บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่และความต้องการของการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน 2) เพื่อความสามารถในการการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน 3) เพื่อศึกษาผลการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ในด้านความรู้ความเข้าใจ ความสามารถในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ความรู้ความเข้าใจ ความสามารถในการการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของครู ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้ของนักเรียน 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เป็นการวิจัยและพัฒนา การวิจัยในครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ซึ่งเป็นการผสมผสานระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เน้นใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ในการพัฒนา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research :R1) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและเตรียมความพร้อม ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการพัฒนา (Development)รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียน ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย คือ 1) ผู้วิจัยร่วมกับบุคลากรในโรงเรียนสร้างรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนโดยใช้ข้อมูลที่ได้จาก ขั้นตอนที่ 1 และ 2) นำรูปแบบที่ร่วมกันพัฒนาเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญภายนอกเพื่อขอความเห็นต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการทดลองใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ขั้นตอนที่ 4พัฒนาการ (Development : D2) เป็นการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัด การเรียนรู้ ประเมินผลการพัฒนาโรงเรียนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย คือ 1) ร่วมกันกำหนดผลลัพธ์ที่คาดหวังและวิธีการประเมิน 2) ร่วมกันประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามรูปแบบ และ 3) สะท้อนผลการประเมินเพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับต่อคณะครู กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู โรงเรียนโรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ที่ทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 14 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผลของการศึกษาสภาพปัญหาที่และความต้องการของการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน พบว่า
1.1 สภาพปัจจุบันในการพัฒนารูปแบบสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ของโรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา พบว่าผู้บริหารและคณะครูมีความคิดเห็นโดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านการสร้างบรรทัดฐานและค่านิยมร่วมกัน ด้านการร่วมมือกับเพื่อนครูเพื่อการเรียนรู้ ด้านการแนะนำการปฏิบัติงาน ด้านการปฏิบัติที่มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน และด้านการสนทนาเพื่อสะท้อนผลการปฏิบัติงาน
1.2 ความต้องการในการพัฒนารูปแบบสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ของโรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา พบว่า ผู้บริหารและคณะครูมีความต้องการโดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านการปฏิบัติที่มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านการสนทนาเพื่อสะท้อนผลการปฏิบัติงาน ด้านการสร้างบรรทัดฐานและค่านิยมร่วมกัน ด้านการร่วมมือกับเพื่อนครูเพื่อการเรียนรู้ และด้านการแนะนำการปฏิบัติงาน
2.รูปแบบการพัฒนาทางชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อ พัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน มีชื่อว่า 3PDIE มีองค์ประกอบโดยยึด หลักการที่อยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนวิชาชีพและครูผู้สอน วัตถุประสงค์รูปแบบเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนผ่านการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ ประกอบด้วย
2.1.การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ตัดสินใจ (Participation in decision making: PD) ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย คือ การชี้แจงวัตถุประสงค์ของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เพื่อหาข้อสรุปที่จะนํามาปฏิบัติร่วมกัน โดยข้อสรุปที่ได้กําหนดเป็นปฏิทินการมีส่วนร่วมของชุมชนและครูผู้สอน
2.2.การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม (Participation in implementation: PI) เป็นการปฏิบัติงานตามปฏิทินการมีส่วนร่วมที่กําหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 โดยคณะครูและบุคลากรมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานตามปฏิทินและ ร่วมกันกำหนดเป้าหมายของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ 2 เป้าหมายคือ เป้าหมายเชิงวิชาชีพครู (Professional Development Goals)และเป้าหมายการเรียนรู้ของนักเรียน (Student Learning Goals) โดยเน้นพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
2.3.การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Participation in evaluation: PE) ประกอบด้วยกิจกรรมการประเมินผลการศึกษาชั้นเรียนตามแบบประเมิน PLC 01 PLC 03 เพื่อประเมิน ความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน และสรุปผลการพัฒนานักเรียนหลังการศึกษาชั้นเรียนและสรุปประเด็นในขั้นตอน AAR : After Action Review
3.ผลการประเมินการพัฒนาตามรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ของโรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา สรุปผลการประเมินในด้าน ความรู้ความเข้าใจการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความสามารถในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พฤติกรรมการสอน ผลงานการพัฒนา
การเรียนการสอน ความพึงพอใจต่อรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถ และความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของครู
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู
เพื่อเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ของโรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา พบว่า ครูผู้สอนมีความพึงพอใจโดยรวมทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุด