ชื่อรายงานเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำหรับ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้รายงาน ทิวารัตน์ ชาติพันธ์
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านจับใจความ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นวิธีการเรียนที่สามารถ
สนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของการเรียนภาษาไทย ได้เป็นอย่างดีเพราะมีกระบวนการที่
น่าสนใจ อีกทั้งยังเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะทางภาษาด้านการฟัง การอ่าน การพูด การเขียนและการดู
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของศึกษา (1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านจับใจความ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
(2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน
จับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย
กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียน
บ้านปูลากาป๊ะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 จำนวน 1 ห้องเรียน
จำนวน 17 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เพราะเป็นห้องที่ผู้ศึกษา
รับผิดชอบสอน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาค้นคว้าได้แก่ (1) แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย การอ่าน
จับใจความ ชั้นประถมศึกษาปีที่5 จำนวน 7 ชุด (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน
และหลังเรียนแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน
30 ข้อ (3) แบบประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะ
การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่สร้างขึ้นโดยค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ ศึกษาจาก
หลักสูตรสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ
ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (

) สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t test
(Dependent Samples)
จากการศึกษาการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า
ก
1 ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านจับใจความ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.11/83.70 ซึ่งสูงกว่า
เกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80
2 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของ
นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน ( เฉลี่ย = 25.11)
สูงกว่าก่อนเรียน (เฉลี่ย=19.98) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าเมื่อนักเรียนเรียน
ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยแล้วนักเรียนมีความรู้สูงขึ้น
3. ผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อ
แบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีความพึงพอใจโดยรวม
อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่ารวมเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวม
เฉลี่ย เท่ากับ 0.14