ชื่อผู้ศึกษา นางสาวกัญญาภัค ศรีทองอุ่น
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ)
ปีที่ศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ด้วยแผนผัง ร่วมกับแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ด้วยแผนผัง ร่วมกับแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ด้วยแผนผัง ร่วมกับแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ และ4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ด้วยแผนผัง ร่วมกับแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ 5) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ด้วยแผนผัง ร่วมกับแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยรูปแบบ ADDIE Model ของเควิน ครูส ร่วมกับกรอบแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) กระบวนการเรียนรู้ KWL-Plus ของ คาร์ และโอเกิล (Carr and Ogle) ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้ใช้ในแบบฝึกทักษะของ ธอร์นไดค์ (Edward D Thorndike) และสกินเนอร์ (Burhut F Skinner) แนวคิดการอ่านเชิงวิเคราะห์ตามหลักของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นแนวทางในการกำหนดเกณฑ์ประเมินการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เป็นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis: A) ขั้นที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) เป็นการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Design and Development: D and D) แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ขั้น คือ ขั้นการออกแบบ และขั้นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน ขั้นที่ 3 การวิจัย (Research: R2) เป็นการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน (Implementation: I) โดยนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/1 จำนวน 30 คน ที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ระยะเวลาในการทดลองรวมทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ด้วยแผนผัง ร่วมกับแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ด้วยแผนผัง แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) การประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอน (Evaluation: E) โดยผู้เชี่ยวชาญ แล้วนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอน
2. ผลการออกแบบ ได้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ด้วยแผนผัง มีองค์ประกอบดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวน
การเรียนการสอน สาระหลัก สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน มีกระบวนการเรียนการสอน ดังนี้ คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเสนอเนื้อหา ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรมกลุ่มย่อย 2.1 อ่านแล้วรู้อะไร (K) 2.2 ต้องการอะไร (W) ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป 3.1 เรียนรู้อะไร (L1) 3.2 สร้างแผนผัง (L2, L3) ขั้นที่ 4 ขั้นวัดและประเมินผล ทดสอบย่อยรายบุคคล คิดคะแนนเป็นความก้าวหน้าของกลุ่ม ขั้นที่ 5 ขั้นสร้างความประทับใจ ยกย่องกลุ่มที่ได้คะแนนอยู่เกณฑ์เก่ง เก่งมาก ยอดเยี่ยม และผลการพัฒนาพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.78/89.33 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ด้วยแผนผัง ร่วมกับแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ด้วยแผนผัง ร่วมกับแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ ภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
5. ผู้เชี่ยวชาญ มีความเห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้