ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โรงเรียนชุมชนบ้านเกาะสมอ(สามัคคีวิทยา)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1
ผู้ศึกษา นางลัดดาวัลย์ ทัพกิฬา ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านเกาะสมอ(สามัคคีวิทยา)
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โรงเรียนชุมชนบ้านเกาะสมอ(สามัคคีวิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โรงเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านเกาะสมอ(สามัคคีวิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model โดยประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืนและด้านการถ่ายทอดส่งต่อ
โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวนทั้งสิ้น 279 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โรงเรียนชุมชนบ้านเกาะสมอ(สามัคคีวิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า
1. การประเมินด้านบริบท พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ
โครงการโรงเรียนปลอดขยะมีความสำคัญและจำเป็นต้องดำเนินการในสถานการณ์ปัจจุบัน
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
คือ บุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกรรมตามโครงการ
3. การประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อที่มีค่าเฉลี่ย
สูงสุด คือ มีการบูรณาการจัดการขยะกับกิจกรรมการเรียนการสอนและทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ของนักเรียน
4. การประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ
นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมีทักษะและปฏิบัติตนในการจัดการขยะที่ถูกวิธีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
4.1 การประเมินด้านผลกระทบ พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รายข้อที่มี
ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนมีบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่สะอาด เป็นระเบียบ น่าอยู่ น่าเรียน
4.2 การประเมินด้านประสิทธิผล พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก รายข้อที่มีค่าเฉลี่ย
สูงสุด คือ นักเรียนคัดแยกขยะและปฏิบัติตนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมได้
4.3 การประเมินด้านความยั่งยืน พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก รายข้อที่มีค่าเฉลี่ย
สูงสุด คือ นักเรียนนำกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
4.4 การประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก รายข้อที่มี
ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนสามารถบอกเล่าวิธีการจัดการขยะที่ถูกวิธีแก่เพื่อน ครู ผู้ปกครอง
หรือคนอื่น ๆ ได้