ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดย
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน
วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน จักรกฤษ วงษ์ชาลี
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบ
การเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 มีค่าดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่กำหนด เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 โรงเรียน
สตรีราชินูทิศ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน ได้โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนฯ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80 1.00 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากระหว่าง 0.60 0.80 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.26 0.75 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.43 0.76 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความเที่ยงตรง ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test แบบ Dependent samples)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้
และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน วิชาการงานอาชีพ มีค่าเท่ากับ (E1 / E2) 83.33/85.87
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน วิชาการงานอาชีพ เท่ากับ 0.8005 แสดงว่าผู้เรียนได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 80.05
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน วิชาการงานอาชีพ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน วิชาการงานอาชีพ
โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (X-bar = 2.71)