ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความ
สามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย อรอุมา ธรรมประดิษฐ์
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๓
(วิมุกตายนวิทยา) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส จำนวนทั้งสิ้น 180 คน ได้แก่ ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 จำนวน 31 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 จำนวน 30 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 จำนวน 30 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 จำนวน 30 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 3/5 จำนวน 29 คน และชั้นอนุบาลปีที่ 3/6 จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กชายและหญิงชั้นอนุบาลปีที่ 3/5 จำนวน 29 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) จำนวน 1 ฉบับ 2) รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) 3) กิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 30 กิจกรรม 4) แผนการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 30 แผน 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดรวบยอดก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 4 ชุด และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ ความแตกต่างโดยใช้ค่า t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) ประกอบด้วยการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานจากการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) โดยมีประเด็นคำถาม ดังนี้ 1) สภาพปัญหา อุปสรรคในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) แผนยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579) 3) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 54 ได้กล่าวถึง รัฐต้องดำเนินการ ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพ
โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย 4) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี) 5) คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช (สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี) 6) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ (Piagets Theory of intellectual development) 7) ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism Theory) 8) ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning Theory) 9) แนวทางการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H 10) แนวคิดรูปแบบการจัดประสบการณ์ และ 11) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning Model) สร้างและทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิด 4H ที่สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ได้ตามสภาพจริง
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีขั้นตอนที่สร้างขึ้น มีชื่อว่า PM5E Model (พีเอ็มฟายฟ์อี โมเดล) 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมสู่การเรียนรู้ (Preparation Stage : P) ขั้นที่ 2 การสร้างความสนใจ (Engagement Stage : E) ขั้นที่ 3 การสำรวจและค้นหา (Exploration Stage : E) ขั้นที่ 4 การอธิบายและสรุป (Explanation Stage : E) ขั้นที่ 5 จดจำสิ่งที่เรียนรู้ (Memory Formation Stage : M) ขั้นที่ 6 การประเมินผล (Evaluation Stage : E) และขั้นที่ 7 การนำความรู้ไปใช้ (Extension Stage : E) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 แบบ PM5E Model มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.43/83.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
4. ผลการประเมินความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H อยู่ในระดับมาก