ชื่อเรื่อง : การเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ด้วยกลยุทธ์ KONDEE MODEL โรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2562 - 2563
ผู้วิจัย : ปราโมทย์ สุทธิรักษ์
ปีการศึกษา : 2562 - 2563
บทคัดย่อ
รายงานผลการเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ด้วยกลยุทธ์ KONDEE MODEL โรงเรียนบางดีวิทยาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางในการเสริมสร้าง ทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนบางดีวิทยาคม ในปีการศึกษา 2561 2) ศึกษากระบวนการพัฒนาการเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ด้วยกลยุทธ์ KONDEE MODEL โรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2562-2563 3) ศึกษาผลการเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษ ที่ 21 ด้วยกลยุทธ์ KONDEE MODEL โรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2562-2563 4) ศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับการเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กลยุทธ์ KONDEE MODEL โรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2562-2563
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2561 มีจำนวน 25 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 458 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 446 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 8 ฉบับ โดยแยกเป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 5 ฉบับ และเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาและแนวทางในการเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนบางดีวิทยาคม ในปีการศึกษา 2561 พบว่า นักเรียนโรงเรียนบางดีวิทยาคมยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการศึกษา และการใช้ชีวิตในยุคศตวรรษที่ 21 จึงมีปัญหาเรื่องผลสัมฤทธิ์การเรียน ขาดการมีน้ำใจและความพอเพียง รวมถึงการมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ติดเกมออนไลน์ ติดสารเสพติดและอบายมุข ส่งผลให้นักเรียนไม่จบหลักสูตร นอกจากนี้ครูยังขาดการเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักเรียน และโรงเรียนยังขาดกลยุทธ์และกิจกรรมที่เสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 จึงได้กำหนดแนวทางแก้ปัญหาผ่านกรอบกิจกรรมการเสริมสร้างทักษะชีวิต ในศตวรรษที่ 21 เป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 2) ด้านการพัฒนาครู 3) ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4) ด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนบางดีวิทยาคม 4 ประการ คือ 1) การรู้เท่าทันเทคโนโลยี 2) มีจิตอาสา เสียสละ และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 3) อยู่อย่างพอเพียง 4) ห่างไกลยาเสพติดและอบายมุข
2. กระบวนการพัฒนาการเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ด้วยกลยุทธ์ KONDEE MODEL โรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า กระบวนการพัฒนาการเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนบางดีวิทยาคม กำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน 6 ขั้นตอน คือ 1) K : Knowledge คือ กระบวนการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ 2) O : Option คือ กระบวนการสร้างทางเลือก 3) N : Network คือ กระบวนการใช้เครือข่ายมามีส่วนร่วมในการเสริมสร้างทักษะชีวิต 4) D:Doing คือ กระบวนการปฏิบัติ 5) E: Encourage คือกระบวนการส่งเสริมให้กำลังใจ และ 6) E : Evaluation คือ กระบวนการวัดผลประเมินผล
3. ผลการเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ด้วยกลยุทธ์ KONDEE MODEL โรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2562-2563 จากการศึกษา พบว่า
3.1 คุณภาพการเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ด้วยกลยุทธ์ KONDEE MODEL โรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2562 - 2563 พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2562 มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และปีการศึกษา 2563 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด ( x̄ = 3.98, SD. = 0.92 และ x̄ = 4.65, S.D. = 0.69) ความคิดเห็นของครูอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด ( = 3.89,  = 0.88 และ  = 4.56,  = 0.70 ) ความคิดเห็นของผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด (x̄ = 3.91, S.D. = 0.90 และ x̄ = 4.64, S.D. = 0.70) และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก และมากที่สุด (x̄ = 3.84, S.D. = 0.88 และ x̄ = 4.62, S.D. = 0.71)
3.2 ผลการประเมินทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนที่เกิดจากการใช้กลยุทธ์ KONDEE MODEL พบว่า ทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนจากประเมินโดยครู และผู้ปกครอง ในภาพรวม ปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับมาก และปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับมากที่สุด โดยปีการศึกษา 2562 และ ปีการศึกษา 2563 ผลการประเมินของครูอยู่ในระดับดี และดีมาก ( = 3.82,  = 0.90 และ  = 4.62,  = 0.69) ผลการประเมินของผู้ปกครองอยู่ในระดับดี และดีมาก ( x̄ = 3.80, S.D. = 0.91 และ x̄ = 4.63, S.D.= 0.72) และยังพบว่าทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยมากกว่าปีการศึกษา 2562 ทั้ง 4 ประการ ทักษะที่นักเรียน มีพัฒนาการสูงที่สุดคือ ห่างไกลยาเสพติดและอบายมุข รองลงมาคือ การรู้เท่าทันเทคโนโลยี มีจิตอาสา เสียสละ และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และอยู่อย่างพอเพียง ตามลำดับ
3.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ปีการศึกษา 2562 ทุกสาระการเรียนรู้
3.4 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมิน ระดับดีและดีเยี่ยม ในปีการศึกษา 2563 สูงกว่า ปีการศึกษา 2562
3.5 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนบางดีวิทยาคม พบว่า ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 สูงกว่าปีการศึกษา 2562 ทั้ง 2 ระดับชั้น และปีการศึกษา 2563 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ
3.6 ผลงานเชิงประจักษ์และที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ปีการศึกษา 2562 - 2563 โรงเรียนบางดีวิทยาคมได้รับรางวัลระดับชาติ จำนวน 49 รายการ จำแนกเป็น ผลงานสถานศึกษา จำนวน 5 รายการ ผลงานผู้บริหาร จำนวน 7 รายการ ผลงานครู จำนวน 21 รายการ และผลงานนักเรียน จำนวน 16 รายการ จากผลงานเชิงประจักษ์ส่งผลให้ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอก มีความเชื่อมั่นในโรงเรียนบางดีวิทยาคม ทำให้จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลำดับ คือ ในปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียน 426 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวนนักเรียน 440 คน
4. ความพึงพอใจเกี่ยวกับการเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กลยุทธ์ KONDEE MODEL โรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า ความพึงพอใจต่อการเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กลยุทธ์ KONDEE MODEL โรงเรียนบางดีวิทยาคม โดยภาพรวมพบว่า ปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับมาก และปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับมากที่สุด โดยปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด (x̄ = 4.05, S.D.=0.84 และ x̄ = 4.66, S.D.=0.66) ครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด ( = 4.19,  = 0.70 และ  = 4.67,  = 0.52) ผู้ปกครองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด (x̄ = 4.00, S.D. = 0.84 และ x̄ = 4.56, S.D. = 0.72) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด ( x̄ = 3.79, S.D. = 0.73 และ x̄ = 4.61, S.D.=0.61 ) และเครือข่ายชุมชนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด ( x̄ = 4.00, S.D. = 0.84 และ x̄ = 4.56, S.D. = 0.72 )