ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
(5E) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
ผู้ศึกษา นางสาวจีรภัสร์ บัวสุวรรณ
ปีที่ศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(5E) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัยเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้สื่อที่หลากหลาย ที่เรียกว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จากการศึกษาจุดเด่นของวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) และข้อดีของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(5E) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จะเป็นตัวช่วยในการกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้นักเรียนมีความร่วมมือในการทำกิจกรรมมากขึ้นสามารถที่จะช่วยให้ผู้เรียนศึกษาได้ด้วยตนเองและบูรณาการวิชาเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการดำเนินชีวิตจริงของผู้เรียนทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต กับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก จึงเหมาะสมกับสภาพผู้เรียนที่ผู้วิจัยทำการสอนอยู่ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาสื่อการสอน (นวัตกรรม) และส่งผลให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจที่ดีต่อการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นไปตามเป้าหมายในด้านคุณภาพของผู้เรียน ตามที่โรงเรียนกำหนดซึ่งสื่อที่ใช้ประสบการณ์ของผู้เรียนฝังในประสาทสัมผัสส่วนต่างๆและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับปรากฎการณ์ต่างๆที่ผู้เรียนสัมผัสได้ในทางกายภาพซึ่งสื่อต่างๆเหล่านี้อาจเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ปรับใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพในรายวิชา สังคมศึกษา 3 รหัสวิชา ส32101 เรื่อง การกำหนดราคาค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจและความสำคัญหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อเศรษฐกิจสังคมของประเทศ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มห้องเรียน ด้วยวิธีอย่างง่าย (Simple Random sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามีดังนี้
1. แผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) รายวิชา สังคมศึกษา 3 รหัสวิชา ส32101 เรื่อง การกำหนดราคาค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจและความสำคัญหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อเศรษฐกิจสังคมของประเทศ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
2. สื่อการสอน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E)
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบ่งออกเป็นแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลัง
เรียน โดยภาพรวมและจำแนกเป็นรายแผนการจัดการเรียนรู้
4. แบบสอบถามวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การกำหนดราคาค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจและความสำคัญหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อเศรษฐกิจสังคมของประเทศ โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่า KR-20 ของ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson ) หาค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้และการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจ
ผลการศึกษา ปรากฏดังนี้
1. ผู้เรียนที่เรียน รายวิชา สังคมศึกษา 3 รหัสวิชา ส 32101 เรื่อง การกำหนดราคาค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจและความสำคัญหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อเศรษฐกิจสังคมของประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
2. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(5E) ได้เท่ากับ E1/E2 = 84.65/83.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งและเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
3. ผู้เรียนที่เรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) รายวิชา สังคมศึกษา 3 รหัสวิชา ส 32101 เรื่อง การกำหนดราคาค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจและความสำคัญหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อเศรษฐกิจสังคมของ ประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย มีความพึงพอใจในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย X-bar = 4.27 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD ) =0.06 ซึ่งอยู่ในระดับเบี่ยงเบนมาก แสดงว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจสอดคล้องกัน
จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(5E) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ที่พัฒนาขึ้นมีเมื่อนำไปจัดการเรียนรู้ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้นเมื่อนำสื่อประสมไปประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีระดับคุณภาพในระดับมาก จากผลการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มทดลองหาค่าประสิทธิผลการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละE1/E2 84.65/83.50 และผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะ ผู้วิจัยได้พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) อย่างมีระเบียบแบบแผนเป็นไปตามขั้นตอนของการพัฒนา นอกจากนี้ในกระบวนการของการพัฒนาได้ผ่านการตรวจสอบและประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทุกขั้นตอน จึงส่งผลให้มีคุณภาพ และมีประสิทธิผลเมื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้