ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน การเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม
ผู้วิจัย นางนริศรารัตน์ ชัยภูริโภคหิรัญ
ตำแหน่ง รองผู้อานวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อานวยการชานาญการพิเศษ
สถำนศึกษำ โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ตาบลไพรบึง อาเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงมหาดไทย
ปีกำรศึกษำ ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางในการเสริมสร้างทักษะอาชีพ การใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) และการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีขั้นตอน 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทาง ในการเสริมสร้างทักษะอาชีพ การใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ ขั้นที่ 1 ผลการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางในการเสริมสร้างทักษะอาชีพ การใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ ระยะที่ 2 เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 1 ผลการสร้างรูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนไพรวิทยาคม ขั้นที่ 2 ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 1 ผลการทดลองใช้รูปแบบ ขั้นที่ 2 ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบ ระยะที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 1 การประเมินผลการใช้รูปแบบ ขั้นที่ 2 การศึกษาข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร ครู นักเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม จานวน 66 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 ที่ร่วมกิจกรรม การเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปีการศึกษา 2563 จานวน 977 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้ผู้บริหาร ครู และนักเรียนทั้งหมดในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ รูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นชนิด
มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าอานาจจาแนกอยู่ระหว่าง 0.25 0.89 และมีค่า
ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x ) ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา พบว่า โรงเรียนมีการเรียนรู้ผ่าน ประสบการณ์ปฏิบัติ และ
การพัฒนาทักษะคิด โดยสอดแทรกกระบวนการทางจิตใจ และกระบวนการคิดที่ตระหนักรู้ต่อ
สิ่งแวดล้อมตามบริบท ที่เป็นจริง แต่ยังไม่มีรูปแบบที่เป็นรูปธรรมในการใช้หลักสูตร การจัดการเรียนรู้
และการวัดและประเมินผล ส่วนทักษะชีวิตและอาชีพ ประกอบด้วย 1) ความยืดหยุ่นและความสามารถ
ในการปรับตัว (Flexibility and Adaptability 2) การริเริ่มและการกากับดูแลตนเองได้ (Initiative
and Self-Direction) 3) ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม (Social and Cross-Cultural
Skills) 4) การมีผลงานและความรับผิดชอบตรวจสอบได้ (Productivity and Account ability
5) ภาวะผู้นาและความรับผิดชอบ (Leadership and Responsibility) ซึ่งสามารถพัฒนาได้ด้วยการ
จัดการเรียนรู้แบบใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการ
เรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีองค์ประกอบสาคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) ความ
เป็นมาและความสาคัญ 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 5) การวัดและ
ประเมินผล ซึ่งมีกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ (Concrete
Experience : CE) 2) การสะท้อนการเรียนรู้/ทบทวนการเรียนรู้ (Reflective Observation : RO) 3)
การสรุปองค์ความรู้ (Abstract Conceptualization : AC) และ 4) การประยุกต์ใช้ความรู้ (Active
Experimentation : AE) และบูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยความ
พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และ 2 เงื่อนไข คือ มีคุณธรรม นาความรู้ ซึ่งมีผลการประเมินรูปแบบ
ในภาพรวม อยู่ในระดับ มาก ( x = 4.52, S.D. = 0.71)
3. ผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้
(CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า
3.1 สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูที่ใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและ
อาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิต
และอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูงกว่าเกณฑ์
ที่ตั้งไว้
3.3 ผลการประเมินทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.56, S.D. = 0.72)
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็น
ฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.52,
S.D. = 0.55)