ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ E-SKA Model รายวิชาเคมี 1 เรื่อง ตารางธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน นางสุกัญญา ทิพรักษ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีการศึกษา 1/2564
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ E-SKA Model รายวิชาเคมี 1 เรื่อง ตารางธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ E-SKA Model รายวิชา เคมี 1 เรื่อง ตารางธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2)เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ E-SKA Model รายวิชาเคมี 1 เรื่อง อะตอมและ
ตารางธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ E-SKA Model รายวิชาเคมี 1 เรื่อง อะตอมและตารางธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4)เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ E-SKA Model รายวิชาเคมี 1 เรื่อง ตารางธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4.1)เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนโดยใช้กระบวนการ E-SKA Model รายวิชา
เคมี 1 เรื่อง ตารางธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
4.2)เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ E-SKA
Model รายวิชาเคมี 1 เรื่อง ตารางธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4.3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ E-SKA Model รายวิชาเคมี 1 เรื่อง ตารางธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4.4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ E-SKA Model รายวิชาเคมี 1 เรื่อง ตารางธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อตอบคำถามการวิจัยให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม
ผลการศึกษาพบว่า
สรุปผลการวิจัย
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ E-SKA Model รายวิชาเคมี 1 เรื่อง
ตารางธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สรุปผลการวิจัยดังนี้
1. รูปแบบการการพัฒนาจัดการเรียนรู้ E-SKA Model รายวิชาเคมี 1 เรื่อง ตารางธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การตรวจสอบคุณภาพความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ 5 คน มีค่าความเหมาะสมและความสอดคล้องเท่ากับ 4.01- 4.65 อยู่ในระดับเหมาะสมมากถึงมากที่สุด แสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องเชิงโครงสร้าง ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ARA MODEL: E-PBL MODEL รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยได้สร้างเป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้ขึ้นทั้ง 6 ชุดกิจกรรม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.70/89.40 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ E-SKA Model รายวิชาเคมี 1 เรื่อง ตารางธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การทดสอบก่อนเรียนและผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.74 คะแนน และ 36.23 คะแนน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ดัชนีประสิทธิของผลการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ E-SKA Model รายวิชาเคมี 1 เรื่อง ตารางธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 73.70
4. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ E-SKA Model รายวิชาเคมี 1 เรื่อง ตารางธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจโดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.24
โดยสรุป รูปแบบการจัดการเรียนรู้ E-SKA Model รายวิชาเคมี 1 เรื่อง ตารางธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหารายวิชาเคมีเพิ่มเติม 1 เรื่อง ตารางธาตุ มากขึ้น ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาแก่ผู้เรียน ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหา ตลอดจนพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นต่อไป