ชื่อผลงาน : การประเมินโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563
ผู้ประเมิน : นายปราโมทย์ สุทธิรักษ์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบางดีวิทยาคม
สถานศึกษา : โรงเรียนบางดีวิทยาคม ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่
ปีการศึกษา : 2562 - 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
โรงเรียนบางดีวิทยาคมได้ดำเนินโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 เพื่อแก้ไขปัญหา และช่วยเหลือในด้านปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โดยริเริ่มโครงการตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นมาและดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาสุขภาพควบคู่กับการเรียนรู้ของนักเรียน และได้กำหนดคุณลักษณะของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพไว้ว่า เป็นโรงเรียนที่มีขีดความสามารถแข็งแกร่ง มั่นคง ปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยที่ดี เพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการสร้างความเข้าใจและส่งเสริมชุมชนด้านสุขภาพ ร่วมกับ ผู้ปกครอง บุคลากรในโรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ ในการประเมินโครงการครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) มีขอบข่ายการประเมินโครงการที่ครอบคลุมการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ การประเมินด้านบริบท (Context) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) การประเมินด้านกระบวนการ (Process) และการประเมินด้านผลผลิต (Product) เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนพัฒนาหรือตัดสินใจในการดำเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุด นำไปสู่ความยั่งยืนต่อไป โดยมีรายละเอียดการดำเนินการดังนี้
วัตถุประสงค์ในการประเมินโครงการ
1. เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563
2. เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563
3. เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563
4. เพื่อประเมินด้านผลผลิตโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ดังนี้
4.1 ผลการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ทั้ง 10 องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และ ผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ
4.2 การมีส่วนร่วมของ ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน ในการดำเนินโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563
วิธีการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ในครั้งนี้ ผู้รายงานใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน ตามลำดับของการดำเนินงานตามโครงการ 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ก่อนดำเนินโครงการ ได้ดำเนินการประเมิน 2 ด้าน คือ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ประเมินวันที่ 21 - 24 พฤษภาคม 2562 และ วันที่ 13 - 16 กรกฎาคม 2563 ด้านปัจจัยนำเข้า ประเมินวันที่ 24 - 27 มิถุนายน 2562 และ วันที่ 21 - 24 กรกฎาคม 2563 ได้แก่
1. การประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 โดยการสัมภาษณ์ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน เพื่อพิจารณาความต้องการและความจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และความเป็นไปได้ของโครงการ
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 โดยการสอบถามครู เพื่อพิจารณาความพร้อม ของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ
ระยะที่ 2 ระหว่างดำเนินโครงการ ประเมินด้านกระบวนการ วันที่ 22 - 25 กรกฎาคม 2562 และวันที่ 25 - 28 สิงหาคม 2563
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 โดยการสอบถามนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และตัวแทนชุมชน เพื่อพิจารณาการวางแผน (P) การดำเนินงาน (D) การติดตามและประเมินผล (C) และการนำผลไปปรับปรุงและพัฒนา (A)
ระยะที่ 3 หลังสิ้นสุดโครงการ ประเมินด้านผลผลิต วันที่ 16 - 27 มีนาคม 2563 และวันที่ 15 - 26 มีนาคม 2564
4. การประเมินผลผลิตของโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 2563 ดังนี้
4.1 ผลการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ทั้ง 10 องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และ ผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ โดยการสอบถามนักเรียน ครู และผู้ปกครอง
4.2 การมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน ในการดำเนินโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 โดยการสอบถาม ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 โดยการสอบถามนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน
ขอบเขตของประชากรและกลุ่มเป้าหมาย
ประชากร ประกอบด้วย
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 426 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 440 คน
2. ครู ผู้ปฏิบัติการสอนโรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 29 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 31 คน
3. ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 426 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 440 คน
4. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน
5. ตัวแทนชุมชน ได้กลุ่มตัวอย่างจากตัวแทนชุมชนในหมู่บ้าน ของตำบลบางดี จำนวน 10 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 3 คน ในปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน
กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่าง และประชากร ดังนี้
1. นักเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2562 จำนวน 202 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 205 คน
2. ครู ศึกษาจากประชากรครู ปีการศึกษา 2562 จำนวน 29 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 31 คน
3. ผู้ปกครอง ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2562 จำนวน 202 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 205 คน
4. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน
5. ตัวแทนชุมชน ได้กลุ่มตัวอย่างจากตัวแทนชุมชนในหมู่บ้าน ของตำบลบางดี จำนวน 10 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 3 คน ในปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ครั้งนี้ มีจำนวน 6 ฉบับ ซึ่งผู้รายงานได้พัฒนาปรับปรุงโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งได้ศึกษาแนวคิดจากเอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง สร้างเป็นแบบสัมภาษณ์ และ แบบสอบถาม ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน ด้านบริบทหรือด้านสภาพแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และตัวแทนชุมชน ด้านกระบวนการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นของ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ด้านผลผลิต ทั้ง 10 องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ฉบับที่ 5 แบบสอบถามด้านผลผลิต เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และฉบับที่ 6 แบบสอบถามด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน ต่อการดำเนินโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการประเมิน
การประเมินโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือด้านสภาพแวดล้อมของโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 จากการสัมภาษณ์ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน เกี่ยวกับการประเมินด้านบริบทหรือด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียนบางดีวิทยาคม สามารถรวบรวมความคิดเห็นได้ดังนี้ จากสภาพปัญหา ในชุมชน และบริบทของโรงเรียนบางดีวิทยาคม มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ ด้านปัญหาครอบครัว ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพของนักเรียน ทำให้นักเรียนมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกัน เช่น โรคขาดสารอาหาร โรคอ้วน นอกจากนี้ยังมีปัญหานักเรียนติดสารเสพติด และปัญหาสุขภาพจิต ดังนั้นจึงได้เสนอให้โรงเรียนจัดทำโครงการที่สามารถแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนให้รอบด้าน เช่น กิจกรรมอาหารกลางวัน การตรวจสุขภาพประจำปี กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย กิจกรรมขยับกายสบายชีวี และโครงการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ลด ละ เลิก ยาเสพติด โดยโครงการเหล่านี้จะต้องมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 และนโยบายของโรงเรียนบางดีวิทยาคม มีการหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยการทำ SWOT ค้นหา จุดแข็ง จุดอ่อน จุดเด่น และจุดด้อย เพื่อนำไปใช้วางแผนดำเนินงานผ่านกระบวนการ PDCA โดยใช้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน นำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 ครูมีความคิดเห็นต่อด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมในระดับมาก และมากที่สุด ( = 3.77 ,  = 0.92 และ  = 4.55 ,  = 0.70)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และตัวแทนชุมชน โดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 นักเรียนมีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการของโครงการมีความเหมาะสม ในระดับมาก และมากที่สุด (x̄ = 3.84 , S.D. = 0.82 และ x̄ = 4.61 , S.D. = 0.71) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ครูมีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการ ของโครงการมีความเหมาะสมในระดับมาก และมากที่สุด ( = 3.86 ,  = 0.84 และ  = 4.57 ,  = 0.72) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสมในระดับมาก และ มากที่สุด ( x̄ = 3.87 , S.D. = 0.82 และ x̄ = 4.52 , S.D. = 0.75) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนตัวแทนชุมชนมีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสมในระดับมาก และมากที่สุด ( x̄ = 3.84 , S.D. = 0.82 และ x̄ = 4.55 , S.D. = 0.73) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต โครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ดังนี้
4.1 ผลการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ทั้ง 10 องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และ ผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม ทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เมื่อพิจารณารายกลุ่มที่ประเมินพบว่า ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 นักเรียน มีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ทั้ง 10 องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ ในระดับมาก และมากที่สุด (x̄ = 3.94 , S.D. = 0.84 และ x̄ = 4.62 , S.D. = 0.69) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ครูมีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงาน โครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ทั้ง 10 องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการในระดับมาก และมากที่สุด ( = 3.92 ,  = 0.85 และ  = 4.61 ,  = 0.67) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ผู้ปกครองมีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 2563 ทั้ง 10 องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการในระดับมาก และมากที่สุด (x̄ = 3.93 , S.D. = 0.83 และ x̄ = 4.62 , S.D. = 0.68) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.2 ผลการมีส่วนร่วมของ ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน ในการดำเนินโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 2563 โดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เมื่อพิจารณารายกลุ่มที่ประเมินพบว่า ครูมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม มีความเหมาะสมในระดับมาก และมากที่สุด ( = 4.39 ,  = 0.59 และ  = 4.62 ,  = 0.50) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ผู้ปกครองมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม มีความเหมาะสมในระดับมาก และมากที่สุด (x̄ = 3.98 , S.D. = 0.84 และ = 4.61 , S.D. = 0.55) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม มีความเหมาะสมในระดับมาก และมากที่สุด (x̄ = 3.76 , S.D. = 0.69 และ x̄ = 4.53 , S.D. = 0.52) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนตัวแทนชุมชนมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม มีความเหมาะสม ในระดับมาก และมากที่สุด (x̄ = 3.87 , S.D. = 0.69 และ x̄ = 4.51 , S.D. = 0.59) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 2563 โดยภาพรวมทั้ง 5 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เมื่อพิจารณารายกลุ่มที่ประเมินพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ ในระดับมาก และมากที่สุด (x̄ = 4.12 , S.D. = 0.82 และ x̄ = 4.66 , S.D. = 0.67) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกประเด็นตัวชี้วัด ครูมีความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ ในระดับมาก และมากที่สุด ( = 4.31 ,  = 0.61 และ  = 4.69 ,  = 0.50) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ผู้ปกครองมีความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการในระดับมาก และมากที่สุด (x̄ = 3.99 , S.D. = 0.84 และ x̄ = 4.50 , S.D. = 0.77) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการในระดับมาก และมากที่สุด ( x̄ = 3.71 , S.D. = 0.67 และ x̄ = 4.70 , S.D. = 0.63) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนตัวแทนชุมชนมีความ พึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ ในระดับมาก และมากที่สุด (x̄ = 3.79 , S.D. = 0.64 และ x̄ = 4.61 , S.D. = 0.56) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ควรกำหนดนโยบายในการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือระดมทรัพยากรให้ชัดเจน
1.2 ควรส่งเสริมสถาบันครอบครัวในการดูแลเอาใจใส่สุขภาพของนักเรียนให้มากขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดีขึ้น
1.3 ควรจัดสรรงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการอย่างเพียงพอ และเหมาะสม
1.4 ควรมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการให้เป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง
1.5 ควรจัดอาหารกลางวันที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปลอดภัยแก่นักเรียน
1.6 ควรปรับปรุงและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาพอนามัยของนักเรียน
1.7 ควรให้ทุกฝ่าย มีส่วนร่วมในการ กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ กำหนดปฏิทินในการปฏิบัติงาน ร่วมกันจัดหาวัสดุอุปกรณ์ และตรวจสอบผลที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
1.8 ควรรายงานผลการดำเนินงาน เพื่อนำผลมาปรับปรุงพัฒนา และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการครั้งต่อไป
ควรนำรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียน เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการ กระบวนการดำเนินโครงการ และผลผลิตของโครงการ โดยการประเมิน 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และสิ้นสุดการดำเนินโครงการ เพื่อนำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนแก้ปัญหา หรือพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน
ชื่อผลงาน : การประเมินโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563
ผู้ประเมิน : นายปราโมทย์ สุทธิรักษ์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบางดีวิทยาคม
สถานศึกษา : โรงเรียนบางดีวิทยาคม ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่
ปีการศึกษา : 2562 - 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
โรงเรียนบางดีวิทยาคมได้ดำเนินโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 เพื่อแก้ไขปัญหา และช่วยเหลือในด้านปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โดยริเริ่มโครงการตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นมาและดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาสุขภาพควบคู่กับการเรียนรู้ของนักเรียน และได้กำหนดคุณลักษณะของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพไว้ว่า เป็นโรงเรียนที่มีขีดความสามารถแข็งแกร่ง มั่นคง ปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยที่ดี เพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการสร้างความเข้าใจและส่งเสริมชุมชนด้านสุขภาพ ร่วมกับ ผู้ปกครอง บุคลากรในโรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ ในการประเมินโครงการครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) มีขอบข่ายการประเมินโครงการที่ครอบคลุมการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ การประเมินด้านบริบท (Context) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) การประเมินด้านกระบวนการ (Process) และการประเมินด้านผลผลิต (Product) เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนพัฒนาหรือตัดสินใจในการดำเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุด นำไปสู่ความยั่งยืนต่อไป โดยมีรายละเอียดการดำเนินการดังนี้
วัตถุประสงค์ในการประเมินโครงการ
1. เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563
2. เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563
3. เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563
4. เพื่อประเมินด้านผลผลิตโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ดังนี้
4.1 ผลการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ทั้ง 10 องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และ ผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ
4.2 การมีส่วนร่วมของ ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน ในการดำเนินโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563
วิธีการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ในครั้งนี้
ผู้รายงานใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน ตามลำดับของการดำเนินงานตามโครงการ 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ก่อนดำเนินโครงการ ได้ดำเนินการประเมิน 2 ด้าน คือ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ประเมินวันที่ 21 - 24 พฤษภาคม 2562 และ วันที่ 13 - 16 กรกฎาคม 2563 ด้านปัจจัยนำเข้า ประเมินวันที่ 24 - 27 มิถุนายน 2562 และ วันที่ 21 - 24 กรกฎาคม 2563 ได้แก่
1. การประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 โดยการสัมภาษณ์ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน เพื่อพิจารณาความต้องการและความจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และความเป็นไปได้ของโครงการ
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 โดยการสอบถามครู เพื่อพิจารณาความพร้อม ของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ
ระยะที่ 2 ระหว่างดำเนินโครงการ ประเมินด้านกระบวนการ วันที่ 22 - 25 กรกฎาคม 2562 และวันที่ 25 - 28 สิงหาคม 2563
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 โดยการสอบถามนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และตัวแทนชุมชน เพื่อพิจารณาการวางแผน (P) การดำเนินงาน (D) การติดตามและประเมินผล (C) และการนำผลไปปรับปรุงและพัฒนา (A)
ระยะที่ 3 หลังสิ้นสุดโครงการ ประเมินด้านผลผลิต วันที่ 16 - 27 มีนาคม 2563 และวันที่ 15 - 26 มีนาคม 2564
4. การประเมินผลผลิตของโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 2563 ดังนี้
4.1 ผลการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ทั้ง 10 องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และ ผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ โดยการสอบถามนักเรียน ครู และผู้ปกครอง
4.2 การมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน ในการดำเนินโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 โดยการสอบถาม ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 โดยการสอบถามนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน
ขอบเขตของประชากรและกลุ่มเป้าหมาย
ประชากร ประกอบด้วย
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 426 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 440 คน
2. ครู ผู้ปฏิบัติการสอนโรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 29 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 31 คน
3. ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 426 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 440 คน
4. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบางดีวิทยาคม ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน
5. ตัวแทนชุมชน ได้กลุ่มตัวอย่างจากตัวแทนชุมชนในหมู่บ้าน ของตำบลบางดี จำนวน 10 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 3 คน ในปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน
กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่าง และประชากร ดังนี้
1. นักเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2562 จำนวน 202 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 205 คน
2. ครู ศึกษาจากประชากรครู ปีการศึกษา 2562 จำนวน 29 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 31 คน
3. ผู้ปกครอง ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2562 จำนวน 202 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 205 คน
4. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน
5. ตัวแทนชุมชน ได้กลุ่มตัวอย่างจากตัวแทนชุมชนในหมู่บ้าน ของตำบลบางดี จำนวน 10 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 3 คน ในปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ครั้งนี้ มีจำนวน 6 ฉบับ ซึ่งผู้รายงานได้พัฒนาปรับปรุงโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งได้ศึกษาแนวคิดจากเอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง สร้างเป็นแบบสัมภาษณ์ และ แบบสอบถาม ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน ด้านบริบทหรือด้านสภาพแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และตัวแทนชุมชน ด้านกระบวนการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นของ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ด้านผลผลิต ทั้ง 10 องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ฉบับที่ 5 แบบสอบถามด้านผลผลิต เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และฉบับที่ 6 แบบสอบถามด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน ต่อการดำเนินโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการประเมิน
การประเมินโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือด้านสภาพแวดล้อมของโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 จากการสัมภาษณ์ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน เกี่ยวกับการประเมินด้านบริบทหรือด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียนบางดีวิทยาคม สามารถรวบรวมความคิดเห็นได้ดังนี้ จากสภาพปัญหา ในชุมชน และบริบทของโรงเรียนบางดีวิทยาคม มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ ด้านปัญหาครอบครัว ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพของนักเรียน ทำให้นักเรียนมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกัน เช่น โรคขาดสารอาหาร โรคอ้วน นอกจากนี้ยังมีปัญหานักเรียนติดสารเสพติด และปัญหาสุขภาพจิต ดังนั้นจึงได้เสนอให้โรงเรียนจัดทำโครงการที่สามารถแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนให้รอบด้าน เช่น กิจกรรมอาหารกลางวัน การตรวจสุขภาพประจำปี กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย กิจกรรมขยับกายสบายชีวี และโครงการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ลด ละ เลิก ยาเสพติด โดยโครงการเหล่านี้จะต้องมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 และนโยบายของโรงเรียนบางดีวิทยาคม มีการหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยการทำ SWOT ค้นหา จุดแข็ง จุดอ่อน จุดเด่น และจุดด้อย เพื่อนำไปใช้วางแผนดำเนินงานผ่านกระบวนการ PDCA โดยใช้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน นำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 ครูมีความคิดเห็นต่อด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมในระดับมาก และมากที่สุด ( = 3.77 ,  = 0.92 และ  = 4.55 ,  = 0.70)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และตัวแทนชุมชน โดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 นักเรียนมีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการของโครงการมีความเหมาะสม ในระดับมาก และมากที่สุด ( x̄ = 3.84 , S.D. = 0.82 และ x̄ =4.61 , S.D. = 0.71) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ครูมีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการ ของโครงการมีความเหมาะสมในระดับมาก และมากที่สุด ( = 3.86 ,  = 0.84 และ  = 4.57 ,  = 0.72) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสมในระดับมาก และ มากที่สุด ( x̄ = 3.87 , S.D. = 0.82 และ x̄ = 4.52 , S.D. = 0.75) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนตัวแทนชุมชนมีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสมในระดับมาก และมากที่สุด ( x̄ = 3.84 , S.D. = 0.82 และ x̄ = 4.55 , S.D. = 0.73) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต โครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ดังนี้
4.1 ผลการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ทั้ง 10 องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม ทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เมื่อพิจารณารายกลุ่มที่ประเมินพบว่า ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 นักเรียนมีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ทั้ง 10 องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ ในระดับมาก และมากที่สุด ( x̄ = 3.94 , S.D. = 0.84 และ x̄ = 4.62 , S.D. = 0.69) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ครูมีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงาน โครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 - 2563 ทั้ง 10 องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการในระดับมาก และมากที่สุด ( = 3.92 ,  = 0.85 และ  = 4.61 ,  = 0.67) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ผู้ปกครองมีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 2563 ทั้ง 10 องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการในระดับมาก และมากที่สุด ( x̄ = 3.93 , S.D. = 0.83 และ x̄ = 4.62 , S.D. = 0.68) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.2 ผลการมีส่วนร่วมของ ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน ในการดำเนินโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 2563 โดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เมื่อพิจารณารายกลุ่มที่ประเมินพบว่า ครูมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม มีความเหมาะสมในระดับมาก และมากที่สุด ( = 4.39 ,  = 0.59 และ  = 4.62 ,  = 0.50) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ผู้ปกครองมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม มีความเหมาะสมในระดับมาก และมากที่สุด ( x̄ = 3.98 , S.D. = 0.84 และ x̄ = 4.61 , S.D. = 0.55) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม มีความเหมาะสมในระดับมาก และมากที่สุด ( x̄ = 3.76 , S.D. = 0.69 และ x̄ = 4.53 , S.D. = 0.52) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนตัวแทนชุมชนมีความคิดเห็นต่อด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม มีความเหมาะสมในระดับมาก และมากที่สุด ( x̄ = 3.87 , S.D. = 0.69 และ x̄ = 4.51 , S.D. = 0.59) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนชุมชน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการบางดีวิทยาคมโรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2562 2563 โดยภาพรวมทั้ง 5 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เมื่อพิจารณารายกลุ่มที่ประเมินพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ ในระดับมาก และมากที่สุด ( x̄ = 4.12 , S.D. = 0.82 และ = 4.66 , S.D. = 0.67) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ครูมีความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ ในระดับมาก และมากที่สุด ( = 4.31 ,  = 0.61 และ  = 4.69 ,  = 0.50) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ผู้ปกครองมีความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการในระดับมาก และมากที่สุด ( x̄ = 3.99 , S.D. = 0.84 และ x̄ = 4.50 , S.D. = 0.77) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการในระดับมาก และมากที่สุด ( x̄ = 3.71 , S.D. = 0.67 และ x̄ = 4.70 , S.D. = 0.63) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนตัวแทนชุมชนมีความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ ในระดับมาก และมากที่สุด ( x̄ = 3.79 , S.D. = 0.64 และ x̄ = 4.61 , S.D. = 0.56) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ควรกำหนดนโยบายในการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือระดมทรัพยากรให้ชัดเจน
1.2 ควรส่งเสริมสถาบันครอบครัวในการดูแลเอาใจใส่สุขภาพของนักเรียนให้มากขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดีขึ้น
1.3 ควรจัดสรรงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการอย่างเพียงพอ และเหมาะสม
1.4 ควรมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการให้เป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง
1.5 ควรจัดอาหารกลางวันที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปลอดภัยแก่นักเรียน
1.6 ควรปรับปรุงและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาพอนามัยของนักเรียน
1.7 ควรให้ทุกฝ่าย มีส่วนร่วมในการ กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ กำหนดปฏิทินในการปฏิบัติงาน ร่วมกันจัดหาวัสดุอุปกรณ์ และตรวจสอบผลที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
1.8 ควรรายงานผลการดำเนินงาน เพื่อนำผลมาปรับปรุงพัฒนา และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการครั้งต่อไป
ควรนำรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียน เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการ กระบวนการดำเนินโครงการ และผลผลิตของโครงการ โดยการประเมิน 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และสิ้นสุดการดำเนินโครงการ เพื่อนำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนแก้ปัญหา หรือพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน