วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)โรงเรียนขุขันธ์วิทยาการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ KHUKHANWIT MODEL ยึดหลักวงจรการทำงานแบบ PDCA ในการขับการแก้ปัญหานักเรียนปลอด 0, ร, มส ,มผ และกรณีเรียนซ้ำ
วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
1. ความสำคัญและสภาพปัญหา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตร ๖
การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม
มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มาตรา ๗ ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกของความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก
ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐานรวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษา ต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการวัดผลประเมินผลของโรงเรียนขุขันธ์วิทยา พบว่ามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำ นักเรียนมีผลการเรียน เป็น 0, ร, มส , มผ และกรณีเรียนซ้ำ ในหลายวิชาจำนวนหลายคนซึ่งทำให้นักเรียนและครูผู้สอนต้องดำเนินการในการสอบแก้ตัวหลังจากการประกาศผลการสอบแล้ว ส่งผลให้นักเรียนที่มีปัญหาทางด้านการเรียนมีผลกระทบต่อการจบการศึกษาไม่พร้อมเพื่อนร่วมรุ่น และกรณีนักเรียนออกกลางคัน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้นักเรียนในสภาพดังกล่าว อาจมีสาเหตุมาจาก ความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนเอง หรือการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนใช้สื่อที่ไม่เกิดหน้าสนใจ ไม่กระตุ้นให้มีแรงจูงใจในการเรียนรู้ การติดตามดูแลของครูที่ปรึกษาไม่ต่อเนื่อง ตลอดถึงการเอาใจใส่และการให้ความร่วมมือ ในการแก้ปัญหาของผู้ปกครองเกี่ยวกับตัวนักเรียน ด้วยปัญหาดังกล่าว โรงเรียนขุขันธ์วิทยา มีแนวคิดว่า บริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ KHUKHANWIT MODEL ยึดหลักวงจรการทำงานแบบ PDCA ในการขับ ตามกระบวนการเรียนรู้ Project Approach จัดประสบการณ์เรียนรู้แบบโครงการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ Project Integration learning : PILจัดการเรียนการสอนรู้แบบโครงงานบูรณาการสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียน และให้คำปรึกษาในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น เกิดทักษะการเรียนรู้ การลงมือปฏิบัติ คิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีอุปนิสัยที่ดีในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและมีผลงานเชิงประจักษ์
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนขุขันธ์วิทยา จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Project Approach จัดประสบการณ์เรียนรู้แบบโครงการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ Project Integration learning : PIL จัดการเรียนการสอนรู้แบบโครงงานบูรณาการสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน บริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ KHUKHANWIT MODEL ยึดหลักวงจรการทำงานแบบ PDCA ในการขับ มาบูรณาการจัดการเรียนรู้ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อหามาตรการในการดูแลช่วยเหลือและกระตุ้นผู้เรียนที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ให้สนใจในการเรียนและมีผลการเรียนที่ดีขึ้น ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ได้ประชุมหารือและปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน พร้อมให้ข้อเสนอแนะ แลกเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ปัญหา นักเรียนให้ปลอด 0, ร, มส , มผ และกรณีเรียนซ้ำ
2. แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นโรงเรียนได้ตระหนักถึงมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ.2553 ได้บัญญัติไว้ว่าการจัดการศึกษาต้อง ยึดหลักว่านักเรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่านักเรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ โดยในการแก้ปัญหาดังกล่าว โรงเรียนได้ศึกษาถึงสาเหตุของปัญหานักเรียนมีผลการเรียนเป็น 0, ร, มส , มผ และกรณีเรียนซ้ำ เพื่อจะนำมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา โดยแบ่งได้ 5 สาเหตุ ได้แก่
1) สาเหตุจากการบริหารงานวิชาการด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูผู้สอน ขาดการนิเทศติดตามที่เป็นรูปธรรม
2) สาเหตุจากครูผู้สอน ด้านการติดตามผลคะแนนสอบของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ หรือตัวชี้วัด ติดตามผลคะแนนของภาระงานหรือชิ้นงานที่มอบหมายให้นักเรียนปฏิบัติ ตลอดถึงไม่ได้ดำเนินการในการสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนกรณีนักเรียนมีการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ ไม่ได้ติดตามดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคล ไม่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้สอนท่านอื่นหรือผู้ปกครอง เพื่อร่วมกันวางแผนแก้ปัญหา
๓) สาเหตุจากครูที่ปรึกษา ด้านการดูแลติดตามในด้านพฤติกรรม และด้านการเรียนของนักเรียนไม่ต่อเนื่อง ทำให้นักเรียนที่มีปัญหาไม่ได้ดำเนินการแก้ไข
๔) สาเหตุจากนักเรียน นักเรียนบางคนอาจมีสมรรถนะในการเรียนรู้ไม่เท่ากับเพื่อนคนอื่น มีการรับรู้ที่ช้าขาดสมาธิ ขาดความตั้งใจเรียน ใช้เวลาว่างไม่เป็นประโยชน์ เรียนโดยไม่มีเป้าหมาย ขาดเรียนบ่อยและที่สำคัญที่สุดของตัวนักเรียนคือขาดความรับผิดชอบ
5) สาเหตุจากผู้ปกครอง ซึ่งไม่ค่อยมีเวลาเอาใจใส่ในการเรียนของนักเรียน แต่จะมีเวลาให้ก็ต่อเมื่อนักเรียนมีแนวโน้มที่จะไม่จบการศึกษา ซึ่งอาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ส่งผลให้นักเรียนไม่จบการศึกษาหรือต้องออกเรียนกลางคัน
จากสาเหตุของปัญหาดังกล่าวนั้น ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ ครูที่ปรึกษาและครูผู้สอนของโรงเรียนขุขันธ์วิทยา ได้ตระหนักและมีแนวคิดว่า โรงเรียนควรมีมาตรการดำเนินการในการแก้ปัญหา โดยดำเนินการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ KHUKHANWIT MODEL ยึดหลักวงจรการทำงานแบบ PDCA ในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาดังนี้
ขั้น Plan (P) เป็นการวางแผนและออกแบบนวัตกรรมและการดำเนินกิจกรรม โดยมีวิธีการหรือแผนปฏิบัติงานที่มุ่งบรรลุผลองค์กร ตามสภาพปัญหาและความต้องการ
ขั้น Do ( D ) โดยดำเนินการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ KHUKHANWIT MODEL
ให้เหมาะสมกับความพร้อมและบริบทของโรงเรียนขุขันธ์วิทยา โดยอาศัยหลักการสร้างสมรรถนะผู้เรียน 1๐ ประการ ประกอบด้วย
K (Knowledge) : ด้านความรู้
H (Heartily) : ด้านมุ่งมั่นทำงาน
U (Unity) : ความเกื้อกูล
K (Kidness) : ความมีน้ำใจ
H (Habbit) : ด้านอุปนิสัยที่ดี
A (Action) : การปฏิบัติจริง
N (Noble) : ความมีคุณธรรม
W (World Citizen) : การเป็นพลโลก
I (Integration) : การบูรณาการ
T (Teachnology) : ด้านเทคโนโลยี
เป็นการดำเนินการตามที่ได้วางแผนไว้โดยถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร โดย อาศัยแนวคิดที่สำคัญ 3 ประการคือ
1. หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( School Based Management )
2. หลักการพัฒนาคุณภาพนักเรียน (Learner Development)
๓. หลักการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ( Education Quality Assurance)
ทั้งนี้ได้มีการดำเนินงานตามขั้นตอนและแผนงานที่วางไว้อย่างถูกต้องครบถ้วน มีการกำหนดหน้าที่และมอบหมายความรับผิดชอบของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องและมีการปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจ โดยพยายามไปสู่ความสำเร็จ
ขั้น Check ( C) เป็นการตรวจสอบประเมินและการปรับปรุง ในการประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงานและการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยประเมินจากคุณภาพของผู้เรียน เพื่อปรับปรุงแนวทางการดำเนินการให้ดีขึ้น โดยได้มีการติดตามประเมินผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินผลลัพธ์เทียบกับค่าเป้าหมายทั้งตัววัดระหว่างการดำเนินการและผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ เพื่อการแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการปรับปรุงที่ดีขึ้นในองค์กรอย่างเป็นระบบ
ขั้น Action ( A ) เป็นการนำผลการประเมินที่ใช้แนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการของสถานศึกษาตามที่ระบุไว้ตามแผนพัฒนาคุณภาพ เพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ของสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นที่คุณภาพของผู้เรียน