การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยใช้ KMS-Model เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม และการปรับตัวในสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริการจัดการชั้นเรียนแบบบูรณาการกิจกรรมสร้างความรู้วิชาการ คุณธรรม จริยธรรม และการปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๑ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/1 ที่มีต่อการบริหารจัดการชั้นเรียนแบบบูรณการ โดยใช้ KMS-Model เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม และการปรับตัวในสังคม และ ๓) ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรครูในโรงเรียนคำเตยวิทยา ที่มีต่อการบริหารจัดการชั้นเรียนแบบบูรณการ โดยใช้ KMS-Model เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม และการปรับตัวในสังคม
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๕ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ โรงเรียนคำเตยวิทยา อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต ๒๘ จำนวน ๓๗ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย
เรื่องเล่าสถานการณ์เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ความมีระเบียบวินัย,แบบแสดงความคิดเห็นของนักเรียน
ที่มีต่อการบริหารจัดการชั้นเรียนแบบบูรณการ โดยใช้ KMS-Model เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม และการปรับตัวในสังคม และแบบแสดงความคิดเห็นของบุคลากรครูโรงเรียนคำเตยวิทยา
ที่มีต่อการบริหารจัดการชั้นเรียนแบบบูรณการ โดยใช้ KMS-Model
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
๑. รูปแบบการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้การบริหารจัดการชั้นเรียน KMS-Model มีความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนด้านความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และการปรับตัวในสังคมเพื่อการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๓ ท่าน
๒. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๑ ที่มีต่อการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยใช้
KMS-Model เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม และการปรับตัวในสังคม ประกอบด้วยความคิดเห็นของนักเรียน ๓ ด้าน พิจารณาโดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๓ มีระดับคุณภาพ เห็นด้วยมากที่สุด
๓. ความคิดเห็นของบุคลากรครูโรงเรียนคำเตยวิทยาที่มีต่อการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยใช้
KMS-Model เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม และการปรับตัวในสังคม ประกอบด้วยความคิดเห็นของครู ๓ ด้าน พิจารณาโดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๘๑ มีระดับคุณภาพ เห็นด้วยมากที่สุด
คำสำคัญ : รูปแบบการสอนแบบบูรณาการ, การบริหารจัดการชั้นเรียน, KMS-Model