ผู้ประเมิน นายสุพจน์ แก้วกับทอง
ผู้อำนวยการโรงเรียนนิคมสงเคราะห์
ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการระบบดูแลดี นักเรียนมีสุข โรงเรียนนิคมสงเคราะห์ ปีการศึกษา 2563 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลดี นักเรียนมีสุขตามรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ใน 4 ด้าน คือ บริบทของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการ กระบวนการดำเนินโครงการ และผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 25 คน กรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 250 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 250 คน รวมทั้งสิ้น 540 คน เก็บรวบรวมข้อมูล ก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และหลังดำเนินโครงการ โดยใช้เครื่องมือในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ และแบบบันทึก จำนวน 2 ฉบับ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป มีผลการประเมิน และข้อเสนอแนะ ดังนี้
ผลการประเมินโครงการระบบดูแลดี นักเรียนมีสุข โรงเรียนนิคมสงเคราะห์ ปีการศึกษา 2563 พบว่า ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ส่วนผลของการประเมินในภาพรวมของแต่ละด้าน และรายตัวชี้วัด มีดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายตัวชี้วัดมีผลการประเมินดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นของการดำเนินโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
1.2 ความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
1.3 ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับรายตัวชี้วัด มีผลการประเมิน ดังนี้
2.1 ความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
2.2 ความรู้ความเข้าใจของครูในการดำเนินงานโครงการระบบดูแลดี นักเรียนมีสุขพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
2.3 ความเพียงพอของเอกสาร เครื่องมือในการดำเนินโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และในส่วนของรายตัวชี้วัด มีผลการประเมิน ดังนี้
3.1 การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
3.2 ความสามารถของครูในการดำเนินงานโครงการการระบบดูแลดี นักเรียนมีสุขพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
3.3 การนิเทศ กำกับ ติดตาม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายตัวชี้วัดมีผลการประเมิน ดังนี้
4.1 จำนวนนักเรียนที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
4.4 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด