เดือน

เปิดอ่าน 9,923 ครั้ง
สิ่งที่ลูกได้จากน้ำนมแม่
สิ่งที่ลูกได้จากน้ำนมแม่

เปิดอ่าน 10,951 ครั้ง
12 สุขลักษณะ การนอนที่ดี
12 สุขลักษณะ การนอนที่ดี

เปิดอ่าน 81,004 ครั้ง
"ครูผู้เสียสละ" ภาพยนตร์สั้นเชิดชูพระคุณครู เนื่องในวันครู พ.ศ.2563 โดย เซเว่นอีเลฟเว่น
"ครูผู้เสียสละ" ภาพยนตร์สั้นเชิดชูพระคุณครู เนื่องในวันครู พ.ศ.2563 โดย เซเว่นอีเลฟเว่น

เปิดอ่าน 14,468 ครั้ง
เผยโฉมสาวงามทั่วโลกชิง มิสยูนิเวิร์ส 2009
เผยโฉมสาวงามทั่วโลกชิง มิสยูนิเวิร์ส 2009

เปิดอ่าน 12,304 ครั้ง
ชำแหละ"กล้องสปาย"สู่ขบวนการทุจริตสอบแพทย์
ชำแหละ"กล้องสปาย"สู่ขบวนการทุจริตสอบแพทย์

เปิดอ่าน 9,055 ครั้ง
ฝึกหายใจให้หายง่วง
ฝึกหายใจให้หายง่วง

เปิดอ่าน 15,106 ครั้ง
อะไรคือ "คุณภาพแท้" ของการศึกษา
อะไรคือ "คุณภาพแท้" ของการศึกษา

เปิดอ่าน 28,885 ครั้ง
SCORM (Shareable Content Object Reference Model)
SCORM (Shareable Content Object Reference Model)
เปิดอ่าน 19,342 ครั้ง
(ก.ค.ศ.)การจ่ายค่าตอบแทนมีความสำคัญยิ่งในฐานะเป็นหน้าที่หลักประการหนึ่งของหน่วยงาน
(ก.ค.ศ.)การจ่ายค่าตอบแทนมีความสำคัญยิ่งในฐานะเป็นหน้าที่หลักประการหนึ่งของหน่วยงาน
เปิดอ่าน 20,236 ครั้ง
"ข้าวลืมผัว"อร่อยจนลืมผัว ข้าวชาวเขา ที่ชาวเมืองก็ควรกิน
"ข้าวลืมผัว"อร่อยจนลืมผัว ข้าวชาวเขา ที่ชาวเมืองก็ควรกิน
เปิดอ่าน 26,765 ครั้ง
ลักษณะวลีและประโยคพื้นฐาน
ลักษณะวลีและประโยคพื้นฐาน
เปิดอ่าน 9,255 ครั้ง
ออกกำลังกายตามอารมณ์
ออกกำลังกายตามอารมณ์

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ