ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียน คลองตาจ่า (คงจีบอุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม
ชื่อผู้ประเมิน นางสาววรรณธิษา นวลเอียด
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียน คลองตาจ่า (คงจีบอุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนคลองตาจ่า (คงจีบอุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2562 โดยใช้รูปแบบการประเมินไอโป (IPOO) (พิสณุ ฟองสี, 2549 : 77) ซึ่งครอบคลุม 4 ด้าน คือ
ด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input : I) ด้านกระบวนการ (Process : P) ด้านผลผลิต (Outputs : O) และด้านผลลัพธ์ (Outcomes : O) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ที่ไม่ใช่ผู้แทนครูและผู้บริหารสถานศึกษา) จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนคลองตาจ่า (คงจีบอุทิศ) จำนวน 40 คน รวมประชากรทั้งหมด 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการจำนวน 4 ฉบับ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมิน ด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input : I) ในภาพรวม พบว่า ระดับความเหมาะสม
อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ บุคลากร รองลงมา คือ รูปแบบการจัดกิจกรรม และทรัพยากร วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ งบประมาณ
2. ผลการประเมิน กระบวนการดำเนินงาน (Process : P) ในภาพรวม พบว่าระดับปฏิบัติ
อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ กระบวนการวางแผนกำหนดงาน/ปฏิทินปฏิบัติงาน รองลงมา คือ การดำเนินกิจกรรมตามแผนและการปรับปรุงและรายงานผล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การกำกับนิเทศติดตามและประเมินผล
3. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Outputs : O) ของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนคลองตาจ่า (คงจีบอุทิศ ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2562 พบว่า 3.1) ผลการประเมินระดับสถานศึกษาในปีการศึกษา 2562
มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ปีการศึกษา 2561 ร้อยละ 1.80 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ 3.2) ผลการประเมินระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test : O-NET) ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 เปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ย ปีการศึกษา 2561 พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.3.44 ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ 3.3) ผลการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมทั้งสองด้านสูงกว่าระดับเทศ ร้อยละ 0.50 ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ 3.4) ผลการประเมินความสามารถการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 เปรียบเปรียบกับ ปีการศึกษา 2562 พบว่า ภาพรวม เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.58 ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
4. ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcomes : O) รายการความพึงพอใจที่มีต่อผลการดำเนินโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ในโครงการ ส่งเสริมให้นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ในโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และนักเรียนมีผลการประเมินระดับชาติสูงขึ้นกว่าปีการศึกษา
ที่ผ่านมาส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาสูงขึ้น
กว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา