1. สภาพปัญหา / ความจำเป็น / ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
สพฐ.ได้กำหนดกลยุทธพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อเร่งรัด ส่งเสริมและพัฒนาให้สถานศึกษามีกลยุทธในการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้ แต่จากผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่าน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1พบว่ามีนักเรียนจำนวน 9 คนจากจำนวนทั้งหมด 14 คน มีผลการทดสอบอยู่ในระดับพอใช้และดีและผู้เรียนกลุ่มนี้ยังอ่านคำที่มีสระลดรูปหรือเปลี่ยนรูป ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา อักษรนำและการอ่านข้อความได้ไม่เป็นไปตามมาตราฐานของหลักสูตร
ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส(โควิด19)ยังมีการแพร่ระบาดอยู่ในวงกว้างทางโรงเรียนศรีภิรมย์พิทยาจึงได้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ 0n hand ,On lineและ On demand เพื่อป้องการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส (โควิด19) จากปัญหาที่พบคือนักเรียนมีปัญหาคือ ไม่สามารถอ่านได้ตามศักยภาพรายบุคคลที่ควรจะเป็น
ดังนั้นครูจึงต้องแก้ไขและพัฒนาการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
โดยการคิดค้นนำนวัตกรรมการอ่านแบบสะกดคำมาจัดกิจกรรมในรูปแบบ On hand มาใช้ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของนักเรียน
2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 จำนวน 15 คน อ่านออก ได้ตามศักยภาพรายบุคคลที่ควรจะเป็น
เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 จำนวน 15 คน อ่าน ได้ตามศักยภาพรายบุคคลระดับดีขึ้นไป
3. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน ประยุกต์ใช้วงจร PDCA
3.1 ขั้นวางแผนปฏิบัติงาน (P) เป็นขั้นตอนการจัดทำแผนในการสร้างชุดทักษะการอ่านแบบสะกดคำ กลุ่มสาระภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ดังนี้
3.1.1 วิเคราะห์หลักสูตร เกี่ยวกับการสอดคล้องมาตรฐานตัวชี้วัดสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น กำหนดหน่วยการเรียนรู้ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
3.1.2 ออกแบบการจัดกิจกรรมโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะและสร้างชุดฝึกทักษะการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษไทย
3.1.3 กำหนดวิธี เครื่องมือ และเกณฑ์การวัดผลประเมินผล โดยการประเมินผลงาน ชิ้นงาน
3.2.ขั้นตอนการทำตามแผน (D) จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านแบบสะกดคำ และกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ดังนี้
1. ขั้นสร้างความสนใจ
2. ขั้นสำรวจและค้นคว้า
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
4. ขั้นขยายความรู้
5. ขั้นประเมิน
3.3 ขั้นตรวจสอบผลและประเมินผล (C)
3.3.1 ประเมินผลงานนักเรียน
3.3.2 ประเมินพฤติกรรมการทำงานของนักเรียน
3.3.3 บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
3.3.4 เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล แปลความหมาย
3.3.5 จัดทำรายงานผลการจัดการเรียนรู้
3.4 ขั้นนำผลการประเมินมาปรับปรุง(A)
3.4.1 ปรับปรุงชุดฝึกทักษะให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันมากขึ้น
3.4.2 ปรับปรุงชุดฝึกทักษะให้สอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระภาษไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 เป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้ที่ต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการอ่านคำ กลุ่มสาระภาษาไทยและกลุ่มอื่น ๆ ครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของตนหรือพัฒนาเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้
4.2 เป็นสื่อที่ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนจากกิจกรรมง่าย ๆ และเหมาะสมกับเนื้อหาตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
4.3 เป็นสื่อที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองหรือเป็นกลุ่มเพื่อสร้างทักษะชีวิตและทักษะทางสังคม
4.4 เป็นสื่อที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มเติม ได้องค์ความรู้ทางวิชาภาษาไทย เกิดความสนใจใฝ่รู้ รู้จักสืบเสาะหาความความรู้ ไปพร้อม ๆ กับบุตรหลาน
4.5 เป็นสื่อที่ผู้ปกครองสามารถใช้สอนบุตรหลานให้ได้ฝึกทักษะการอ่าน
5. ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
5.1 บุคลากรที่มีส่วนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ คือผู้บริหาร โรงเรียนที่มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายตามศักยภาพของผู้เรียนส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้จัดทำสื่อ/นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
5.2 .ใช้หลักการจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม โดยอาศัยความร่วมมือของผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครองและชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5.3 ผู้บริหาร ให้การนิเทศ ติดตามอย่างกัลยาณมิตร สนับสนุนการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
6. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
ชุดฝึกพัฒนาการอ่านแบบสะกดคำ ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติอย่างมีระบบส่งผลให้พัฒนาคุฯภาพผู้เรียน พัฒนาทักษะกระบวนการคิดผสมผสาน วิทยาการใหม่ในการศึกษาหาความรู้ ความจริงจนได้ข้อสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ และองค์ความรู้ที่ได้อาจกลายเป็นผลงานเชิงสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นความรู้ที่คงทนตลอดไป
7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
ได้มีการเผยแพร่ผ่านช่องทางเว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม