ชื่อผลงาน การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขานางหงส์
ปีการศึกษา 2563
ผู้ประเมิน นางสุพรรษา กรอกสำโรง
ผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนบ้านเขานางหงส์
ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขานางหงส์ ปีการศึกษา 2563 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนตามรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ใน 4 ด้าน คือ บริบทของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการ กระบวนการดำเนินโครงการ และผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 9 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 44 คน และผู้ปกครองนักเรียนฤ จำนวน 44 คน รวมทั้งสิ้น 104 คน เก็บรวบรวมข้อมูล ก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และหลังดำเนินโครงการ โดยใช้เครื่องมือในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ และแบบทดสอบ จำนวน 1 ฉบับ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป มีผลการประเมิน และข้อเสนอแนะ ดังนี้
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขานางหงส์ปีการศึกษา 2563 พบว่า ภาพรวมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D.= 0.267) และผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเรื่องคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขานางหงส์ ปีการศึกษา 2563 (คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ) ของนักเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ พบว่าหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องคุณธฤรรมจริยธรรม (คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( t = -25.53 ; P < .000) แสดงว่าการเข้าร่วมโครงการทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเรื่องคุณธรรมจริยธรรมเพิ่มขึ้นจริง อยู่ในระดับมากที่สุด
ส่วนผลของการประเมินในภาพรวมของแต่ละด้าน และรายตัวชี้วัด มีดังนี้
1. ผลการประเมินประเด็นด้านบริบท พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ระดับความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากรในการดำเนินโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมาก
2.2 ระดับความเหมาะสมของงบประมาณในการดำเนินโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมาก
2.3 ระดับความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และสถานที่ ในการดำเนินโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
2.4 ระดับการบริหารจัดการโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ระดับการวางแผนโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 ระดับการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 ระดับการติดตามและประเมินผล พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
3.4 ระดับการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมาก
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมาก
4.3 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 ความรู้ความเข้าใจเรื่องคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขานางหงส์ ปีการศึกษา 2563 (คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ) พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม(คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับที่ 0.05 (t = 99.86 ; P < .000) ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1. ควรนำผลการประเมินโครงการที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางการปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยส่งเสริมกิจกรรมที่ทำได้ดีให้ดียิ่งขึ้นไป และปรับปรุงกิจกรรมที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำ
2. การดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนนั้น โรงเรียนควรวางแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน มีประสิทธิภาพ มีการนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างใกล้ชิดโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมมือกัน
3. การประเมินติดตามผลการดำเนินงานทุกกิจกรรมในโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน จะต้องมีการประเมินกิจกรรมทั้งก่อนดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ และเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม โดยผู้ดำเนินกิจกรรมทุกฝ่ายจะต้องมีส่วนร่วมในการติดตามผลและประเมินผล
4. ผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ควรสนับสนุนให้ครู ผู้ปกครองและชุมชน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้เกิดขึ้นในครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมและมีกระบวนการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ต่อเนื่องและอยู่ในวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชนทุกคน