ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ เพื่อพัฒนาความ
สามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓
(วิมุกตายนวิทยา)
ผู้วิจัย มูร๊ะ รอเกตุ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์ โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 ห้อง ได้แก่ ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 จำนวน 31 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 จำนวน 30 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 จำนวน 30 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 จำนวน 30 คน ชั้นอนุบาล
ปีที่ 3/5 จำนวน 29 คน และชั้นอนุบาลปีที่ 3/6 จำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 180 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ เพื่อพัฒนา ความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) จำนวน 1 ฉบับ 2) รูปแบบการจัดประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ เพื่อพัฒนา ความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) 3) ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 6 ชุด 4) แผนการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 6 หน่วยการเรียนรู้รวม 30 แผน 5) แบบวัดความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยรูปภาพ จำนวน 4 ชุด ชุดละ 10 ข้อ รวม 40 ข้อ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ค่า t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ เพื่อพัฒนา ความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) ประกอบด้วยการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารรายละเอียดและประเด็นคำถาม การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) มีประเด็นคำถาม ดังนี้ 1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 3) แผนยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ.2560 -2579) 4) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 5) การพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัยสอดคล้องกับมาตรฐานที่ 9 และ มาตรฐานที่ 12 6) ประสบการณ์สำคัญเกี่ยวกับการใช้ภาษา 7) หลักการจัดกิจกรรมประจำวันของเด็กปฐมวัย 8) แผนการสอนภาษาแบบธรรมชาติ 9) บทบาทของครูในการสอนภาษาแบบธรรมชาติ 10) แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 11) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ 12) แนวคิดไฮ/สโคป 13) ทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคมของไวก๊อทสกี้ 14) การจัดประสบการณ์แบบเรกจิโอเอมิเลีย และ15) สภาพปัจจุบันปัญหาทางภาษาในเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างและทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ เพื่อพัฒนา ความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) ได้ตามสภาพจริง
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ เพื่อพัฒนา ความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) มีขั้นตอนที่สร้างขึ้น มีชื่อว่า ECDSA Model (อีซีดีซ่า โมเดล) ประกอบด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ (Engagement : E) ขั้นที่ 2 ขั้นเผชิญสถานการณ์ (Confrontation of events : C) ขั้นที่ 3 ขั้นลงมือปฏิบัติ (Doing : D) ขั้นที่ 4 ขั้นแลกเปลี่ยนและสรุป (Share and conclusion : S) และ ขั้นที่ 5 ขั้นการประยุกต์ใช้และประเมินผล (Application and assessment : A) มีประสิทธิภาพ(E1/E2) เท่ากับ 82.51/83.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการประเมินความสามารถทางภาษาก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติโดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ภาษาแบบธรรมชาติ เพื่อพัฒนาความสามารถ
ทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก